“อานนท์” นำเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นเรารักประเทศไทย ร่วมสืบชะตาเสริมบารมีแบบล้านนาเมืองแพร่ บนหอคัมภีร์ใบลานหนึ่งเดียวของโลก

“อานนท์” นำเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นเรารักประเทศไทย ร่วมสืบชะตาเสริมบารมีแบบล้านนาเมืองแพร่ บนหอคัมภีร์ใบลานหนึ่งเดียวของโลก

 

 

วันนี้(12 กรกฎาคม 2563) ณ หอชีวประวัติหลวงปู่ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ พระครูวิบูลสรภัญ (พระมหาฉัตรเทพ) พระเกจิอาจารย์ ผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ ใช้หอเก็บคัมภีร์ใบลานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นที่สวด บทสวด รัตนสูตร เพื่อขจัดปัดเป่า โรคภัยไข้เจ็บ สืบชะตา เสริมบารมีให้กับ นายอานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย นายองอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายผู้บริหารท้องถิ่นไทย พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่ออออนไลน์ภาคอีสาน นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งประเทศไทย นายสมชัย แสงทอง รองประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทยภาคเหนือ นางนิตยา นาโล รองประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทยภาคอีสาน นางสุมาลี สะสม ประธานเครือข่ายประจำจังหวัดแพร่ และ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน พร้อมกันนี้คณะได้ร่วมพิธี “ตากธัมม์” ใบลานเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

สำหรับพิธีกรรมและประเพณีตากธัมม์ เป็นประเพณีโบราณที่มีอายุมานานมากกว่า 150 ปี โดยความพิเศษของประเพณีตากธัมม์ที่วัดสูงเม่นนี้ อาจถือได้ว่าเป็นประเพณี “หนึ่งเดียวในโลก” เหตุเพราะ “ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร” หรือ “ครูบามหาเถร” แห่งวัดสูงเม่น ได้แนวคิดการตากธัมม์มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว หลังจากที่ท่านเดินทางไปหลวงพระบางและนำคัมภีร์กลับมาเพื่อเก็บไว้ที่วัดสูงเม่น ก็ได้ริเริ่มประเพณีนี้ขึ้นมา ประเพณีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนได้เข้าถึงหลักธรรม คำสอนในทางพระพุทธศาสนา โดยผ่านพิธีกรรม และอีกจุดประสงค์หนึ่งน่าจะเป็นกุศโลบายให้มีการจัดเก็บ ดูแล รักษาสภาพคัมภีร์ธัมม์ให้มีอายุการใช้งานที่ยั่งยืน

 

นอกจากนั้นแล้ว “สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน”ยังได้มีการฟื้นฟูประเพณีตากธัมม์ของวัดสูงเม่น เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นประเพณีที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์แห่งการสืบทอดมรดกคัมภีร์ธัมม์ ที่ข้ามพรมแดนระหว่างล้านนา ลาว และ ไทย ที่น่าสนใจอย่างมาก “ตากธัมม์ จึงเป็นประเพณีที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนักในสังคมไทยหรือแทบไม่ปรากฏในท้องถิ่นอื่นๆ นอกจากภาคเหนือของประเทศไทย และอาจมีเพียงหนึ่งเดียวคือ ที่วัดสูงเม่น โดยครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ท่านได้ใช้วิธีการเชิงประเพณีที่คล้ายคลึงกับความเชื่อพื้นฐานของชาวล้านนา ทั่วไปในเรื่องอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ธัมม์ถวายวัด ว่าการได้ฟังธรรม และสร้างคัมภีร์ธัมม์ถวายวัดถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มาก”

และเมื่อมาถึง ‘วัดสูงเม่น เมืองแพร่” แล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การกราบสักการะ “ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ” หรือ “ครูบามหาเถร” ซึ่งถือว่าเป็นปฐมครูบาเจ้าแห่งภาคเหนือ สันนิษฐานว่าท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2332 มีอายุยาวนานถึง 4 รัชกาล โดยท่านมรณภาพในปี 2421 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 พื้นเพดั้งเดิมท่านเป็นคนแพร่หลังจากอุปสมบท ได้ศึกษาพระไตรปิฎกมูลกัจจายนะ ปรมัตถ์ สัททาทั้ง 80 มัด สมัญญาภิธาน จนแตกฉานในธรรมทั้งหมด และเป็นผู้สร้างคุณงาม ความดีไว้จำนวนมาก อาทิ จัดสร้างและรวบรวมเขียนธรรมใบลาน เป็นภาษาบาลี บรรจุไว้ในพระไตรปิฎกวัดสูงเม่น มี 2,567 มัด นับเป็นผูกได้ 8,845 ผูก และยังได้นำไปบรรจุไว้ที่หลวงพระบางอีกจำนวนมาก “…เพื่อเป็นการสร้างอานิสงส์ สำคัญคือ ได้ร่วมชำระคัมภีร์ธัมม์ ที่ทางพระพุทธศาสนาบอกว่า เท่ากับการสร้างเจดีย์ 840,000 องค์ หรือสร้างวิหาร 840,000 หลัง อีกด้วย

 

 

เอนก ธรรมใจ
รายงาน

 

You May Have Missed!

1 Minute
เศรษฐกิจ
“อลงกรณ์ พอใจ” เอฟเคไอไอบิสซิเนส ฟอรั่ม  ประสบความสำเร็จเชื่อมโยงธุรกิจไทย-เกาหลี บรรลุข้อตกลงจับคู่ธุรกิจการลงทุนกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อมพร้อมขยายความร่วมมือกับโกลบอลESG
0 Minutes
ข่าวภูมิภาค
พิธีทำบุญสารทเดือนสิบ ตามโครงการเสริมสร้างจริบธรรมคุณธรรม เสริมสร้างความรักชาติ และเสริมสร้างวินัยแก่คนในชาติ ของกรมการปกครอง
1 Minute
ข่าวภูมิภาค
จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ตามโครงการ “ปลูกต้นไม้ 1 คน 1 ต้น ฝนนี้”
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้รับโล่รางวัลเกียรติคุณ “โรงพยาบาลต้นแบบ ปีงบประมาณ 2566 ระดับ Platinum”