กรมชลประทาน เดินหน้าแก้แล้ง-ท่วมลุ่มน้ำยม เร่งศึกษาโครงการบันไดการจัดการน้ําในลําน้ํายม เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ

กรมชลประทาน เดินหน้าแก้แล้ง-ท่วมลุ่มน้ำยม เร่งศึกษาโครงการบันไดการจัดการน้ําในลําน้ํายม

เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ

 

 

 

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ว่าประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมเขตจังหวัดแพร่และสุโขทัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้น้ำจากแม่น้ำยมและคลองสาขาเป็นแหล่งน้ำหลัก ซึ่งในช่วงฤดูฝนน้ำจะมีปริมาณมากทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนในหน้าแล้งปริมาณน้ำจะน้อยไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าว ยังไม่มีอาคารบังคับน้ำเพื่อช่วยในการจัดการน้ำทั้งในฤดูฝนและหน้าแล้ง

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงทำการศึกษาการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมเป็นช่วงๆ แบบขั้นบันได เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้พิจารณาก่อสร้างอาคารเก็บกักน้ำในแม่น้ำยม เขตอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย อาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น อาคารบังคับน้ำบ้านหาดอ้อน อาคารบังคับน้ำบ้านบานชื่น และอาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย

นายวิทิต เที่ยงไทย นายอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กล่าวว่าเป็นโอกาสที่ดีนำผลสรุปการศึกษาโครงการ มาเปิดรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการแหล่งน้ำเพื่อสำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง เชื่อมั่นว่าโครงการอาคารบังคับน้ำทั้ง4แห่ง จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ใช้น้ำทั้งการเกษตร อุปโภค บริโภค แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำผลิตประปาในพื้นที่กว่า5หมื่นไร่ ซึ่งเป็นลุ่มน้ำเดียวที่ยังไม่มีเขื่อน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซาก

สำหรับลักษณะของอาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น (ประตูระบายน้ำพระธาตุแหลมลี่) จะตั้งอยู่ในแม่น้ำยม บริเวณหมู่ 9 บ้านหาดทรายคำ ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สามารถเก็บกักน้ำระดับปกติได้ 18.35 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ครอบคลุม 5 ตำบล ในเขตอำเภอลอง ได้แก่ ตำบลปากกาง ตำบลทุ่งแล้ว ตำบลบ่อเหล็กลอง ตำบลหัวทุ่ง และตำบลห้วยอ้อ รวม 68,124 ไร่ แต่เมื่อหักพื้นที่สูง พื้นที่ชุมชนและองค์ประกอบของระบบชลประทานแล้ว จะเป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 38,196 ไร่ มีแผนงานการก่อสร้างรวม 3 ปี ราคาก่อสร้างรวม 1,832.42 ล้านบาท ส่วนระบบส่งน้ำและกระจายน้ำ มีราคาค่าก่อสร้างระบบชลประทานและระบบสูบน้ำ 1,021.28 ล้านบาท และค่าไฟฟ้าสูบน้ำ 82.92 ล้านบาทต่อปี

การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้แก่ราษฎรในพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็น และซักถามประเด็นข้อสงสัยในด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้สอบถามถึงข้อชดเชยที่จะได้รับ และพันธุ์ปลาบางชนิดที่เกรงว่าหากก่อสร้างประตูระบายน้ำกั้นน้ำแล้ว จะทำให้ไม่มีพันธุ์ปลาชนิดนั้นในพื้นที่อีก เมื่อรวบรวมข้อมูลและปัญหาแล้ว จากนั้นจะนำผลไปจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป

อนึ่ง ชื่อประตูระบายน้ำพระธาตุแหลมลี่ เกิดจากการให้ผู้ร่วมประชุมเสนอและลงมติเปลี่ยนชื่อประตูระบายน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งพระธาตุแหลมลี่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอลอง จังหวัดแพร่นั่นเอง

ทั้งนี้โครงการบันไดการจัดการน้ําในลําน้ํายม พัฒนา บรรเทา บริหารจัดการน้ําอย่างยั่งยืน กรมชลประทานได้ดําเนินการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ําในแม่น้ํายม อําเภอลอง อําเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยดําเนินการผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการ เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะดําเนินการศึกษาความเหมาะสม อาคารบังคับน้ําทั้ง 4 แห่ง โดยมีลักษณะดังน้ี

1) โครงการอาคารบังคับน้ําบ้านวังน้ําเย็น เปลี่ยนใช้ชื่อ “ประตูระบายน้ําวัดพระธาตุแหลมลี่” ตั้งอยู่บริเวณ ช่องลัดปากทางเข้าวัดพระธาตุแหลมลี่หมู่ที่9บ้านหาดทรายคําตําบลปากกางอําเภอลองจังหวัดแพร่ มีความจุที่ระดับ เก็บกักปกติ 18 ล้าน ลบ.ม. ก่อสร้างในช่องลัด จํานวนช่อง (ประตู) 6 บาน อัตราการระบายน้ําสูงสุด 3,257 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ชลประทาน 38,196 ไร่ และมีพื้นท่ีรับประโยชน์โครงการรวม 68,124 ไร่
2) โครงการอาคารบังคับน้ําบ้านหาดอ้อน เปลี่ยนใช้ชื่อ “ประตูระบายน้ําหน้าด่านวังขอนแดง” ตั้งอยู่บริเวณ ช่องลัด หมู่ที่ 2 บ้านวังชิ้น ตําบลวังชิ้น อําเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีความจุระดับเก็บกักปกติ 25 ล้าน ลบ.ม. ก่อสร้างในช่อง ลัด จํานวนช่อง (ประตู) 6 บาน พื้นที่ชลประทาน 32,562 ไร่ และมีพื้นที่รับประโยชน์โครงการรวม 53,776 ไร่
3) โครงการอาคารบังคับน้ําบ้านบานชื่น “ประตูระบายน้ําเวียงเชียงชื่น” ตั้งอยู่บริเวณช่องลัด หมู่ที่ 4 บ้านดอน ระเบียง ตําบลแม่สํา อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีความจุระดับเก็บกักปกติ 9 ล้าน ลบ.ม. ก่อสร้างในช่องลัด จํานวน ช่อง (ประตู) 6 บาน พื้นที่ชลประทาน 3,541 ไร่ และมีพื้นที่รับประโยชน์โครงการรวม 7,050 ไร่
4) โครงการอาคารบังคับน้ําบ้านเกาะน้อย เปลี่ยนใช้ชื่อ “ประตูระบายน้ําบ้านหาดเสี้ยว” ตั้งอยู่บริเวณหมู่ท่ี 5 บ้านป่าไผ่ ตําบลหาดเสี้ยว อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีความจุระดับเก็บกักปกติ 9 ล้าน ลบ.ม. ก่อสร้างในลําน้ํา จํานวนช่อง (ประตู) 6 บาน พื้นที่ชลประทาน 29,518 ไร่ และมีพื้นท่ีรับประโยชน์โครงการรวม 39,173 ไร่
ทั้งนี้แต่ละอาคารบังคับน้ําได้ออกแบบให้มีช่องทางผ่านปลา หรือ อาคารบันไดปลา ให้สามารถกระโดดขึ้นไปได้

ด้านนายกิตติ ขันแก้ว เกษตรกร อ.วังชิ้น ชาวสวนส้ม กล่าวว่าแม้เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ แต่ชาวบ้านรอคอยการแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ท่วม ในพื้นที่มานาน ต้องการแหล่งกักเก็บน้ำเพราะหน้าแล้งชาวบ้านลำบากมาก เดือดร้อนมาตลอดขาดน้ำทำการเกษตร