อภัยภูเบศร ร่วมมือ สวก. เสริมแกร่งงานวิจัยสมุนไพรไทย ชู ปราบชมภูทวีป เพชรสังฆาต มะระขี้นก และกัญชา เป็นงานวิจัย ควิกวิน พัฒนาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ หวังเป็นโมเดลต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมใหม่ใช้ได้จริง พลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ

อภัยภูเบศร ร่วมมือ สวก. เสริมแกร่งงานวิจัยสมุนไพรไทย ชู ปราบชมภูทวีป เพชรสังฆาต มะระขี้นก และกัญชา เป็นงานวิจัย ควิกวิน

พัฒนาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ หวังเป็นโมเดลต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมใหม่ใช้ได้จริง พลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ

 

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ลงนามความร่วมมือ ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อผลักดันงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประเทศชาติและประชาชน

ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า “สวก. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการเกษตรของประเทศ ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ คลัสเตอร์สมุนไพรไทย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557– ปัจจุบัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 239 โครงการ คิดเป็นงบประมาณกว่า 456.5 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสมุนไพรไทยในด้านการรักษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดจนขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบครบวงจร ทำให้เกิดความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผลการวิจัยที่ได้ต้องมีเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับอภัยภูเบศรในครั้งนี้นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในด้านการอนุรักษ์ การวิจัยและพัฒนาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยาแผนไทยให้ครบวงจร และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาสู่การใช้หรือการปฏิบัติจริงซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ให้สามารถต่อยอดผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสาธารณะ เชิงนโยบาย และเชิงพาณิชย์ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศต่อไป ผ่านกิจกรรมสนับสนุนงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรของมูลนิธิฯ ให้ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง รวมถึงพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกันระหว่าง สวก. และมูลนิธิฯ ในการพัฒนานวัตกรรมหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อตอบโจทย์ของตลาดและผู้บริโภค รวมถึงดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร ผ่านกิจกรรมความร่วมมือกันในการจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับการพัฒนาสมุนไพรไทย เช่น หลักสูตร การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสมุนไพรไทยในการรักษาโรคอุบัติใหม่/ข้อกำหนดของตำรับมาตรฐานยาสมุนไพรไทย ให้แก่นักวิจัย เพื่อร่วมกันพัฒนางานวิจัยต่อไปในอนาคต รวมถึงหลักสูตร การพัฒนาและการแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากพืชสมุนไพรไทย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร/องค์ความรู้ให้กับชุมชน

นอกจากนี้ยังมีแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันในด้านการรวบรวมทรัพยากรพันธุกรรมพืช (Germplasm) และร่วมแบ่งปันข้อมูลด้านภูมิปัญญาสมุนไพร/งานวิจัยสมุนไพร เพื่อเป็นองค์ความรู้และฐานข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจสืบค้นข้อมูลได้ ผ่านความร่วมมือกับมูลนิธิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือระหว่าง สวก. กับ มูลนิธิฯ ที่ผ่านมานั้น สวก. ได้ดำเนินการให้การอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่มูลนิธิฯ ไปแล้ว 3 โครงการ อยู่ในระหว่างพิจารณาในคณะอนุกรรมการฯ เพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยจำนวน 2 โครงการ รวมถึง สวก. ได้ดำเนินการส่งมอบผลงานวิจัยกลุ่มเรื่องสมุนไพรไทย ที่เป็นเชิงสาธารณะให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อีก 15 โครงการ

“จากที่ได้หารือกับทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เราจะชูสมุนไพร 3 ตัวเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ปราบชมภูทวีป เพชรสังฆาต มะระขี้นก เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป รวมถึง กัญชาที่จะได้ศึกษาถึง DNA และพันธุกรรมกัญชาที่มีสาร CBD สูง ซึ่งเป็นงานวิจัยควิกวินที่เราจะนำไปใช้จริง” ผู้อำนวยบการ สวก. กล่าว

ด้าน นพ.เปรม ชินวันทนานนท์ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิฯ อภัยภูเบศร กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง สวก. และ มูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะเป็นโมเดลในการนำภูมิปัญญาไทยไปสู่งานวิจัยสมัยใหม่ และเพื่อนำไปสู่การปฎบัติใช้จริงอย่างกว้างขวางได้ เช่น งานวิจัยที่อภัยภูเบศรร่วมทำด้วย และพบว่ามีประโยชน์มากในผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานก็คืองานวิจัยมะระขี้นก สามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลได้ในผู้ที่เริ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน หรือ Pre DM และกำลังอยู่ในระหว่างการนำขึ้นทะเบียน และยังมีงานวิจัยสมุนไพรไทยอีกหลายชนิดที่ทำร่วมกัน สำหรับความร่วมมือที่ ความหวังต่อไปคือการยกระดับภูมิปัญญาสมุนไพร ให้มีงานวิจัยสมัยใหม่มา รอง รับ และตรงความต้องการของตลาด

“โดยมีการวางแผนทำงานร่วมกันคือ การศึกษาตำรับยาประจำเดือนจะหมด เป็นตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ผ่านการใช้ในโรงพยาบาลแล้วพบว่า ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และปรับอารมณ์ได้ดี โดยไม่มีผลต่อรังไข่ของหนูทดลอง ซึ่งเป็นประโยชน์ในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน และกำลังของทุนวิจัยในคนต่อไป อีกงานคือ วิจัยแร้งคอคำ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แล้วในต่างประเทศ โดยจะทำการศึกษาเรื่องการชะลอความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำการศึกษาตั้งแต่การปลูก จนถึงการสกัด และการทดสอบฤทธิ์ยา และเชื่อว่า หากเราสามารถเพิ่มการวิจัยรองรับได้ จะช่วยให้ตลาดสมุนไพรของไทยมีความเข้มแข็ง และยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศได้ ความร่วมมือที่ทำร่วมกับ สวก. ในครั้งนี้ เชื่อว่าจะได้ช่วยให้งานวิจัยสมบูรณ์ขึ้น โดยเราจะนำพืชสมุนไพรที่ทาง สวก. ได้ศึกษาแล้ว มาปลูก ขยายพันธุ์ และส่งต่อแก่ภาคเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจ และนำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับสมุนไพรไทยได้ในอนาคต” นพ.เปรม กล่าว

 

 

 

ภาพ อลงกรณ์ คุณกิตติมานนท์
ข่าว วัฒนา พวงสมบัติ

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC