“เฉลิมชัย” มุ่งตลาดฮาลาล 48 ล้านล้าน เล็งกลุ่มประเทศมุสลิม 2 พันล้านคน ประกาศ 1 วิสัยทัศน์ 5 นโยบายฮาลาล วางเป้าไทยผู้นำอาหารและผลผลิตเกษตรมาตรฐานฮาลาล

“เฉลิมชัย” มุ่งตลาดฮาลาล 48 ล้านล้าน เล็งกลุ่มประเทศมุสลิม 2 พันล้านคน

ประกาศ 1 วิสัยทัศน์ 5 นโยบายฮาลาล

วางเป้าไทยผู้นำอาหารและผลผลิตเกษตรมาตรฐานฮาลาล

 

 

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” นายสมศักดิ์ เมดาน รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร. ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวที่กระทรวงเกษตรฯ วันนี้ (16 ธ.ค) ว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการวางนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยในการเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกสินค้าอาหารและผลผลิตเกษตรมาตรฐานฮาลาลสู่ตลาดเป้าหมายใหม่กลุ่มประเทศมุสลิม 2,000 ล้านคน และผู้บริโภคสินค้าฮาลาลที่ไม่ใช่มุสลิมทั่วโลก โดยในปี 2020 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลทั่วโลก มีมูลค่า 1,533,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (48,004,350 ล้านบาท) และประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,285,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 71,545,354 ล้านบาท) ในปี 2026 และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% คิดเป็นมูลค่าเพิ่มปีละ 560 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (16.8 ล้านล้านบาท)

ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมนี้ จึงได้เห็นชอบวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลเกษตรมาตรฐานฮาลาล ซึ่งเสนอโดยคณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายฮาลาลที่มี รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นประธานเพื่อเป็นเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาลสำหรับประเทศไทยต่อไป

ขณะที่รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า การจัดทําวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” สอดคล้องกับแผนระดับชาติซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยมีแผนที่สําคัญ 3 แผน ประกอบด้วย 1) แผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 2) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ และ 3) แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564

 

ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นําในการพัฒนา ผลิต และส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากล สู่ตลาดโลกด้วยมาตรฐานฮาลาลไทย โดยใช้หลักศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในปี 2570 โดยมีแนวทางการส่งเสริมการค้าผลผลิตการเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาล 5 นโยบาย ดังนี้ 1. นโยบายเพิ่มศักยภาพหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล 2. นโยบายยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร 3. นโยบายเสริมสร้างองค์ความรู้ในการผลิตและการบริหารจัดการตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค 4. นโยบายเพิ่มศักยภาพทางตลาดและโลจิสติกส์ 5. นโยบายยกระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยมีแนวทางสำคัญๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Halal Hub) การจัดตั้งสถาบันฮาลาล(Halal Academy) การพัฒนาฐานข้อมูลฮาลาล (Thailand Halal Big Data) และการส่งเสริมฐานข้อมูลวัตถุดิบฮาลาล (H Number) รวมทั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลางการแลกเปลี่ยนทรัพยากรอิเล็คทรอนิกส์ด้านฮาลาล (System Protocol for Halal Electronic Resources Exchange หรือ SPHERE)
“ศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาล จุฬาลงกรณ์ มหา วิทยาลัย พัฒนางานทางด้านการตรวจวิเคราะห์นิติวิทยาศาสตร์ จำนวน 13 4,509 การวิเคราะห์ และได้พัฒนา ระบบ H-Number ขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถ ด้านการแข่งขัน ของผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทย” รศ.ดร.วินัย กล่าว

รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรฐานฮาลาลของไทย มีความสอดคล้องต้องกันและเป็นที่ยอมรับของมาตรฐานฮาลาลโลก การกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายฮาลาลในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยเป็นเป้าหมาย และโรดแม็ปสำหรับการพัฒนาสินค้ามาตรฐานฮาลาลสู่ตลาดโลก

ด้านนายสมศักดิ์ เมดาน รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรฐานฮาลาลไทย “ตามหลักการอิสลาม โดยองค์กรศาสนา ด้วยมาตรฐานสากล” วันนี้ เรามีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองฮาลาลมากกว่าแสนห้าหมื่นรายการ ถือว่ามากที่สุดในโลก เครื่องหมายรับรองฮาลาลไทยเป็นเครื่องหมายรับรองฮาลาลเครื่องหมายแรกของโลก ระบบการตรวจรับรองฮาลาลไทยก็ดีไม่แพ้ชาติใดในโลก อีกทั้งมาตรฐานฮาลาลไทยใช้หลักการศาสนาอิสลามเป็นหลักในการกำหนดมาตรฐานตรวจรับรองและใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการตรวจรับรองในกรณีที่มีความจำเป็น เช่นการตรวจส่วนผสมที่มีแอลกอฮอล์หรือ DNA ของสัตว์ ประเทศไทยเรามีเครื่องหมายรับรองเครื่องหมายเดียว และมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก ภูมิใจในความเป็นมุสลิมไทย ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือทุกภาคส่วนในเรื่องของฮาลาล

สำหรับรายละเอียดของ 5 นโยบายและแนวทางต่างๆ มีดังนี้
1. นโยบายเพิ่มศักยภาพหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล มุ่งเน้นสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินกิจการของหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล ตามแนวทางศาสนารับรองและวิทยาศาสตร์รองรับ ตลอดกระบวนการรับรองมาตรฐานฮาลาล รวมถึงการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในประเด็นมาตรฐานฮาลาลไทย เพื่อเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ SMEs ในการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร และอาหาร มาตรฐานฮาลาล โดยดําเนินการ 7 แนวทางดังนี้ 1.1 เพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการหน่วยงานรับรองฮาลาลในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง 1.2 เพิ่มขีดความสามารถด้านบุคลากรของหน่วยงานรับรองฮาลาล 1.3 เพิ่มประสิทธิภาพด้านฐานข้อมูล Thailand Halal Big Data 1.4 เพิ่มขีดความสามารถเครือข่ายหน่วยตรวจรับรองฮาลาล 1.5 เชื่อมโยงและบูรณาการทํางานของหน่วยงานต่างๆ และปรับระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์ 1.6 เพิ่มจํานวนห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อนที่ต้องห้ามตามหลักศาสนบัญญัติ 1.7 ศึกษาและติดตามกฎระเบียบข้อบังคับ กติกาการนําเข้า-ส่งออกของประเทศคู่ค้า เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และประสานความร่วมมือกันหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อลดข้อกีดกันทางการค้า
2. นโยบายยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยหลักศาสนา มาตรฐาน ฮาลาลไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ SMEs ให้ใช้ ประโยชน์พื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมทางการเกษตร และการผลิตอาหาร โดยนําหลักศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และอาหารมาตรฐานฮาลาล ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 2.1 สนับสนุนและส่งเสริมผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ให้ผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาลเพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาลทั้งในและต่างประเทศ 2.2 นําหลักศาสนา มาตรฐานฮาลาลไทย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรมีคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัย 2.3 สนับสนุนและส่งเสริมการนําฐานข้อมูลวัตถุดิบฮาลาล (H Number) รวมทั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลางการแลกเปลี่ยนทรัพยากรอิเล็คทรอนิกส์ด้านฮาลาล (System Protocol for Halal Electronic Resources Exchange หรือ SPHERE) เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดฮาลาลภูมิภาค IMT-GT GMS และอาเซียน 2.4 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองฮาลาลของประเทศไทย (Thailand Halal Big Data ) และแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับฮาลาล ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสํานักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ประชาชน ผู้ใช้บริการทั่วไปและประเทศ 2.5 บริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการใช้หลักศาสนามาตรฐานฮาลาลไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต

3. นโยบายเสริมสร้างองค์ความรู้ในการผลิตและการบริหารจัดการตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค มุ่งพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ SMEs ให้ได้รับความรู้ในการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการที่ดี และกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานฮาลาล ตลอดจนการนําความรู้ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ โดยดําเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้ 3.1 เร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล ตั้งแต่เกษตรกร สถาบัน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และเอกชน และเร่งผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง Halal Academy 3.2 เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีข้อมูลข่าวสาร สินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง 3.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์ของพระราชา และน้อมนําไปเป็นแนวปฏิบัติในการประกอบอาชีพเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

4. นโยบายเพิ่มศักยภาพทางตลาดและโลจิสติกส์ มุ่งเน้นให้เกิดการขยายตัวของสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาลของไทยทั้งภายในประเทศ และการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิมเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ศักยภาพเรื่องความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของอาหารฮาลาล และเครื่องหมายฮาลาลของไทย ตลอดจนการเป็นประเทศที่มีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาคอาเซียน โดยดําเนินการ 4 แนวทางดังนี้ 4.1 ขยายการค้าสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาลไทยไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมเพิ่มมากขึ้น โดยยังคงเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าชาวมุสลิมอย่างต่อเนื่อง 4.2 จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าฮาลาล (Halal Mart/Halal Outlet/Halal Showcase) เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่ต้องการสินค้าฮาลาล มีความสะดวกและเกิดความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อสินค้า และเป็นที่รองรับสินค้าที่ผลิตโดยเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ SMEs ตลอดจนการติดต่อธุรกิจการค้าสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล 4.3 ส่งเสริมค่านิยมในการบริโภคและใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าฮาลาลไทย เพื่อกระตุ้นการ บริโภคภายในประเทศ ตรวจสอบสถานะฮาลาลของวัตถุเจือปนอาหารบางประเภทในกระบวนการตรวจรับรองฮาลาลเพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แอพพลิเคชั่นและนวัตกรรมเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลและสนับสนุนการรับรองฮาลาล 4.4 จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Halal Hub) เพื่อกระจายสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาลของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเชียน)

5. นโยบายยกระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ยกระดับความน่าเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาลไทย ในเรื่องคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะสินค้าฮาลาลไทยอย่างต่อเนื่องให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ 4 แนวทาง ดังนี้ 5.1 เร่งส่งเสริมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาลไทย ให้เป็นที่ต้องการทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านกิจกรรมทางการสื่อสารการตลาด การแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ (MICE) ทั้ง Offline และ Online 5.2 พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร ให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย โดยใช้จุดแข็งในเรื่องความสามารถในการผลิตของไทยและการได้รับการยอมรับในระดับสากลถึงคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารไทย เพื่อลดอุปสรรคหรือข้อกีดกันทางการค้า 5.3 พัฒนาการผลิตแปรรูปและสร้างมูล