“รมช. ประภัตร”  สั่งเดินหน้าคุมเข้ม ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ทุกขั้นตอน ดันชาวนาเมืองสุพรรณ เข้าร่วมโครงการผลิตคุณภาพ พร้อมดึงกลุ่มเอกชนให้ความรู้ด้วยเทคโนโลยีแผนใหม่ ตีกรอบต้นทุนให้ได้ ไร่ละไม่เกิน 4,000 ต่อไร่ หลังประกันราคารับซื้อ จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ อยู่ที่ ตันละ 11,000 บาท

 

“รมช. ประภัตร”  สั่งเดินหน้าคุมเข้ม ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ทุกขั้นตอน ดันชาวนาเมืองสุพรรณ เข้าร่วมโครงการผลิตคุณภาพ

พร้อมดึงกลุ่มเอกชนให้ความรู้ด้วยเทคโนโลยีแผนใหม่ ตีกรอบต้นทุนให้ได้ ไร่ละไม่เกิน 4,000 ต่อไร่

หลังประกันราคารับซื้อ จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ อยู่ที่ ตันละ 11,000 บาท

 

วันที่ 1​ พ.ค. ​63 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ. สุพรรณบุรี กรมการข้าว ได้มีการประชุมทำความเข้าใจกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวคุณภาพดี ปี 2563   โดย นายประภัตร โพธสุธน รมช. เกษตรฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือ ถึงแนวทางในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวปี2563ว่า ในการประชุมวันนี้ เป็นการทำความเข้าใจกับเกษตกรที่เข้าร่วมโครงการ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพของกรมการข้าว ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าวอย่างเคร่งครัด

โดยในปี 2563 เกษตรกรไทยทั่วประเทศ มีความต้องการในการที่จะปลูกข้าวโดยรวมกว่า ประมาณ60ล้านไร่ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ ไม่มีเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร โดยรวมทั้งหมด จึงต้องเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้เพียงต่อความต้องการของเกษตรกรให้ได้มากที่สุด ในอนาคตโดยเกษตรกร มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ กว่า1 .2 ล้านตัน ที่จะนำมาเป็นเมล็ดพันธ์ุที่ใช้ในการปลูกข้าว ซึ่งขณะนี้เมล็ดพันธ์ุที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ เมล็ดพันธ์ุข้าวนิ่ม หรือข้าวหอมปทุม ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นไปตามความต้องการของตลาดอย่างมาก

อย่างไรก็ตามให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ ให้ได้คุณภาพ ตนจึงได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่กรมการข้าวร่วมกับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าว ที่เป็นแหล่งผลิต ผลิตเมล็ดพันธ์ุในพื้นที่ภาคกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เป็นเแหล่งผลิตกว่า 2 หมื่นไร่ มาทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวคุณภาพให้กับเกษตรกร พร้อมประกันราคาเมล็ดพันธุ์ข้าว ตันละ11,000บาท ในความชื้นที่ไม่เกินร้อยละ25 โดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ครั้งนี้ กรมการข้าวจะจัดหาเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด ให้กับกลุ่มเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อที่จะนำไปปลูกเป็นเมล็ดพันธ์ุ ในการเพาะปลูก โดยหลังการเก็บเกี่ยว จะต้องนำข้าว ทั้งหมด มาจำหน่ายคืนให้กับกรมการข้าว เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดพันธุ์ก่อนจำหน่ายเมล็พันธุ์คุณภาพให้กับเกษตรกรต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการเชิญ กลุ่มเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ การผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เข้ามาร่วมให้ความรู้กับเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวให้มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการทำนาแบบเดิม เป็นต้นทุน ที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่ จ. สุพรรณบุรี มีต้นทุนในการผลิตข้าว มากถึง6,000ต่อไร่ ซึ่งถือว่าสูงมากพอสมควร จึงพยายามที่จะปรับเปลี่ยนการส่งเสริมการผลิตข้าว แบบใหม่ เบื้องต้นภาคเอกชน ยืนยันว่าสามารถผลิตข้าว ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่มีต้นทุนการผลิต ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อไร่เท่านั้น

“ตอนนี้กำลังประสานเอกชน เพื่อให้เขามาให้ความรู้ ให้กับเกษตรกร ทั้งหมด ให้มีการส่งเสริมการผลิตข้าว โดยดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตข้าว โดยใช้ โดรน โดยใช้ปุ๋ยน้ำ ตอนนี้ จะให้เขามาให้ความรู้ ให้พวกด๊อกเตอร์ทั้งหมดระดมความคิดกันวันนี้ เขายืนยัน จะผลิตเมลิตพันธุ์ข้าวต้นทุนต่ำ ที่ไร่ละประมาณไม่เกิน 4,000 บาท ซึ่งจะต้องนำใช้ในการผลิตเพื่อให้เกษตรกร อยู่ได้ด้วย โดยทั้งหมดผมยืนยันว่าขั้นตอนการผลิต จะต้อง มีกรมการข้าว ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน” นายประภัตรกล่าว

นายประภัตร กล่าว อีกว่า การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดี ที่เกษตรกรจะได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพ นำไปปลูกข้าว ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และเชื่อว่า หลังผ่านวิกฤตโควิต หากมีการผลิตข้าว จากเมล็ดพันธุ์คุณภาพที่มาจาก กรมการข้าวโดยตรง เชื่อว่าจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้นอย่างแน่นนอน โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในครั้งนี้  นอกจากจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่เป็นกลุ่มร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพที่มีการประกันรายได้ที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถได้รับสิทธิ์ ในการกู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจาก ธนาคาร ธกส. ในโครงการ ล้านละร้อยได้ด้วย เนื่องจากมีตลาดรองรับที่ชัดเจน และคาดว่า จะสามารถดำเนินการปลูกข้าวได้ ในช่วงกลางเดือน พฤษภาคม ซึ่งต้องรอกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อให้ไม่ให้เกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง และคาดว่า กรมชลประทาน คงมีการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริม กรณีฝนทิ้งช่วงด้วย

ขณะที่ นายขจรศักดิ์ เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยี เข้ามาร่วมในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์นั้น เบื้องต้น มีการส่งเสริมการผลิตนำร่องในพื้นที่ สุพรรณบุรีเป็นหลัก โดยกรมการข้าว มีหน้าที่ ให้ความรู้และผลิตเมล็ดพันธุ์ทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐาน จากนั้น กรมการข้าวจะทำหน้าที่ ซื้อเมล็ดพันธุ์  จากเกษตร กร ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพื่อนำกลับไปเข้าสู่ขั้นตอนปรับปรุงเมล็ดพันธ์ุให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธ์ุ ที่มีคุณภาพ และนำไปส่งเสริมการผลิต ข้าวคุณภาพตามความต้องการของตลาดต่อไป

 

 

 

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC
0 Minutes
กีฬา
มิเกล โรดริโก้ หั่นเองกับมือ 14 แข้งสุดท้าย “เทอดศักดิ์-ณรงค์ศักดิ์-กฤษณ์” นำทัพป้องกันแชมป์ฟุตซอลอาเซียน2024 ที่ เทอร์มินอล 21 จ.นครราชสีมา 2-10 พ.ย.นี้ เข้าชมฟรี
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
Mr.หลิน​ จิ้น เจี๋ย รอง​ ปธ.บจก.หัวเซ​ิ้น เทรดดิ้ง เป็นประธานมอบรางวัลให้กับนักกีฬากอล์ฟ ในรายการ “กุ้ยโจว เหมาไถ มินิ กอล์ฟ ทัวร์นาเมนต์ ครั้งที่​ 5”
0 Minutes
โรงพยาบาล
ผู้บริหารของโรงแรม โฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ รุดมอบ เต้านมเทียม 150 ชิ้น มอบให้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้งานเต้านมเทียม