สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพะเยาเขต 1 ขับเคลื่อนการลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็ก
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพะเยาเขต 1 ร่วมกับมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอดอกคำใต้
วันนี้ ( 30 มิย 2563 ) เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรเมืองพะเยา โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพะเยาเขต 1 ร่วมกับมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอดอกคำใต้ 26 สถานศึกษา 60 คน เพื่อร่วมเรียนรู้กระบวนการลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษา
สถานการณ์ภาวะโภชนาการของประเทศไทยปัจจุบันพบว่ามีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 6.7% และมีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง เตี้ย แคระ แกร็น ถึง 10.5% พบมากที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งในบาง จังหวัดสูงถึงร้อยละ 24.9 ส่วนภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันพบ 5.4%2 แม้ว่าประเทศไทยจะ ดำเนินการขจัดปัญหาภาวะโภชนาการขาดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ แต่เด็กวัยเรียนที่มีภาวะ โภชนาการเกินและอ้วนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 9.7 และ 10 ปีต่อมา พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.43 ซึ่งภาวะทุพโภชนาการในช่วงต้นของชีวิตมีบทบาทสำคัญต่อ สุขภาพในระยะยาว หากไม่ดำเนินการแก้ไข จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังตามมาได้ ภาวะโรคอ้วน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทางด้านร่างกาย ได้แก่ โรคข้อ และกระดูก โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ นำไปสู่การเกิด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง
นางสาวพวงทอง ว่องไว มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา มีแนวคิดในการปรับพฤติกรรมนักเรียนประถมศึกษาพื้นที่อำเภอเมืองและดอกคำใต้ ในการเลือกบริโภค อาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเน้นการบริโภคผักและผลไม้ เพื่อป้องกันและลดภาวะอ้วน เน้นการสร้างความร่วมมือผู้บริหาร และสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้และก่อให้เกิดอารมณ์/จิตสำนึกแห่งการดูแลสุขภาพ ( การเพิ่มอัตราการบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอตามข้อแนะนำองค์กรอนามัยโลก 400 กรัมต่อวัน ) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กเพื่อออกกำลังและส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กเพื่อออกกำลัง และสร้างความร่วมมือผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมการบริโภคของบุตรหลานเพื่อลดภาวะอ้วน รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ ( พชอ. ) กำหนดนโยบายและขับเคลื่อนประเด็นอาหารเพื่อสุขภาวะ ที่เอื้อต่อการให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำเอาบทเรียนที่ได้มาสร้างการเรียนรู้ขยายต้นแบบการทำงาน ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด 9 อำเภอ
นายประถม เชื้อหมอ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา พะเยาเขต 1 ที่ผ่านมาเขตได้มีการวางแนวทางเพื่อให้สถานศึกษาในแต่ละแห่งได้นำเอาการสร้างเสริมสุขภาวะ ในโรงเรียนด้วย กระบวนการ พัฒนาคุณธรรม มาเป็นกระบวนการทำงานในกลุ่มเด็ก ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงสนับสนุนให้นำเอาโครงการของมูลนิธิพะเยาเพื่อมาต่อยอดการดำเนินงานเพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่ปลอดภัย
ผศ.ดร.กังสดาล กนกหงษ์ สาขาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทีมการติดตามประเมินผลโครงการ กล่าวว่า การปรับพฤติกรรมเด็ดอ้วนเพื่อให้ความเปลี่ยนแปลงนั้น การให้ความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นเป็นไม่ได้ ต้องอาศัยการมีความร่วมทั้งครอบครัว ชุมชนและและสถานศึกษาจัดกิจกรรมที่เน้นทั้งการปรับพฤติกรรมของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยส่งเสริมการทานผักและผลไม้ที่ทำให้เกิดโภชนาการสมวัย รวมถึงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ที่มีความต่อเนื่อง มีการทำพันธะสัญญากับครอบครัวเพื่อลงพื้นที่ติดตามพฤติกรรมเด็กและครอบเด็ก ซึ่งกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปแบบของการทำงานการปรับพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษาจังหวัดพะเยาที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานต่อไป
หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา 081-8853384