นักการเมืองวิ่งเคลียร์วุ่น ขอสื่อเลิกรื้อปัญหาตลาดเอกชนเช่าที่ดิน สปก. 24 ไร่ เปิดกิจการขนถ่ายสัตว์น้ำด่านสิงขร

นักการเมืองวิ่งเคลียร์วุ่น ขอสื่อเลิกรื้อปัญหาตลาดเอกชนเช่าที่ดิน สปก. 24 ไร่ เปิดกิจการขนถ่ายสัตว์น้ำด่านสิงขร

 

 

จากกรณีตัวแทนผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกสินค้า ที่จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ต.คลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด เพื่อขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบ การใช้อำนาจหน้าที่กรณีคณะกรรมการศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านเมียนมา ขอความร่วมมือผู้ประกอบการตลาดเอกชนแห่งหนึ่งใช้พื้นที่จัดทำลานขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ ที่ด่านสิงขร โดยให้ผู้ประกอบการเสียค่าใช้จ่ายให้เจ้าของตลาด แทนการใช้สถานที่ของราชการ เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการขนถ่ายสินค้านั้น

วันที่ 6 สิงหาคม นายกิตติพงศ์ คำรณฤทธิศร นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานกฎหมาย สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ( สปก.จ.ประจวบคีรีขันธ์) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งขอใช้ที่ดิน สปก. 24 ไร่เพื่อทำตลาดและสถานที่ขนถ่ายสัตว์น้ำ โดยทำสัญญาเช่าเป็นเวลา3 ปี มีอัตราค่าเช่าปีละ 2.4 แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 โดยผ่านความเห็นของของคณะกรรมการ สปก.จังหวัด คณะกรรมการศูนย์สั่งการ ฯยอมรับว่าตนไม่เคยไปตรวจสอบสถานที่จริง และการเช่าใช้ของเอกชน จะตรวจสอบเจตนาในการขอประโยชน์ตามกฎหมายของ สปก. เท่านั้น สปก.ไม่มีหน้าที่ในการตรวจอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหรือกฎหมายผังเมืองของหน่วยงานอื่น แต่ผู้เช่าต้องไปติดต่อประสานงานเพื่อขออนุญาตหากเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด

 

นายนนทกร คงเจริญ ผู้อำนวยการกองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) คลองวาฬ อ.เมือง ฯกล่าวว่า ขณะนี้มีการกอสร้างลานคอนกรีตบริเวณขนถ่ายสัตว์น้ำ ซึ่งดำเนินการก่อนขออนุญาตตาม พ.ร,บ.ควบคุมอาคาร 2522 แต่ยอมรับว่า เอกชนสามารถดำเนินการก่อสร่างก่อได้ จากนั้นนำแบบแปลนไปยื่นขออนุญาตในภายหลังได้ ตามมาตรา 21 และมาตรา 39 ทวี โดย อบต.จะส่งแบบแปลนการก่อสร้างให้ สปก.เจ้าของพื้นที่พิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์
มีรายงานว่า หลังจากผู้สื่อข่าวเดินทางไปติดตามข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีนักการเมืองท้องถิ่นรายหนึ่งในพื้นที่ ต.คลองวาฬติดต่อขอประสานผ่านสื่อมวลชนทางโทรศัพท์เพื่อพยายามขอเคลียร์ให้ยุติการเสนอข่าวที่ทำให้มีผลกระทบกับผู้บริหารระดับจังหวัดเข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน และนักการเมืองดังกล่าวอ้างว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการลงทุน และที่ผ่านมามีการใช้งบลงทุนก่อสร้างจำนวนมาก

ขณะที่เดิมตลาดเอกชนดังกล่าวจะเปิดกิจการขนถ่ายสัตว์น้ำ จาก จ.มะริด ประเทศเมียนมาตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา หลังจากเจ้าของตลาด ลูกน้องคนสนิทของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์รายหนึ่ง มีเอกสารแจ้งถึงผู้ประกอบการขนส่งสินค้า อ้างว่าจังหวัดขอความร่วมมือใช้พื้นที่ขนถ่ายสินค้าชั่วคราว ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป กำหนดเอัตราค่าบริการรถ 4 ล้อคันละ 50 บาท รถหกล้อคันละ 100 บาท รถสิบล้อคันละ 150 บาท ค่าบริการน้ำฉีดรถคันละ 50 บาททุกประเภท และตลาดได้จัดให้มีบริการน้ำแข็งสำหรับแช่สิ่งของ จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกรายใช้น้ำแข็งที่ตลาดจัดไว้ให้

 

ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ขนถ่ายสัตว์น้ำชั่วคราว พบว่าอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารและลานคอนกรีตใช้งบประมาณมูลค่านับล้านบาท ขณะที่จุดขนถ่ายสินค้าเดิมในพื้นที่โนแมนแลนด์ บริเวณศาลเจ้าพ่อหินกอง ใกล้จุดตรวจ ตชด.ที่ 146 มีผู้ประกอบการขนถ่ายสินค้าไม่มาก และสามารถขยายพื้นที่ได้อีก โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจังหวัดได้แก้ไขปัญหาการนำเข้าส่งออกสินค้า เพื่อไม่ให้มีปัญหาความแออัดและลดเวลาในการขนถ่ายสินค้า ขณะที่ผู้ประการนำเข้าส่งออกส่วนหนึ่งเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐมีความพร้อมในการจัดสถานที่ไว้เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า ไม่ควรเปิดช่องให้ใช้ตลาดของเอกชนในลักษณะผูกขาดโดยอ้างขอความร่วมมือชั่วคราว และจุดดังกล่าวห่างจากที่ทำการของด่านตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากรอาจทำให้มีปัญหาลักลอบนำเข้ายาเสพติด และ ปัจจุบันยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียเกรงว่าจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

พิสิษฐ์  รื่นเกษม  ข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC