สวก. ขานรับนโยบาย ดันไทยเป็น Hub อาหารจากพืช (Plant-based Food)พร้อมหนุนแปลงใหญ่กล้วยไข่ ผลิตกล้วยเตี๊ย สู้วาตภัย

สวก. ขานรับนโยบาย ดันไทยเป็น Hub อาหารจากพืช (Plant-based Food)

พร้อมหนุนแปลงใหญ่กล้วยไข่ ผลิตกล้วยเตี๊ย สู้วาตภัย

 

นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร  สํานักงานพัฒนาการวิจยัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรฯได้วางนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการขับเคลื่อนประเทศให้เป็นฮับของการผลิตอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืช ผลักดันผลงานวิจัยด้านอาหารทางเลือกถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนเพื่อ ตีตลาดในด้านนอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมผลักดัน ผลงานวิจัยในการใช้ประโยชน์เชิงพื้นท่ี เตรียมจัดงานเปิดตัวเพื่อโชว์ศักยภาพงานวิจัยในงาน “กล้วยเตี้ย สู้วาตภัย” ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2563 ณ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ อาํ เภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร

ทั้งนี้อาหารที่ทํามาจากพืช (Plant-based Food) เป็นสินค้า ใหม่ที่มีความต้องการสูงในตลาดโลก ประกอบกับ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมต่างๆ มาช่วยในการกํากับดูแลความมั่นคงอาหารและความปลอดภัยอาหาร สามารถตอบสนองชีวิตวิถีใหม่ และเป็นโอกาสใหม่ในการสร้างรายได้ให้แก่ภาคการเกษตรของไทยและของอาเซียน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมกับการบริหารทรัพยากรการเกษตรและส่ิงิ แวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สามารถเพิ่มความ มั่นคงด้านอาหาร แก้ไขปัญหาการอดอยากหิวโหย การขาดสารอาหาร และช่วยให้บรรลุเป้้าหมายการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดย สวก. เร่งผลักดันผลงานวิจัยเพอื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยี จากผลงานวิจัยด้านอาหารสู่ภาคเอกชนท่ีดําเนินธุรกจิจด้านอุตสาหกรรมอาหาร ในเบื้องต้นจํานวน 2 โครงการ

วันที่ 24 ธันวาคม 2563 สวก. เตรียมจัดพิธีลงนามการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยให้แก่ บรษิษัท นิเคโอะ คอร์ปอเรชั่น จํากัด ในโครงการ “การผลิตโปรตีนผงเสริมโอเมก้า 3 6 9 จากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการสกัด น้ํามันเมล็ดอินคาเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคุณค่า” เมล็ดดาวอินคา เป็นพืชที่มีกรดไขมันที่จําเป็นตอ่อร่างกายทั้ง โอเมก้า 3 6 และ 9 โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ในรูปแบบของ Alpha-Linolenic Acid (ALA) มีคุณสมบัติและประโยชน์ต่อ สุขภาพ ผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นการใช้ป้ ระโยชน์จากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการสกัดน้ํามัน เพื่อสนับสนุนการ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ท่ีมีมูลค่าเพิ่มให้กับวัตั ถุดิบทางการเกษตร สามารถทดแทนการนําเข้าวัตถุดิิบอาหารจากต่างประเทศ และใช้ทดแทนกันได้ เช่น โปรตีนเข้มข้น้ จากถั่วเหลือง และเวย์โปรตีน ช่วยขยายช่องทางในการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลิตภััณฑ์ผงโปรตนีนเสริมโอเมก้า 3 6 และ 9 จากเมล็ด ดาวอินคา มีจุดเด่น คือ มีโปรตีนสูง ไม่มีคอเลสเตอรอล แคลอรี่ต่ำ ย่อยง่าย และละลายนํ้าได้ดี

อีกหนึ่งผลงานวิจัยท่ีมีแผนจะดําเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีในช่วงเดือนมกราคม 2564 คือโครงการ “การ พัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนคล้้ายเน้ือด้วยเทคโนโลยีเอกซ์ทรูชันจากแหล่งโปรตีนทางเลือกที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรม อาหาร” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนคล้ายเน้ือที่พัฒนาข้ึน เน้นการใช้วัตถุดิบที่เปน็ ผลพลอยได้้จากอุตสาหกรรมอาหาร ในประเทศ เพ่ือลดต้นทุนในการนําเข้าวัตั ถุดิบหลักเดิมที่ใช้ในกระบวนการผลิตและเป็นการใช้ประโยชน์จากของเหลือ ในอุตสาหกรรมอาหารท่ียังคงมีคุณค่าโดยใช้เทคโนโลยีเอกซ์ทรูชัน โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนคล้ายเนอื้อ2รูปแบบ คือ 1) รูปแบบท่ีข้ึนรูปโดยใช้ความชื้นตํ่า (โปรตีนเกษตร) 2) รูปแบบที่ใช้ความชื้นสูงู หรือ High Moisture Meat Analog ซึ่งต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า “Long cooling die” เพื่อช่วยสร้างเส้นใยระหว่า งการผลิต โดยผลิตภัณฑจ์จะมีลักษณะ โครงสร้างเนื้อสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อสตัตว์จริงมากขึ้นเมื่อเทียบกับโปรตีนเกษตรในรูปแบบเดมิม สามารถนําไปประกอบ อาหาร ได้ทันทีโดยไม่ต้องแช่นํ้า

ทั้งนี้ สวก. เตรียมจัดงานเปิดตัวเพื่อโชว์ศักยภาพผลงานวิจัยเชิงพื้นที่ในงาน “กล้วยเตี้ย สู้วาตภัย” โดยกําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2563 ณ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร

จังหวัดกําแพงเพชรได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นอัตลักษณ์ประจํา ถิ่น เดิมในพื้นที่จังหวัดกําแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ สร้างรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเนื้อที่เพาะปลูกลดลงเหลือน้อยกว่า 3,000 ไร่ หรือประมาณไม่ถึง 10 % สาเหตุที่ทําให้เนื้อที่ เพาะปลูกน้อยลง เกิดจากพายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งเกิดขึ้นช่วงต้นฤดูฝน และก่อนหมดฤดูฝนในเดือนตุลาคม จึงทําให้ลมพัดแรง ต้นกล้วยไข่หักโค่น ล้มเสียหาย โดยเฉพาะในปี 2554 เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ ในหลายพื้นที่ของ จังหวัดกําแพงเพชร ได้รับผลกระทบจากลมพายุหลายลูก และอุทกภัย ในห้วงเวลาเดียวกัน เกิดความเสียหายอย่าง มหาศาล เพราะกล้วยมีขนาดต้นสูง ประมาณ 2.5 ถึง 3 เมตร อีกทั้งการปลูกกล้วยให้มีขนาดผลที่มีคุณภาพ และผลผลิตสูง ต้องปลูกรุ่นเดียวและรื้อแปลงปลูกใหม่ทุกปี ทําให้เกษตรกรมีต้นทุนสูง ถ้าปลูกหน่อเดิม ผลผลิตและคุณภาพจะตกตำ่ ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง หากเกิดความเสียหายก็ถือว่าขาดทุน เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่จึงหันไปเพาะปลูก พืชอื่นทดแทน

จากปัญหาดังกล่าว สวก. จึงได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า ของผลผลิตกล้วยไข่ ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและรายได้ของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไข่จังหวัดกําแพงเพชร แก่ ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดความสูงของลําต้นกล้วยไข่ เพิ่มความแข็งแรงลดการสูญเสียจากการหักล้มจากลมพายุและการหักล้มจากต้น กล้วยที่มีลําต้นสูงในกล้วยปลูกใหม่และกล้วยที่เป็นกล้วยตอ เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขนาด น้ําหนัก และผลผลิตกล้วยไข่ ให้มีเกรดคุณภาพและราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งการปลูกกล้วยระบบชิด โดยได้จัดทําแปลงทดลองสาธิตจํานวน 2 แปลง ในอําเภอเมืองและอําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เพื่อจัดเก็บข้อมูลความสูงของลําต้น ขนาดผลกล้วย ความ กว้าง และความยาวของใบ ขนาดเส้นรอบวงลําต้น ข้อมูลผลผลิต จํานวนหวี น้ําหนักเฉลี่ยของหวีกล้วยไข่ เพื่อวิเคราะห์ และประเมินผลการทดลอง โดยพบว่า ในกล้วยที่มีอายุ 3 เดือน สามารถลดความสูงได้และมีขนาดลําต้นที่ดี เป็นทรงกระบอก ส่วนยอดมีความอ้วนมากขึ้นจากผลของฮอร์โมน ซึ่งปัจจุบันสูงแค่ประมาณ 170 เซนติเมตร และจากการสอบถาม เกษตรกรผู้ทดลองปลูกพบว่า กล้วยต้นเตี้ยสามารถป้องกันปัญหาต้นล้มได้จริง ผลผลิตมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ําหนักกล้วย เพิ่มขึ้น ทําให้มีรายได้เข้ามาเพิ่มมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจต่อเกษตรกรมาก และในอนาคตมีแผนที่จะศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้สามารถออกเครือกล้วยได้มากกว่า 1 เครือต่อต้น เพื่อเพิ่มผลผลิตกล้วยไข่ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังได้ทําการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม และนําความรู้การผลิต กล้วยไข่ต้นเตี้ย เพื่อลดความเสียหายจากการหักล้มจากลมพายุ และการเพิ่มขนาดน้ําหนัก ถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่ เป้าหมาย ในจังหวัดกําแพงเพชร ซึ่งสอดรับกับนโยบายของจังหวัดกําแพงเพชร ที่ต้องการผลักดันให้มีการเพาะปลูกกล้วยไข่ เพิ่มขึ้น โดยในปีนี้มีแผนเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกกล้วยไข่อีก 6,000 ไร่
สวก. มุ่งมั่นสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่โครงการที่มาจากปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง และสามารถขยายผล สร้างเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบการปลูกกล้วยไข่ในจังหวัดกําแพงเพชร ได้เป็นจํานวน 125 ครัวเรือน ครอบคลุมเนื้อที่ เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 1,800 ไร่ ดังนั้น หากเราช่วยกันยกระดับให้กลุ่มเกษตรกรมีความสามารถในการปลูกกล้วยไข่กําแพงเพชร มากขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น จะเกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการของจังหวัดกําแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพการปลูกกล้วยไข่ ให้คง เอกลักษณ์เป็นผลไม้ประจําถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวทุกมิติของจังหวัดกําแพงเพชร เป็นตัวอย่างการทําวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ที่แท้จริง