ศรีสะเกษขับเคลื่อนโรงเรียน/หมู่บ้านศีล 5 ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง คืนคนดีสู่สังคม
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. ที่ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ นายทิวา รุ้งแก้ว ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ. นายกพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในการประชุมขับเคลื่อนโครงการโรงเรียน/หมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง โดยใช้หลัก “บวร”บ้าน/วัด/โรงเรียน เป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยมีผู้นำชุมชน พระคุณเจ้า ผู้บริหารโรงเรียน ของผู้นำชุมชนต้นแบบจากทุกอำเภอๆละหนึ่งชุมชนเข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนจำนวน ๕๐ คน/รูป เพื่อวางแผนเป็นหมู่บ้านต้นแบบระดับจังหวัดซึ่งจะมอบรางวัลในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ศกนี้
นายทิวา รุ้งแก้ว นายกพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า โครงการโรงเรียน/หมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เป็นโครงการร่วมมือของภาคประชาสังคมซึ่งประกอบด้วย ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ,พุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษ, สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ, หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ, คณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ คปศ., ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ, มูลนิธิหลวงปู่สรวง, มูลนิธิพศช., กลุ่มพัฒนาสตรีจังหวัดศรีสะเกษ, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ, ชมรมรักถิ่นศรีสะเกษ กองทุนหลวงพ่อพระตาตนวัดสำโรงเกียรติ, กองทุนทิวารุ้งแก้วเพื่อการศึกษาศาสนาศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ชมรมครูประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้บูรณาการกับองค์การบริการส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ เพื่อคืนคนดีสู่สังคม มีข้อปฏิบัติดังนี้ ครู-บุคลากร และนักเรียน ต้องเป็นสมาชิกหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ทุกคน โรงเรียนต้องบริหารจัดการแบบ “บ ว ร” บ้าน/วัด/โรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคารวะธรรม(เพื่อนเคารพเพื่อน,น้องเคารพพี่,ศิษย์เคารพครู)ที่หน้าเสาธงทุกวัน มีกิจกรรมสวดมนต์ยาวทำนองสรภัญญะทุกวันสุดสัปดาห์ หรือวันที่โรงเรียนกำหนด 1 วัน/สัปดาห์ มีการทำบุญตักบาตรข้าวสาร-อาหารแห้ง อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือตามที่โรงเรียนเห็นสมควร โรงเรียนนำภัตตาหารเพลไปถวายพระที่วัดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งและโรงเรียนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติที่โรงเรียนแล้วขยายผลสู่ชุมชน จึงขอให้โรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษได้เข้าร่วมโครงการนี้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการคืนคนดีสู่สังคมจังหวัดศรีสะเกษ
นายทวีชัย คำแพงได้กล่าวว่า โครงการโรงเรียน/หมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ภาคประชาสังคมได้เริ่มขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ในรูปแบบ”หมู่บ้านตามรอยพ่ออย่างพอเพียง” ต่อมาในปีพศ. ๒๕๕๗ ได้บูรณาการกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล จึงใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการโรงเรียน/หมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง” ในปีแรกมีโรงเรียนชุมชนเข้าร่วมโครงการ ๙ โรงเรียน/ชุมชน ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ๕๘๕ โรงเรียน วิทยาลัย ๓ แห่งและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๑ แห่ง สำหรับโครงการนี้จะเริมใช้โรงเรียนเครื่องมือในการขับเคลื่อน
นางวิสุดา ชัยชาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนตะดอบวิทยา กล่าวว่า ตนเองได้เริ่มเข้าร่วมโครงการนี้ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นผู่บริหารโรงเรียนบ้านดอนข่า สพป.ศก.๔ โดยใช้โครงการนี้บูรณาการเข้ากับทุกโครงการของโรงเรียน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้เรียนดีขึ้น นอกจากนั้นยังในพัฒนาไปพร้อมกันทั้งสามองค์กรหลักของชุนคือบ้าน/วัด/โรงเรียน. เมื่อตนเองย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนตะดอบวิทยา. สพป.ศก. ๑ จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการนี้โดยไม่ลังเลเพื่อใช้เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาและได้ทำปฏิทินในการจัดกิจเรียนการสอนโดยให้ครูทุกชั้นเรียนได้นำนักเรียนไปถวายเพลที่วัดทุกเดือน
นายนายธนกฤต บุญปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านขี้นาค ได้กล่าวว่าตนเองสมัครเข้าร่วมโครงการเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพธิ์สามัคคี. อำเภอปรางค์กู่ สพป.ศก. ๓ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ปัญหาก็คือครูไม่ครบชั้น งบประมาณอาหารกลางวันน้อยไป เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในการทำบุญใส่บาตรทุกวันขึ้นแปดค่ำของเดือน โดยเชิญชวนชาวบ้านทุกคนในชุมชนมาร่วมทำบุญตักบาตร ทำให้ชุมชนทราบปัญหาของโรงเรียนเงินที่ได้จากการทำบุญตักบาตรทุกครั้งจะรวบร่วมไว้เป็นค่าตอบแทนครูที่ทางชุมชนหามาให้ถ้าไม่พอพระคุณเจ้าก็จะบริจาคช่วย. นอกจากนั้นชุมชนยังได้ระดมจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ดอกผลในการจ้างครู จากกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าวปัญหาอาหารกลางวันดีขึ้น ครูไม่ครบชั้นได้รับการแก้ไข คุณภาพผู้เรียนดีขึ้น. คะแนนโอเน็ตจากเคยได้อำดับท้ายๆของอำเภอก็ตามมาอยู่ในอันดับต้นๆของอำเภอแต่สูงกว่าระดับชาติ
ขอขอบคุณภาพข่าวจาก บุญทัน ศรีสะเกษ