แนวโน้มน้ำเหนือลดลง แต่ยังต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากดีเปรสชั่นในระยะนี้

แนวโน้มน้ำเหนือลดลง แต่ยังต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากดีเปรสชั่นในระยะนี้

 

สถานการณ์น้ำเหนือก่อนไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แนวโน้มระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังจับตาผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่นที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

         ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า ปัจจุบัน     (9 ต.ค. 63) ที่สถานีวัดน้ำท่า C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) ต่ำกว่าตลิ่ง 5.80 เมตร มีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 718 ลบ.ม./วินาที ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน แนวโน้มปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์เริ่มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลดลงตามไปด้วย แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในระยะนี้ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ยังคงได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

 

กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำท่าที่ไหลหลากลงสู่พื้นที่ตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำเข้าไปเก็บกักไว้ในพื้นที่แก้มลิง และแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้เคียงที่สามารถผันน้ำหรือสูบน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ให้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

 

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC