พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระนั่งดิน โบราณ อายุกว่า2,500ปี

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระนั่งดิน โบราณ อายุกว่า2,500ปี

 

 

วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในบริเวณวัดพระนั่งดิน ตำบลเวียงอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา ได้มีนักท่องเที่ยว และชาวพุทธศาสนิกชนพากัน นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลัย เข้ามากราบไหว้ขอพรพระนั่งดินซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีอายุ กว่า2,500 ปีซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวจังหวัดพะเยาและทั่วประเทศ เพื่อขอพรให้ท่านปกปักรักษาเพื่อความเป็นสิริมงคล และขอโชคลาภ

บรรยากาศภายในบริเวณพระนั่งดินพบว่าได้มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดพากันนำดอกไม้ธูปเทียนเข้ามากราบไหว้ พระพุทธ รูปพระนั่งดิน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความแตกต่างจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆที่จะประดิษฐานนั่งบนฐานชุกชีหรือบนแท่นแก้ว พระพุทธรูปพระเจ้านั่งดินจะนั่งอยู่กับพื้นดินโดยไม่ยอมขึ้นจากพื้นดิน มานานกว่า2,500 ปีแล้วจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยาที่มีความแปลกไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนและเป็นพระพุทธรูปโบราณมีอายุเก่าแก่ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา

จากการสังเกตดูบรรดานักท่องเที่ยวที่เข้ามากราบไหว้ต่างก็ได้ขอพรเสี่ยงเซียมซีปิดทองลูกนิมิตร บางคนเอา ดอกไม้พวงมาลัยตลอดจนไข่ต้ม นำมาถวายกราบไหว้พระนั่งดิน หลังจากไหว้พระขอพรเรียบร้อยแล้วต่างก็พากันออกมา เสี่ยงโชคโดยหาซื้อเลขเด็ดที่บรรดาพ่อค้าขายลอตเตอร์รี่นำมาตั้งขายภายในบริเวณวัดพระนั่งดิน ต่างเอาเลขที่ของวัดเลขที่ 45 และเลขปีจุลศักราช ๑๒๑๓ ที่ค้นพบประวัติ ของพระเจ้านั่งดิน แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะเลขดังกล่าวได้ขายไปหมดแล้ว

สำหรับประวัติพระนั่งดินเป็นวัดที่มีชื่อเสียง ของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ชื่อของวัดมาจาก องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนพระประธานในวัดอื่นๆ อดีตมีชาวบ้านนำได้สร้างฐานชุกชี และ อัญเชิญพระนั่งดินขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามอย่างไรก็ยกไม่ขึ้นจึงเรียกสืบต่อกันว่า “พระนั่งดิน” จนถึงปัจจุบัน วัดพระนั่งดิน ตั้งอยู่เลขที่45 หมู่7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มี ฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน นอกจากนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้าน ได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อันเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้

ตำนานพระเจ้านั่งดิน   กล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติเมื่อนมจตุจุลศักราช ๑๒๑๓ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหาร จนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัส ให้พระยาคำแดง เจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบ ก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤๅษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา ๑ เดือนกับอีก ๗ วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้วจึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะ อีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชีมากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนากับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕๐๐๐ พระพรรษา” พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ บนผืนดินนั้นสืบมา พระรูปเหมือนดังกล่าวคือ “พระเจ้านั่งดิน” ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ น่าจะมีอายุกว่า ๒๕๐๐ ปี ในการสร้างใช้เวลา ๑ เดือน ๗ วัน จึงแล้วเสร็จ ประดิษฐานนั่งบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุก วันนี้

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC