ธกส.ประจวบฯ สร้าง “ทองมงคลโมเดล” ปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติ สร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ที่ป่าต้นน้ำ น้ำตกไทรคู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายเลิศยศแย้มพราย นายอำเภอบางสะพาน นายยุวพล วัตถุ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก นายอดิเรก วงษ์คงคำ ผอ.ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท พ.อ.กรกานต์ นาเวชวนิชกุล รอง ผอ.กอ.รมน.จ.ประจวบฯ นายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผอ.สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ประจวบฯ นายสามารถ เอี่ยมวงศ์ ผอ.สำนักงาน ธกส. จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ นายจำลอง แก้วไทรนันท์ นายกอบต.ทองมงคล นายสมปอง นุชนงค์ กำนันตำบลทองมงคล พร้อม ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน พนักงาน ธกส. เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธ์ฯ และชาวบ้านทองมงคล ร่วมเปิดงานโครงการสืบสาน รักษา ต่อยอด ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สร้างฝายชะลอน้ำ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลง พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งมีพระราชปณิธาน ในการทรงงานเพื่อจะ สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” มาใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน
เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และเพิ่มจำนวนต้นไม้ในป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างแหล่งน้ำในชุมชน ด้วยการสร้างฝ่ายชะลอน้ำ ส่งเสริมการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สำหรับพื้นที่ป่าต้นน้ำ น้ำตกไทรคู่แห่งนี้ ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านเขาแก้ว ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิดปกคลุมพื้นที่บริเวณโดยรอบสร้างความซุ่มชื้นตลอดทั้งปี และมีปริมาณน้ำไหลลงสู่พื้นที่ราบทำให้ชาวบ้านในบริเวณบ้านเขาแก้ว และบริเวณใกล้เคียงมีน้ำใช้ตลอด การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต้นน้ำจะสร้างคุณประโยชน์นานัปการ ซึ่งจะมีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์เพื่อการบริโภค อุปโภครวมทั้งสิ้น 47 ครัวเรือน เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. 18 ครัวเรือน เกษตรกรบุคคลทั่วไป 29 ครัวเรือน และประโยชน์ด้านเกษตรกรรมได้แก่ ปาล์ม ยางพารา ผลไม้ รวมกว่า 900 ไร่