อธิบดีปศุสัตว์เผย  ม้าตายสะสม 547ตัว ป่วย 589 ตัว จากกาฬโรคแอฟริกาในม้า ระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว3,984ตัว เตือนผู้เลี้ยงอย่าประมาทช่วงหน้าฝน ต้องใช้มุ้งป้องกันแมลงตาถี่ 32ตา เร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะ 

อธิบดีปศุสัตว์เผย  ม้าตายสะสม 547ตัว ป่วย 589 ตัว จากกาฬโรคแอฟริกาในม้า ระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว3,984ตัว

เตือนผู้เลี้ยงอย่าประมาทช่วงหน้าฝน ต้องใช้มุ้งป้องกันแมลงตาถี่ 32ตา เร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะ

 

 

 

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.63  นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสรุปรายงานสถานการณ์โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่าใน 12จังหวัด ที่ผ่านมาเกิดโรคระบาดพบการป่วยตายผิดปกติ จำนวนสะสม คือ นครราชสีมา ป่วยตาย2อำเภอ เกษตรกร 56ราย จำนวนม้าทั้งหมด 1,171ตัว จำนวนป่วย459ตัว คงเหลือป่วย 4ตัว จำนวนตาย 435ตัว ประจวบคีรีขันธ์ ป่วยตาย1อำเภอ เกษตรกร12ราย 145ตัว ป่วย19ตัว ตาย19ตัว ชลบุรี ป่วยตาย1อำเภอ เกษตรกร1ราย 33ตัว ป่วย6ตัว เหลือป่วย1ตัว ตาย5ตัว เพชรบุรี ป่วยตาย 2อำเภอ เกษตรกร 21ราย 583ตัว ป่วย44ตัว เหลือป่วย3ตัว ตาย40ตัว ชัยภูมิ ป่วยตาย1อำเภอ เกษตรกร1ราย จำนวนม้า3ตัว ป่วย1ตัว ตาย1ตัว ราชบุรี พบป่วยตาย1 อำเภอ เกษตรกร1ราย ม้า18ตัว ป่วย7ตัว ตาย6ตัว สระแก้ว ป่วยตาย2อำเภอ เกษตรกร3ราย ม้า22ตัว ป่วย4ตัว เหลือป่วย1ตัว ตาย3ตัว สระบุรี พบป่วยตาย8อำเภอ เกษตรกร16ราย ม้า218ตัว ป่วย42ตัว เหลือป่วย11ตัว ตาย31ตัว ลพบุรี ป่วยตาย1อำเภอ เกษตรกร1ราย ม้า2ตัว ป่วย1ตัว ตาย1ตัว อยุธยา พบป่วยตาย2อำเภอ เกษตรกร2ราย ม้า19ตัว ป่วย2 ตัว ตาย2ตัว นครนายก พบป่วยตาย2อำเภอ เกษตรกร2ราย ม้า13ตัว ป่วย2ตัว ตาย2ตัว และ ฉะเชิงเทรา พบป่วยตาย1อำเภอ เกษตรกร1ราย ม้า29ตัว ป่วย2ตัว ตาย2ตัว

ล่าสุดวันที่23พ.ค. จ.เพชรบุรี ยังพบม้าป่วย1ตัว ตาย1ตัว โดยรวมเกษตรกร117ราย ใน12จังหวัด ม้าจำนวน2,256ตัว ป่วยสะสม589ตัว เหลือป่วยสะสม20ตัว ตายสะสม547ตัว

ทั้งนี้สรุปรายงานดำเนินการฉีดวัคซีนในม้า รัศมี 50กิโลเมตร จากจุดเกิดโรค ที่จังหวัด ลพบุรี กรุงเทพ ปราจีนบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สระบุรี ชลบุรี สระแก้ว ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ฉีดวัคซีนม้าแล้ว3,984ตัว คิดเป็น66.89% เจาะเลือดแล้ว4,850ตัว พร้อมดำเนินการฉีดวัคซีน 672ตัว ยังไม่ได้ดำเนินการ1,106ตัว เป้าหมาย5,956ตัว พร้อมกับติดตามสถานการณ์โรคและเร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม โดยมีแผนและเป้าหมายการใช้วัคซีนรวมทั้งหมดในพื้นที่เสี่ยงและรัศมีรอบจุดเกิดโรค 50 กิโลเมตร ในคอกม้าจำนวน 1,245 แห่ง ม้าจำนวน 7,999 ตัว

