เกษตรกรสระแก้ว พอใจ โครงการ “โคบาลบูรพา” ช่วยเศรษฐกิจชาวบ้านช่วงยุคโควิด 19 ราคาโคเนื้อ ตกตัวละ 25,000-30,000 บาท

เกษตรกรสระแก้ว พอใจ โครงการ “โคบาลบูรพา”

ช่วยเศรษฐกิจชาวบ้านช่วงยุคโควิด 19 ราคาโคเนื้อ ตกตัวละ 25,000-30,000 บาท

 

กลุ่มเกษตรกรอำเภอวัฒนานคร จ.สระแก้ว ผู้เลี้ยงโคในโครงการ “โคบาลบูรพา” ปรับตัวในช่วงเศรษฐกิจยุคโควิด 19 หลังจากตกงานในช่วงที่ประเทศไทยล็อคดาวน์ช่วงต้นปี ที่ผ่านมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหันไปเลี้ยงโคเนื้อ โดยมีตลาดกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนละครั้ง สร้างรายได้งาม / ขณะที่กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ยอมรับ โครงการนี้กำลังเริ่มเห็นผลตอบรับที่ดีหลังจากผ่านไป 3 ปี โดยเฉพาะเศรษฐกิจในยุคโควิดแบบนี้ ประชาชนตกงานกลับภูมิลำเนากันมากขึ้น เริ่มให้ความสนใจสมัครเป็นสมาชิก จากเดิมที่มีอยู่ 6,000 ราย เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 200 ราย

นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ พร้อมนายประสิทธิ์ ต้อยติ่ง หัวหน้าสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว ร่วมเป็นสักขีพยานในการชั่งน้ำหนักและการซื้อขายโคเนื้อ ที่ตลาดกลางโคเนื้อ สหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาวัฒนานคร จำกัด ในต.หนองน้ำใส อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว โดยราคากลางในการซื้อขายโคเนื้อในช่วงนี้ โคเนื้อพันธุ์ชาโรเลย์ลูกผสม ซื้อขายกิโลกรัมละ 110 บาท ส่วนพันธุ์บราห์มัน กิโลกรัมละ 95 บาท

 

นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ยอมรับว่า หลังจากโครงการ “โคบาลบูรพา” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 เกษตรกรที่เป็นสมาชิกในโครงการ สามารถผลิตโคเนื้อได้มากถึง 685 ตัว แพะอีก 421 ตัว นำไปต่อยอดให้กับสมาชิกรายใหม่ได้อีก 157 ราย แบ่งเป็นโคเนื้อ 137 ราย แพะอีก 20 ราย / โดยตลอด 3 ปีตั้งแต่เริ่มโครงการ “โคบาลบูรพา” กรมปศุสัตว์ใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต” จึงทำให้สมาชิกเลี้ยงโคลูกผสมยุโรป ที่มีเนื้อคุณภาพสูง สามารถจำหน่ายโคเนื้อตัวผู้ไปได้แล้ว มากกว่า 1,000 ตัว มีเม็ดเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 40 ถึง 50 ล้านบาท โดยมีสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อเป็นตลาดกลางหลักในการกำหนดราคา

นายวรวุฒิ สวามิ สมาชิกโครงการกลุ่มอำเภอวัฒนานคร เป็นกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ และสมาชิกในอำเภอตาพระยา ยอมรับว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก ส่งเสริมรายได้ให้เกษตรกรโดยมีราคาซื้อขายเป็นกลาง และมีตลาดรองรับอย่างน้อยเดือนละครั้ง ยิ่งช่วงนี้ เศรษฐกิจในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 ข้าวยากหมากแพง การเงินฝืดเคือง เกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ จะสามารถพยุงตัวเองและครอบครัวให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้แน่นอน ขณะเดียวกัน ญาตพี่น้องที่ตกงานในช่วงต้นปีที่มีการล็อคดาวน์ประเทศ ก็ให้ความสนใจหันไปเลี้ยงโคเนื้อเพิ่มขึ้น เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายดี ราคาซื้อขายก็มาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด ราคาวัวตัวหนึ่ง ถ้าเราสามารถเลี้ยงจนเติบโต นำ้หนักจะประมาณ 250-300 กิโล ราคาที่เราขายโคเนื้อนี้ก็จะได้ ตัวละไม่ต่ำกว่า 25,000 -30,000 บาท/ตัว สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้เลย

 

และจากสภาพปัญหาภัยแล้งซ้ำซากของจังหวัดสระแก้ว ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เริ่มโครงการโคบาลบูรพาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2560 ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 6 ปี งบประมาณกว่า 970 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยแล้ง ถือครองที่ดิน สปก.ที่ให้ผลผลิตการเกษตรค่อนข้างต่ำ / โดยทางกรมปศุสัตว์ ได้พิจารณาคุณสมบัติเกษตรกรตรงตามเงื่อนไข ขณะนี้มีสมาชิกทั้งสิ้น 6,100 ราย เป็นเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ 6,000 ราย เลี้ยงแพะอีก 100 ราย ขณะที่สมาชิกจะได้รับโคเนื้อรายละ 5 ตัว แพะรายละ 32 ตัว และจะได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับแปลงอาหารสัตว์ โรงเรือน รวมถึงบ่อบาดาล แต่เกษตรกรจะต้องคืนโคตัวเมียอายุ 12 เดือน จำนวน 5 ตัว ลูกแพะอายุ 6 เดือนอีก 32 ตัว โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เพื่อเจ้าหน้าที่จะนำไปขยายผลช่วยเหลือเกษตรกรรายใหม่ต่อไป

 

You May Have Missed!

0 Minutes
กิจกรรมเพื่อสังคม
 ภารกิจส่งมอบผ้าห่มเพื่อผู้ประสบอุทกภัย 
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
ครบรอบวันสถาปนากรมประมง ปีที่ 98 มุ่งส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรภาคการประมง ตอบโจทย์นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านความมั่นคงด้านอาหารและการผลักดันการเป็นครัวโลก
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์ ชลประทาน ชาวบ้าน
กรมชลประทานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การศึกษาปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง ป่าสักใต้ และคลองเพรียว-เสาไห้
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์การสวนสัตว์ฯ เปิดบ้านต้อนรับพันธมิตรทำกิจกรรมร่วมกับ “หมูเด้ง” ชวนช่วยผู้ประสบอุทกภัยและดูแลสวัสดิภาพเพื่อนสัตว์