สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ 4 จัดอบรมโครงการพัฒนาครูแกนนำขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ดร.สุรพล เสนบุญ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมโครงการพัฒนาครูแกนนำขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เรื่อง “บทบาทครูแกนนำงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ในระหว่างวันที่ 28 – กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายสรายุทธ ภูคัสมาส ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ กล่าวรายงานโครงการ นามคณะกรรมการดำเนินงาน และได้รับเกียรติจากวิทยากร นายวุธ กาวงษ์กลาง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำน้อย สพป.ขอนแก่น เขต นางสาวเทพรัตน์ เสนาฤทธิ์ ศน.สพป.ขอนแก่น เขต 2 นายชนะ โนนทนวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น นางเกษแก้ว บุญบาล ครู โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น และนายกัณณ์วัตร ชุ่มชื่น ครู โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น บรรยายพิเศษ เรื่อง เข้าใจและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายการเกณฑ์ประเมินสถานศึกษาพอเพียง เรียนรู้ ผลการประเมินองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้การประเมินสถานศึกษาพอเพียง และ สรุปการเรียนรู้ การประเมินสถานศึกษาพอเพียงเป้าหมาย เพื่อ ให้ครู มีความรู้และทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการตามแนวทางของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง และครู บุคลากร ที่เข้ารับการพัฒนา รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป
สำหรับการอบรมโครงการ ในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ เป็นสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ ๔ โดยมีสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔ เข้าร่วมทั้งหมด จำนวน ๒๑ สถานศึกษา ซึ่งมีข้าราชการครูและบุคลากรในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่เป็นมีความจำเป็นพิเศษ จำนวน 100 คน คณะวิทยากรจำนวน 6 คน ระยะเวลาในการจัดอบรม จำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ดร.สุรพล เสนบุญ ประธาน สถานศึกษาสังกัด สศศ. กลุ่ม 4 เปิดเผยว่า ตามที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนที่ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว แนวพระราชดำริฯที่ทรงห่วงใยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรงเน้นให้เด็กๆ ตามโรงเรียนทั่วประเทศได้รู้จักชื่อต้นไม้ เพื่อจะได้รักและหวงแหนต้นไม้ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติของไทย “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” จึงมีแนวคิดแนวปฏิบัติที่จะนำมาบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ มิใช่เป็นสวนประดับ สวนหย่อม หรือสวนสวย โรงเรียนงาม แต่เป็นงานที่เข้ามาสนับสนุนที่มีอยู่แล้วหรือสร้างขึ้นมาใหม่ ที่จะให้ความรู้ เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อม สามารถนำมาบูรณ าการใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนสังเกตเรียนรู้ ตั้งคำถามหาคำตอบ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชนโดยทั่วไป
จากเหตูผลดังกล่าวข้างต้น กลุ่มสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม จึงได้จัดโครงการพัฒนาครูแกนนำขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาให้กับบุคคลากรของแต่ละสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของโรงเรียนมีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการตามแนวทางของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้รวบรวมข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ อันจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้รวบรวมข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ ให้ครูมีความรู้ ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการตามแนวทางของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน นักเรียนมีความเข้าใจ มีทักษะการปฏิบัติ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร สรุปองค์ความรู้ นำเสนอองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม ส่งผลให้นักเรียนเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป และเพื่อให้ ผู้บริหาร ครู บุคลากรและผู้เรียนในโรงเรียน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณท้องถิ่น ตระหนักเห็นคุณ รู้ค่าของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต มีการศึกษาค้นคว้า อันก่อให้เกิดผู้เชี่ยวชาญระดับท้องถิ่น
ภาพ/ข่าว : ณะรินทร์ศาล์ งามวงศ์ รายงาน