สทนช.ยกปัญหาปากท้อง-คุณภาพชีวิ ตประชาชน โยงแนวทางจัดการน้ำคลุ ม22ลุ่มน้ำ
สทนช.เร่งแก้ปมจัดการน้ำยั่งยืน เตรียมยกพื้นที่นำร่
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการนำร่องศึกษาวิ เคราะห์ความเชื่อมโยงการบริ หารจัดการน้ำกับระบบการประเมิ นด้านเศรษฐกิจและสังคม และพัฒนาระบบบัญชาการการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะวิ กฤติ โดยดำเนินการในรูปแบบของการพั ฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิ ทยา (Hydroeconomic Model) ที่มีการศึกษาและวิเคราะห์ ความเหมาะสมของแนวทาง/ มาตรการการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำ โดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เป็ นกลไกในการบริหารจัดการให้เกิ ดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคม รวมถึงมีการวิเคราะห์รู ปแบบการทำงานเชื่อมโยงระหว่ างหน่วยงาน โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่ งชาติเป็นศูนย์กลางการดำเนิ นงานทั้งในภาวะปกติและการบั ญชาการข้ามหน่วยงานในภาวะวิกฤติ โดยให้มีการเก็บข้อมูลทั้ งประเด็นปัญหาและเชิงพื้นที่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง รวมไปถึงข้อมูลเชิงเศรษฐกิ จและสังคม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ นโยบายการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำของประเทศโดยเร็ว สำหรับแนวทางดำเนิ นการของโครงการจะมีการศึ กษาทบทวนแนวทางการบริหารจั ดการทรัพยากรน้ำ ลักษณะทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำ ก่อนมาจัดทำหลักเกณฑ์สำหรั บการคัดเลือกพื้นที่ศึกษานำร่อง 1 แห่ง
ขณะเดียวกัน จะมีการพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิ จและอุทกวิทยาในพื้นที่นำร่อง เพื่อศึกษาสมดุลน้ำและวิเคราะห์ ความต้องการใช้น้ำ ครอบคลุม ปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน แนวทางการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำในปัจจุบันทั้ งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ความต้องการใช้น้ำสำหรับอุ ปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงวิเคราะห์ความเปลี่ ยนแปลงและคาดการณ์อนาคตที่เกิ ดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อการวิเคราะห์ทางเลือก เพื่อประยุกต์ใช้ แบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยาที่ มีความเชื่ อมโยงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสั งคมที่สอดคล้องกับแนวทางการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำรูปแบบต่ างๆ ให้เห็นผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ครอบคลุมในทุกมิติ สทนช.จะจัดให้มีเวทีรับฟั งความคิดเห็นต่อแนวคิด วิธีการศึกษา และผลการรวบรวมข้อมูลพื้นที่เกี่ ยวข้องเพื่อสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกั บการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติกับผู้ มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดั บส่วนกลางและระดับลุ่มน้ำทั่ วประเทศ ก่อนมาสรุปวิเคราะห์นำไปสู่ข้ อเสนอเชิงนโยบาย การบริหาร และการตัดสินใจในการบริหารจั ดการน้ำ
“ขั้นตอนในการศึ กษาของโครงการเพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติจะดำเนินการใน 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1.การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้ อม ศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้ อมที่มีนัยสำคัญต่อการบริหารจั ดการทรัพยากรน้ำ ศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม ดำเนินการศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิ จ สังคม ครอบคลุมสภาพเศรษฐกิจครัวเรือน ลักษณะและขนาดครัวเรือน การประกอบอาชีพ ค่านิยมและทัศนคติ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึ งประชากรและการกำหนดกลุ่มตัวอย่ างที่เหมาะสม 2. จัดทำและเชื่ อมโยงแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิ ทยา เพื่อวางแผนจัดการและประเมิ นผลกระทบจากการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำ
โดยคำนึงถึงด้านกายภาพของน้ำ เศรษฐกิจและสังคมในเวลาเดียวกั