ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด รุดช่วยแก้ไขปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด
และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างฝาย
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝายยโสธร พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีชาวร้อยเอ็ด จาก 5 อำเภอ ที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วม
นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการพิจารณาการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการสร้างฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาและการจ่ายค่าชดเชย รวมถึงได้ดำเนินการศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการสร้างฝาย เนื่องจากการสร้างฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร ที่ผ่านมาไม่ได้ศึกษาผลกระทบ ดังนั้นจึงได้มีการหามาตรการแก้ปัญหาระยะยาวตลอดทั้งการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร ต่อไป
ทั้งนี้ ผลการประชุมร่วมระหว่างจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนชาวร้อยเอ็ด ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายร้อยเอ็ด และโครงการฝ่ายยโสธร พนมไพร ได้ข้อสรุปชดเชยความเสียหายดังนี้ 1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชดเชยน้ำท่วมนาข้าว กันยายน 2559 ข้าวไร่ละ 1,113 บาท พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มเติม 2.บัญชีค่าทดแทนค่ารื้อย้ายต้นไม้และไม้ผลที่ถูกเขตชลประทาน กรณีรื้อย้ายโดยไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทัน ไร่ละ 2,500 บาท 3.ต้นทุนการผลิตจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (พ.ศ. 2543 – 2547) ข้าวเปลือกนาปี ไร่ละ 1,684.11, 1,698.77, 1,751.53, 1,862.17, 1,900.31 บาท 4. แนวทางเพิ่มเติมชดเชยตามราคาขายผลผลิตข้าวนาปี ณ ปีที่เกิดน้ำท่วม (พ.ศ. 2543- 2547) ข้าวเปลือกนาปี ตันละ 4,665.00, 4,812,00 4,184.00, 5,435.00, 6,373.00 บาท อัตราผลผลิตเท่ากับ 372, 380 ,386, 381, 377 กิโลกรัมไร่ (ในลักษณะเหมาจ่ายคูณด้วยผลผลิตต่อไร่) 5.จากการเรียกร้องจากผู้ได้รับผลกระทบ ข้าวไร่ละ 7,000 บาท ค่าต้นทุนการผลิต 5,300 บาท ค่าเสียโอกาส 1,700 บาท มีเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและขอรับค่าชดเชยตามมาตรการ จำนวน 901 คน
คณิต ไชยจันทร์ รายงาน