“ปลัด ก.เกษตรฯ” ย้ำเกษตรกรตกค้างกว่า 1 ล้านคน เร่งลงทะเบียน รับสิทธิเยียวยาช่วงวิกฤติโควิด-19 เริ่มจ่ายชุดแรก 15 พ.ค.นี้

“ปลัด ก.เกษตรฯ” ย้ำเกษตรกรตกค้างกว่า 1 ล้านคน เร่งลงทะเบียน รับสิทธิเยียวยาช่วงวิกฤติโควิด-19 เริ่มจ่ายชุดแรก 15 พ.ค.นี้

 

 

วันที่ 6 พ.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.  นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  แถลงถึงความคืบหน้าในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ขณะนี้มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนกับทุกหน่วยงาน 7 ฐานข้อมูล รวมจำนวน 8.3 ล้านคน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งให้กระทรวงการคลัง ตรวจสอบไม่ให้ข้อมูลของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือเกิดความซ้ำซ้อนจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน คาดว่าจะส่งรายชื่อเกษตรกรชุดแรกให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขึ้นเว็บไซต์ เพื่อโอนเงินให้เกษตรกรผ่านบัญชีธนาคาร และเริ่มจ่ายเดือนละ 5,000 บาทได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือ 3 เดือน ในช่วง พ.ค.- ก.ค.63

“หากเกษตรกรไม่มีบัญชีของธนาคาร ธ.ก.ส.สามารถแจ้งบัญชีของธนาคารที่มีอยู่ และขอเชิญชวนให้เกษตรกรมาปรับปรุงทะเบียนและผู้ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้มาขึ้นทะเบียนได้จนถึงวันที่ 15 พ.ค.โดยคาดว่าจะมีอีกกว่า 1 ล้านคน โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้เกษตรกรสามารถขึ้นทะเบียนกับผู้นำท้องถิ่น หรือ อาสาสมัครเกษตรในหมู่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปถึงเกษตรอำเภอ และสามารถมอบอำนาจซึ่งกันและกันได้ โดยให้ผู้นำท้องถิ่นรับรองเพื่อรวบรวมส่งรายชื่อให้เกษตรอำเภอ” ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC