“ประภัตร” สั่งห้ามเคลื่อนย้ายม้า -ม้าลาย สัตว์กีบเดียว 90 วันทั่วประเทศ ระดมทุกภาคส่วน หยุดยั้งโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า
ด้านเจ้าของฟาร์มม้า ยื่นข้อเรีกยร้อง ห้ามนำเข้าม้าลาย สัตว์ป่าจากแอฟริกา จำกัดต้นตอโรค ชี้ไทยมีชื่อเสียงแย่เป็นฮับค้าสัตว์ป่า
เมื่อวันที่ 8 เม.ย.63 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวในที่ประชุมว่าได้เรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กรณีเกิดโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า ทำให้ม้าตายจำนวนมาก เพื่อมาร่วมกันกำหนดมาตรการหยุดยั้งโรคโดยเร็วที่สุด ในวันนี้มาพูดกันว่าจะหยุดโรคนี้ให้ได้เร็วที่สุดอย่างไร ซึ่งตนจะประสานให้ทั้งสองกระทรวง ทั้งกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงทรัพย์ฯต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อคุมโรคให้อยู่ รวมทั้งผู้ประกอบการ ร่วมทำงานในมาตรการดูแลทั้งหมด อย่าโยนภาครัฐอย่างเดียวและไม่ใช่เวลานั่งเถียงกัน
ทั้งนี้ภายหลังการประชุม นายประภัตร กล่าวว่าได้ข้อสรุปรวมกัน4ข้อ คือต้องหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค โดยห้ามมีการเคลื่อนย้ายม้า และม้าลาย โดยมีคำสั่งงด เคลื่อนย้าย เป็นเวลา 90วันทั่วประเทศ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อระงับโรค ให้ได้ผลฉับพลัน มีคำสั่งให้รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมลงพื้นที่กับกรมอุทยานฯ เจ้าของฟาร์มม้า เร่งเจาะเลือดม้า ตามที่เจ้าของม้าต้องการจะให้เจาะกี่ตัว โดยจะประชุมคณะทำงานวันศุกร์(10เม.ย.)นี้เวลา10.00น.ที่กรมปศุสัตว์ รวมทั้งตั้งคณะทำงาน4ฝ่าย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจิงต้นตอการเกิดโรค เพราะเพิ่งเกิดในไทยครั้งแรก และสัตว์ใดเป็นพาหะ เกิดโรคจากสัตว์อะไรก่อน มาจากไหน จึงมาเกิดโรคในม้า ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายพอใจร่วมมือทำงานกันทำงาน นอกจากนี้ในส่วนมาตรการชดเชย ยังไม่มีการพูดถึง ต้องหยุดโรคให้ได้ก่อน
ต่อจากนั้น รศ.นพ.นพดล สโรบล เจ้าของฟาร์มหมอปอ ,นายอุเทน ชาติภิญโญ เจ้าของคอกม้าอรวรรณ และหุ้นส่วนรัตนะภรณ์ รศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ อดีตคณบดีคณะประมง ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้กับรมช.เกษตรฯ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ระบุว่า 1.ผลักดันให้โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า อยู่ใน พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ เพื่อให้ปศุสัตว์มีอำนาจเต็มที่ 2.ให้ออกคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายม้า 3.ห้ามนำเข้าม้าลาย สัตว์ป่า 4.เพื่อให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบในเรื่องนี้ให้ชัดเจน
รศ.ดร.เชษฐพงษ์ กล่าวว่าต้นตอเชื้อโรคไวรัส กาฬโรคแอฟริกาในม้า มาจากทวีปแอฟริกา และปัญหามาจากม้าลาย นำเข้าไทยซึ่งม้าลายเป็นพาหนะ สามารถกำจัดเชื้อในตัวเอง ได้ภายใน40วัน โดยมีแมลงดูดเลือด ตัวริ้น เหลือบ ยุง แมลงวัน ไปกัดม้าลายเป็นตัวแพร่เชื้อมาติด ม้า ลา ล่อ ซึ่งเชื้อนี้ไม่ติดสัตว์อื่น แต่สิ่งสำคัญที่อยากรู้ต้นตอมาจากไหน ใครนำเข้า ที่ใช้ช่องโหวตของพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ เพราะม้าลายไม่ได้อยู่ในบัญชีในพ.ร.บ.ดังกล่าว ทำให้ ม้าลายที่ขายกันอยู่กว่า9สายพันธุ์ ไม่อยู่ในไซเตรท เมื่อขนย้ายมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ จะสามารถเคลื่อนไปไหนก็ได้เหมือน หมา แมว ทั่วไป
