“สทนช.” เร่งเดินหน้าขยายผลแก้มลิงแม่ แตง แก้แล้งซ้ำซากพื้นที่เชี ยงใหม่
“สทนช.” ลงพื้นที่เร่งรัดโครงการพั ฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จ.เชี ยงใหม่ เล็งต่อยอดแก้มลิงขยายผลพื้นที่ แล้งซ้ำซาก พร้อมติดตามความก้าวหน้ าโครงการงบกลางตามมติครม. ด้านเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุ นให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ ยงขาดแคลนน้ำ
วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ าแผนการพัฒนาแหล่งน้ำในจังหวั ดเชียงใหม่ โดยจุดแรกได้เดินทางไปยั งโครงแก้มลิงบริเวณพื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ แตง ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยมี นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 บรรยายสรุปผลการดำเนินโครงการ จากนั้นในช่วงบ่ายเลขาธิการสำนั กงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพร้ อมคณะได้เดินทางต่อไปยังพื้นที่ โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามความก้าวหน้ าการดำเนินงานหลังตามที่คณะรั ฐมนตรีอนุมัติงบกลางเพื่อเพิ่ มแหล่งน้ำต้นทุนให้กั บประชาชนในพื้นที่เสี่ ยงขาดแคลนน้ำด้วย
ดร.สมเกียรติ เปิดเผยว่า การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จั งหวัดเชียงใหม่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 – 2563) พบว่า มีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 1,035 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 108,542 ไร่ ครอบคลุม 182,966 ครัวเรือน ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 0.35 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนในปี 2564 มีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 1,645 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็ จสามารถเพิ่มความจุกักเก็บ 0.84 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 37,370 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 5,949 ครัวเรือน รวมถึงโครงแก้มลิงบริเวณพื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ แตง จำนวน 6 แห่ง ที่ได้รับงบประมาณดำเนินการในปี ’61 – 62 ปริมาณความจุรวม 3.72 ล้าน ลบ.ม. ดำเนิ นการโดยกรมชลประทานและกองทัพบก ปัจจุบันดำเนินแล้วเสร็จทั้งหมด สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาทั้ งอุทกภัยและภัยแล้งให้กั บประชาชน โดยเฉพาะการตัดยอดน้ำในลำน้ำแม่ แตงก่อนไหลเข้าท่วมพื้นที่ตั วเมืองเชียงใหม่ รวมถึงช่วยปริมาณน้ำต้นทุนสำหรั บการผลิตน้ำประปาของการประปาส่ วนภูมิภาคสาขาเชียงใหม่เดือนละ 6 แสน ลบ.ม.
“โครงแก้มลิงบริเวณพื้นที่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ แตง นับเป็นโครงการที่จะเป็นรู ปแบบในการแก้ไขปั ญหาการขาดแคลนน้ำที่ สามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ในรูปแบบอื่น เช่น ภาคตะวันตก จ.กาญจบุรี ที่ประสบภัยแล้งอย่างมากใน 5 อำเภอ ซึ่งได้มีการวางโครงการผันน้ำ เขื่อนศรีนครินทร์เพื่อแก้ไขปั ญหาภัยแล้งในพื้นที่ โดยโครงการมี 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำ แควใหญ่ช่วยพื้นที่ได้ 78,500 ไร่ ซึ่งเน้นย้ำให้กรมชลประทานเร่ งสำรวจออกแบบให้แล้วเสร็จเพื่ อตั้งของบประมาณดำเนินการในปี’ 65 ส่วนระยะที่ 2 เป็นอุโมงค์ผันน้ำเหมื อนโครงการผันน้ำแม่งัด-แม่กวง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 415,000 ไร่ ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาด้านสิ่ งแวดล้อมก่อน และจะดำเนินการพัฒนาในระยะต่อไป โดยโครงการศึกษานี้จะแล้วเสร็ จในเดือนพฤศจิกายนนี้” ดร.สมเกียรติ กล่าว
ขณะที่โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำ