อธิบดีปศุสัตว์มึน…บริษัทเรย์ลินกา มั่วนิ่มนำเข้าม้าลายกว่า300ตัว ผ่านกรมปศุสัตว์ อ้างเอกสารตรวจโรคแล้ว ยืนยันสัตว์ป่านำเข้า นำผ่าน ส่งออก
กรมปศุสัตว์ไม่มีอำนาจใดๆทางกฏหมาย จนเกิดโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า ทำให้ รมว.เกษตรฯต้องเซ็นอุดช่องโหว่ ออกกฏกระทรวงคุมม้าลาย อยู่ในพรบ.โรคระบาดสัตว์
ห้ามเคลื่อนย้ายทั่วประเทศ ให้อำนาจกรมปศุสัตว์คุมโรคทุกขั้นตอน
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยกรณีมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าตรวจสอบม้าลาย นำเข้าจากแอฟริกา กว่า300ตัว ของบริษัทเรย์ลินกา จำกัด โดยทางบริษัทระบุว่า มีเอกสารผ่านการตรวจโรคจากกรมปศุสัตว์แล้วนั้น ว่ายืนยันไม่มีการตรวจโรคจากกรมปศุสัตว์ การกล่าวอ้างไม่จริงเพราะก่อนหน้านี้ ม้าลายไม่ได้อยู่ในอำนาจตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์2558 ดังนั้นจึงไม่เป็นความจริง ที่อ้างว่ากรมปศุสัตว์ ไปตรวจโรคให้ หลังจากมีใบผ่านประเทศต้นทาง ซึ่งที่ผ่านมามีการนำเข้ามาสัตว์ป่ามาอย่างต่อเนื่อง แต่กรมปศุสัตว์ไม่มีอำนาจใดๆเลยในการตรวจสอบ มีเพียงจำนวนสัตว์ป่านำเข้า แจ้งให้กับกรมปศุสัตว์ เพื่อทราบเท่านั้น
ทั้งนี้จากที่มีสถานการณ์โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้ม้าป่วยตายจำนวนมากมาต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8เม.ย.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯได้ลงนามออกประกาศกฏกระทรวงเกษตรฯกำหนดให้ม้าลาย และรวมถึงสัตว์ ในวงศ์อีไควดี เป็นสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา34(4)แห่งพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ทำให้กรมปศุสัตว์ มีอำนาจในการตรวจสอบการนำเข้า นำผ่าน ส่งออกทุกขั้นตอนอย่างละเอียดตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์
“ต้องขอทำความเข้าใจ ให้ถูกต้อง การนำเข้าสัตว์ นำผ่านราชอาณจักร ส่งออก ที่ไม่ได้อยู่ในพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ 2558 จะไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ เพราะไม่มีกฏหมายให้อำนาจกรมปศุสัตว์ ซี่งก่อนหน้า วันที่8เม.ย.ได้ประชุมทุกภาคส่วน รวมทั้งฝ่ายทหาร มีความกังวลในการนำเข้าสัตว์ป่า ว่าเมื่อนำเข้ามาแล้วไปอยู่ที่ไหนบ้าง ยังพบการซื้อขายในอินเทอร์เน็ต ทำให้ทุกคนในที่ประชุมเห็นด้วยที่ต้องกำหนดให้ม้าลาย มาอยู่ใน พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ และได้เสนอ รมว.เกษตร อาศัยอำนาจประกาศกฏกระทรวงเกษตรฯซึ่งรมว.เกษตรฯได้ลงนามในวันเดียวกันทันที” นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ภายใต้พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ทั้งนี้ก่อนวันที่ 8เมษายน 63 ม้าลาย ไม่เป็นสัตว์ที่ กำหนดตามพระราชบัญญัติโรคระบาด สัตว์ พ.ศ.2558 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการควบคุมนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร รวมถึงการกักสัตว์ ตรวจโรคหลังการนำเข้า และการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ ภายในประเทศด้วยเช่นกัน
ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน เป็นต้นไป ม้าลาย ได้เป็นสัตว์ที่กำหนดตามประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 หากมีผู้ประสงค์จะนำเข้าม้าลายเข้ามายังราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง การขออนุญาต การออกใบอนุญาต วิธีการนำเข้า ส่งออก หรือนำ ผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. 2558โดยมีขั้นตอนการขออนุญาตนาเข้า ดังต่อไปนี้
1.)ขั้นตอนการเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ ขั้นตอนการเปิดตลาดประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย
1.ประเทศผู้ส่งออกแจ้งขอเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์มายังประเทศไทย
2.จัดส่งแบบสอบถามให้ประเทศคู่ค้า
3.คณะกรรมการประเมินความเสี่ยงความปลอดภัย พิจารณาแบบสอบถามตามที่รัฐบาลผู้ส่งออก
ให้ข้อมูล
4.จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจประเมินแหล่งผลิตเพื่อประเมินระบบการควบคุมโรค
5.ผู้ตรวจประเมินรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการฯ
6.คณะกรรมการฯ พิจารณาข้อมูลและร่างเงื่อนไขการนาเข้า 7.พิจารณาร่างใบรับรองสุขภาพสัตว์(AnimalHealthCertificate)จากรฐับาลประเทศผู้ส่งออก
8.รัฐบาลประเทศผู้ส่งออกจัดส่งตัวอย่างลายเซ็นร่างรูปแบบใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Animal Health
Certificate) พร้อมตราประทับ
9.รับรองให้ส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย
2)พิธีการก่อนการนำเข้า
1.ผู้ประสงค์ขอนำเข้า แจ้งความประสงค์ขอนาเข้าสัตว์ โดยขอผ่านระบบ e-movement
2.ด่านกักกันสัตว์ท่าเข้า ตรวจสอบภาวะโรคระบาดสัตว์ของประเทศต้นทางตามรายงานของ องค์การสุขภาพสัตว์โรค (OIE) หากประเทศต้นทางไม่มีการระบาดของโรคที่กาหนดในเงื่อนไขการนำเข้า ด่านฯออกใบแจ้งอนุญาตนาเข้า (Import notification) พร้อมแนบเงื่อนไขการนำเข้า โดยเงื่อนไขการนำเข้า ประเทศผู้ส่งออกต้องปลอดจากโรคระบาดสัตว์ตามเงื่อนไขที่กำหนด กักกันสัตว์ 30 วันก่อนการส่งออก ใน ระหว่างการกักสัตว์ต้องตรวจโรคระบาดสัตว์ตามเงื่อนไขการนำเข้า แต่กรณีประเทศต้นทางมีการระบาด ของโรคระบาดสัตว์ที่สาคัญ หรือ มีประกาศชะลอการนำเข้าสัตว์ ด่านกักกันสัตว์จะไม่อนุญาตให้นำเข้า
3)พิธีการ ณ ด่านท่าเข้า ด่านกักกันสัตว์ตรวจสอบดังต่อไปนี้
ตรวจสอบใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Animal Health Certificate) จากรัฐบาลประเทศผู้ส่งออก และ
เอกสารประกอบอื่นๆ หากเอกสารครบถ้วนเป็นไปตามเงื่อนไขการนาเข้า ด่านฯ ออกใบอนุญาตนำเข้า และออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายภายในประเทศ แต่กรณีหากเอกสารไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า หรือสัตว์ แสดงอาการป่วย ด่านฯ จะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ทำลาย หรือวิธีอื่นที่สัตวแพทย์ เห็นสมควร
4)มาตรการหลังการนำเข้า
1.ด่านกักกันสัตว์ท่าเข้า ออกบันทึกสั่งกักสัตว์/ซากสัตว์ เก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
2.สั่งกักสัตว์เพื่อดูอาการ 30 วัน รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.หากครบกำหนดกักสัตว์ มีสุขภาพดี และผลตรวจทางห้องปฎิบัติการเป็น ลบ ด่านฯ ถอนบันทึกสั่งกัก 4.หากในระหว่างการกักสัตว์มีอาการผิดปกติ หรือผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นบวก ให้ด่านฯ
ดำเนินการตามกฎหมาย เช่น ทำลาย หรือดำเนินการอื่นๆ ตามที่สัตวแพทย์เห็นสมควร
ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีขั้นตอนการขออนุญาตนำเข้า การดำเนินการควบคุมการนำเข้าสัตว์ หรือ ซากสัตว์ ภายใต้พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ของกรมปศุสัตว์ เป็นไปอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันและ ควบคุมโรคระบาด หรือสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือเป็นพาหะของโรคระบาด เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ อนามัยของคนและสัตว์จากการสัมผัสเชื้อโรคระบาดหรือการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง เคลื่อนย้าย หรือ วิธีการใดเพื่อการนำเข้ามาในประเทศ และประเทศผู้ส่งออก นอกจากนี้ สัตว์ หรือซากสัตว์ที่กำหนดตาม ภายใต้ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 หากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์เจ้าของสัตว์ต้องดาเนินการขออนุญาต เคลื่อนย้ายสัตว์ ณ สานักงานปศุสัตว์ท้องที่ แต่อย่างไรก็ตามหากมีการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาใน ราชอาณาจักร รวมถึงการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนตาม กฎหมายของกรมปศุสัตว์ อาจก่อให้เกิดโรคระบาดในสัตว์ หรือจากสัตว์สู่คน เกิดการแพร่ระบาดโรคเป็นวง กว้าง และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขอนามัยของประชาชนและสัตว์ เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ ด้านการปศุสัตว์เป็นวงกว้างและจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
การดำเนินการ
1.ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ชะลอการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซาก สัตว์ประเภทม้า ลา ล่อ และอูฐ พ.ศ. 2563
2.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่น ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563