รศ.นพ.นพดล กล่าวว่าที่ฟาร์มตนเอง นำเข้าม้าสวยงาม ไม่ใช่ม้าแข่ง ราคาตัวละ4-8แสนบาท ตอนนี้ตายไป20ตัว จากทั้งหมด 50ตัว โรคได้ลามไปถึงหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา เพราะมีการเคลื่อนย้ายม้าเป็นโรคไป อยากให้หน่วยราชการรีบหาต้นตอม้าเหล่านี้ อยู่ที่ไหน
“หน่วยงานรัฐต้องตรวจสอบอย่างละเอียดย้อนหลังในระยะ เดือนธ.ค.62 เดือนม.ค. ก.พ.มีการนำเข้าม้าลายกี่ต้ว เอาไปไว้ที่ไหนยังมีการกระจายส่งต่อไปประเทศจีน น่าสังเกตุว่า สวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ ได้นำเข้ายีราฟมาสองตัว หลุดตกน้ำตายไป1ตัว อีกตัวนำไปจ.ปราจีนบุรี เจาะเลือดพบว่ามีโรคนี้ แต่เป็นข่าววงใน ไม่มีการเผยแพร่แต่อย่างใด นอกจากนี้ช่วงเดือนก.พ.มีการนำเข้าม้าลาย ขายไปที่หัวหิน ตัวละ6-7แสนบาท และมีข่าวที่ออกมา ด้วยว่านำเข้าม้าลายฝูงนี้ เพื่อส่งไปจีน แต่ผลเลือดเป็นบวก จึงส่งไปจีนไม่ได้ ดังนั้นคณะทำงาน4ฝ่าย ต้องร่วมกันตรวจสอบระยะเวลา4เดือนที่ผ่านมา มีการนำเข้าม้าลาย จากที่ไหน ทุกตัวมีบันทึกไว้หมด และ ยีราฟ ที่ตกน้ำตายปลายเดือนม.ค.จากคนบางคนใช้ช่องโหวตนำเข้า ลามไปถึงการค้าสัตวป่าของไทยมีชื่อเสียงไม่ดี มาตลอด เป็นฮับการค้าสัตว์ป่า วันนี้มาพบ รมช.ประภัตร มีความพึงพอใจ เพราะท่านฟันธง ผิดคือผิด ถูกคือถูก ท่านจึงได้ตั้งคณะทำงาน4ฝ่าย พวกเราต้องขอขอบคุณมาก เพื่อสาวไปให้ถึงต้นตอและจะรวมตัวกันฟ้องร้องทางกฏหมาย ร้องเรียน สู้ถึงที่สุดคนผิดต้องรับผิดชอบ ในขณะนี้ไม่มีใครปฏิเสธว่าเชื้อมาจากม้าลาย ทั้งนี้ไม่ทราบว่าเกี่ยวพันกับฟาร์มของนักการเมืองดัง หรือไม่” รศ.นพ.นพดล กล่าว
ด้านนายอุเทน กล่าวว่ากำลังให้ทนายรวบรวมความเสียหายทั้งหมด ที่เกิดกับม้าแข่งของตนเองและหุ้นส่วนรัตนะภรณ์ ตายไป21ตัว มีพ่อพันธุ์ม้าราคาหลายล้านบาทตายด้วย ทำให้เสียหายกว่า50ล้านบาท จากทั้งหมด150-160ตัว เพื่อฟ้องร้องกรมอุทยานฯเพราะเป็นหน่วยงานที่อนุญาตให้นำเข้าสัตว์ป่ามาจากแอฟริกา ซึ่งไม่ใช่มีแต่ม้าลาย เท่านั้นยัง มีกวาง และสัตว์อื่นๆ
ตัวแทนกรมปศุสัตว์ ระบุว่าโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ไม่เคยเกิดในไทยมาก่อน พบการระบาดวิทยาของโรคในแถบทวีปแอฟริกา เกิดโรคในสัตว์ตระกูลม้า ลา ล่อ อูฐ ความรุนแรงของโรคเมื่อเกิดในม้า อัตราป่วยตายสูง 70-80 กรมปศุสัตว์ ได้รับแจ้งม้าตายเมื่อวันที่26มี.ค.โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ สั่งการด่วนให้ชุดสอบสวนโรคเข้าพื้นที่ทันที พบว่ามีการโรคเกิดเริ่มมาตั้งแต่วันที่24ก.พ.ที่ฟาร์มฮอร์แอนดิแลนด์ ฟาร์มแรนโชว์ ฟาร์มไพบูลย์ชัย ฟาร์มอารียา ฟาร์มโบนันซ่า และหน่วยเกษตรกรรมปากช่อง ได้เกิดโรคมาเกือบๆเดือน กรมปศุสัตว์ ถึงจะทราบเรื่อง เกิดจากแมลงดูดเลือด การเคลื่อนย้ายม้า ออกจากจุดเกิดโรค เช่น พบโรค จ.ชัยภูมิ ส่งผลตรวจเลือด สถาบันสุขภาพสัตว์ ยืนยันโรคกาฬโรคแอฟริกา ได้ภายใน2วัน
มาตรการเฝ้าระวังโรค ดำเนินการเจาะเลือดหาเชื้อ ซึ่งไม่มียารักษา ต้องประคับประคองตามอาการ เพราะเมื่อเป็นโรคนี้ตายอย่างเดียว ได้แนะนำผู้ประกอบการให้หยุดการเคลื่อยย้าย ทำความสะอาด การเข้าออก หน้าฟาร์ม ในคอก กำจัดตัว ริ้น เหลือบ ยุง จำกัดแหล่งเพาะพันธ์ุ หมั่นเฝ้าระวังอาการม้า ไข้สูง ซึม ไม่กินหญ้า อาหาร ตาแดง บวม
มาตรการคุมโรค ได้บูรณาการกรมอุทยานฯ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ผู้ประกอบการต้องหยุด การเคลื่อนย้าย ในภาพรวมตอนนี้ มีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับการใช้วัคซีน ควบคุมโรค ทางกรมปศุสัตว์ เร่งหารือผู้เชี่ยวชาญ ทุกฝ่ายและองค์กรอนามัยโลก(โอไออี ) ซึ่งวัคซีนต้องนำเข้า เป็นวัคซีนเชื้อเป็น ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการ กำลังหาข้อสรุป ลงรายละเอียดทุกด้านเพราะการใช้วัคซีน มีทั้งข้อดีข้อเสีย