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าสถานการณ์โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ จากเมื่อวันที่25มี.ค. กรมปศุสัตว์ ได้รับแจ้งโรคจากเครือข่าย ห้องปฏิบัติการ คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่26 มี.ค. กรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบสวนโรคและเก็บตัวอย่างส่งตรวจ เข้าดำเนินการควบคุมโรคและป้องกันโรค วันที่17 เม.ย.นำเข้าวัคซีนป้องโรค วันที่19 เม.ย.เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าสำหรับสถานการณ์โรคในปัจจุบันนั้นจากการที่กรมปศุสัตว์ร่วมกับทุกภาคส่วนเข้าไปควบคุมโรคทำให้สถานการณ์การเกิดโรคอยู่ในวงจำกัด แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของม้าไม่ควรประมาท ในช่วงฤดูฝนนี้ขอให้ดำเนินการการควบคุมและป้องกันโรคอย่างครบถ้วนตามมาตรการของกรมปศุสัตว์อันได้แก่ การป้องกันแมลง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลง
การทำมุ้งป้องกันแมลงต้องใช้มุ้งขาวตาถี่ 32 ตา อีกทั้งยังต้องมีการจัดการสุขภิบาลในฟาร์มเพื่อเป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงที่เป็นพาหะ และหากพบม้ามีอาการป่วยหรือตาย ขอให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์ใกล้บ้าน หรือสายด่วนแจ้งโรค    063-225-6888 หรือ แอพลิเคชั่น DLD 4.0 เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ก่อนวันที่8เม.ย.สัตวแพทย์ประจำด่าน ไม่มีอำนาจบังคับใช้กฏหมายตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 แก่ผู้นำเข้าม้าลายได้ แต่ถ้าผู้นำเข้ามาติดต่อขอimport permit ตามข้อกำหนดของประเทศผู้ส่งออก ก็จะมีการออกเอกสารให้พร้อมแนบ requirementไปยังสัตวแพทย์หน่วยงานรัฐบาลประเมศต้นทางเพื่อขอให้มีการกักและตรวจและรับรองโรคระบาดสัตว์ที่สำคัญในสัตว์จำพวก equidaeก่อนส่งมาประเทศไทยเท่านั้นและในวันที่นำเข้าม้าลายเข้ามา ผู้ประกอบการสามารถดำเนินพิธีทางการได้เลยไม่ตำเป็นต้องแจ้งด่านกักสัตว์เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจของกรมปศุสัตว์ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่านด่านกักสัตว์ ดังนั้นเมื่อเกิดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ของประเทศไทย ซึ่งข้อสันนิษฐานโรคเบื้องต้นเชื้อโรคดังกล่าวมาจากม้าลายนำเข้าจากต่างประเทศอาจเป็นพาหะในการนำโรค

การนำเข้าม้าลายจากต่างประเทศ หลังวันที่8เม.ย. ม้าลาย ถูกประกาศให้เป็นสัตว์ ตามาตรา4แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ ผู้นำเข้า ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประกาศกรมปศุสัตว์ ทุกประการ โดยปัจจุบันเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษายังเผยแพร่ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องห้ามนำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ประเภทม้า ลา ล่อ อูฐ และม้าลาย รวมถึงสัตว์ ในวงศ์อีไควดี นอกจากประเทศที่ได้รับการรับรอง จากองคก์ารสุขภาพสัตว์โลก ว่าปลอดจากเชื้อโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า โดยรมว.เกษตรและสหกรณ์จึงออกประกาศไว้