เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเผย สถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเผย สถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย

 

 

 

วันนี้ (10 เมษายน 2563) นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยข้อมูลสถิติคดีความผิดตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลคดี สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมสถิติคดีดังกล่าวภายหลังรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น.  ถึงเวลา 04.00 น. โดยไม่มีความจำเป็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการสัญจรของ พี่น้องประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19

โดยพบว่าในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ มีสถิติคดีผู้กระทำความผิด ดังนี้

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง
1. จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 1,213 คดี
2. จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 1,113 คดี (คิดเป็นร้อยละ 91.76)
3. ข้อหาที่มีการกระทำความผิด
3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
จำนวน 1,312 คน (สัญชาติไทย 1,245 คน / สัญชาติอื่น 67 คน)
3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
จำนวน 27 คน (สัญชาติไทย 22 คน / สัญชาติอื่น 5 คน)
4. จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา
4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 111 คน
อันดับ 2 จังหวัด นนทบุรี จำนวน 87 คน
อันดับ 3 จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 65 คน
4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน 16 คน
อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน 5 คน
อันดับ 3 จังหวัด สระแก้ว จำนวน 2 คน

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว
1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 76 คำร้อง
2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 80 คน (สัญชาติไทย 75 คน / สัญชาติอื่น 5 คน)
3. ผลการตรวจสอบการจับ ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 80 คน

ในส่วนของภาพรวมสถิติคดีสะสมภายหลังประกาศเคอร์ฟิว 7 วัน (3 – 9 เมษายน 2563) มีดังนี้
กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง
1. จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 5,071 คดี
2. จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 4,830 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95.19)
3. ข้อหาที่มีการกระทำความผิด
3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
จำนวน 5,504 คน (สัญชาติไทย 5,197 คน / สัญชาติอื่น 307 คน)
3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
จำนวน 40 คน (สัญชาติไทย 35 คน / สัญชาติอื่น 5 คน)
3.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
จำนวน 1 คน (สัญชาติไทย 1 คน / สัญชาติอื่น – คน)
4. จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา
4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 334 คน
อันดับ 2 จังหวัด ปทุมธานี จำนวน 303 คน
อันดับ 3 จังหวัด ภูเก็ต จำนวน 255 คน
4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน 19 คน
อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน 11 คน
อันดับ 3 จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน 3 คน
4.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
อันดับ 1 จังหวัด นราธิวาส จำนวน 1 คน
อันดับ 2 – ไม่มี –
อันดับ 3 – ไม่มี –

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว
1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 322 คำร้อง
2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม
2.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
จำนวน 326 คน (สัญชาติไทย 315 คน / สัญชาติอื่น 11 คน)
2.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
จำนวน 3 คน (สัญชาติไทย 3 คน / สัญชาติอื่น – คน)
3. ผลการตรวจสอบการจับ จำนวน 331 คน
3.1) ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 329 คน
3.2) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 2 คน

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยผู้ฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน นั้น แม้ว่าศาลจะคำนึงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยสาธารณะในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ศาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะกักขังในเคหะสถานโดยติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อกำกับและติดตามความประพฤติตามคำสั่งศาล ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลผู้ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาล หรือ “ศูนย์ EM” ได้มีการจัดเวรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ช่วงเวลากลางคืนทำการตรวจสอบผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และได้ตรวจสอบพบว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 9 เมษายน 2563 เวลา 22.00 – 4.00 น. มีผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวเกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวนทั้งสิ้น 143 คนซึ่งหากพบว่ามีกรณีที่น่าจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล ต้องเรียกมาไต่สวน จึงอยากย้ำเตือนให้เคารพกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันในการช่วยลดเชื้อเพื่อหยุดโรค

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