“อธิบดีกรมชลฯ” ห่วงปีหน้า น่ากลัววิกฤติแล้งทั่วประเทศ เร่งส่งหนังสือถึงมท.ผู้ว่าฯช่วยคุมน้ำไม่หายกลางทาง หยุดสถานีสูบน้ำเพื่อเกษตร แนวแม่น้ำน่าน กำแพงเพชร พิษณุโลก หวั่นกระทบปลายน้ำระบบนิเวศ น้ำเค็มดัน ระบบประปาพัง
เผยกรมอุตุฯคาดฝนมาปลายเดือนก.ค.ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ60 ชี้ปี63 แล้งรุนแรงรั้งอันดับ2 เร่งเปิดศูนย์แก้วิกฤติแล้ง ปล่อยคาราวานเครื่องมือเครื่องจักรกล รถน้ำกว่า1.8พันรายการช่วย43จว.ช่วยชาวบ้านขาดน้ำยับยั้งภัยพิบัติ
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.62 ที่ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะน้ำ กรมชลประทาน นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยสำนักงานชลประทาน17สำนักทั่วประเทศ เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งปี2562/63 พร้อมปล่อยขบวนคาราวานเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ รถขนน้ำ กว่า1.8พันรายการ ส่งไปช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 43จังหวัด ในเป้าหมายเบื้องต้นตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)คาดการณ์ไว้ และ13จังหวัด ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ.ได้มีประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง
นายทองเปลว กล่าวว่าตั้งศูนย์นี้จะสามารถทำงานได้เร่งด่วน กระชับรวดเร็วในการแก้ไขยับยั้งปัญหาความเดือดร้อนประชาชน และประสานกับพื้นที่โดยตรงกับศูนย์นี้ แจ้งเตือนได้แบบเรียลไทม์ ทั่วประเทศ ทำให้ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือ ขอบริการหรือให้นำน้ำไปช่วยในท้องที่ได้ โดยมีรถส่งน้ำไปให้ถึงบ้านเรือน พร้อมกับเปิดสายด่วน1640 ประชาชนแจ้งขอรับการช่วยเหลือได้ตลอด24ชม. เป็นการป้องกันวิกฤติภัยแล้งไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ลดความเดือดร้อนประชาชนให้น้อยที่สุด โดยแม้ในช่วงปีใหม่จะไม่หยุดปฏิบัติหน้า ให้มุกฝ่ายปฏิบัติงานทุกพื้นที่ มั่นใจว่าเมื่อตั้งศูนย์นี้ตามคำบัญชาท่านนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรฯมีความห่วงใยประชาชน จะทำให้ทำงานครอบคลุมทุกหน่วยงานน้ำ และบริหารจัดการผ่านไปได้ แม้ปริมาณน้ำต้นทุนปีนี้ใกล้เคียงปี58ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงมาก
“ในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าเป็นภัยแล้งที่รุนแรงในรอบ60ปี เป็นอันดับสอง รองจากปี2522 และปีนี้รุนแรงกว่าปี58 ที่กลายเป็นอันดับสามไปแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีศูนย์นี้ เพื่อกระชับการใช้น้ำ กระชับพื้นที่ ให้ผ่านวิกฤติไปจนถึงเดือนก.ค.63 ทั้งนี้ในแผนการใช้น้ำฤดูแล้งทั่วประเทศ ปี62/63 ปัจจุบัน ระหว่าง1พ.ย.62-30เม.ย.63 เป็นน้ำใช้การได้ 17,699ล้านลบ.ม. ปัจจุบันจัดสรรน้ำไปแล้ว4,927ล้านลบ.ม.โดยใน4เขื่อนใหญ่ ณ วันที่26ธ.ค.62 มีน้ำใช้การได้4,491ล้านลบ.ม.ใช้ไปแล้ว1,044ล้านลบ.ม. เท่ากับเกินแผนไป200ล้านลบ.ม.หรือ4% ส่วนที่เกินเนื่องจากมีการระบายน้ำจาก4เขื่อนหลักจากแผนวันละ18ล้านลบ.ม. เป็น25.50ล้านลบ.ม. ระหว่างวันที่23ธ.ค.ถึงวันที่5ม.ค.เพื่อรักษาระบบนิเวศตลอดลำน้ำ ตั้งแต่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จนถึงอ่าวไทย เนื่องจากต้องการรักษาระดับน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ไม่ให้ต่ำกว่า 13.2 ม.รทก.เพราะในการปล่อยน้ำตามแผนพบว่ามีน้ำหายไปจากระบบตั้งแต่กำแพงเพชร ลงมาจนถึง เขื่อนเจ้าพระยา หากระดับน้ำหน้าเขื่อนต่ำกว่า13.2ม.รทก.จะเป็นผลทำให้มีปัญหาต่อหารดันน้ำเข้าระบบคลองสาขาทั้งฝั่งซ้าย ขวา ของลำน้ำเจ้าพระยา จะกระทบระบบนิเวศทุกคลอง ตลิ่งพัง กระทบระบบประปา จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อน รวมไปถึงการผลักดันน้ำเค็มที่สถานสูบน้ำประปาสำแล จ.ปทุมธานี ที่ยังน่าห่วงเรื่องความเค็มไม่เข้าระบบประปา ที่บางช่วงน้ำทะเลหนุนสูงต้องคุมค่าความเค็ม โดยได้เสริมจากลุ่มน้ำแม่กลองมาช่วยลุ่มเจ้าพระยา ผ่านคลองพระยาบรรลือ มาลำเลียงดันน้ำเค็ม รักษานิเวศ เพิ่มจาก800ล้านลบ.ม.เป็น2พันล้านลบ.ม.ด้วย ”อธิบดีกรมชลฯกล่าว
ทั้งนี้ได้มีหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทย ประสานท้องถิ่นในการเข้มงวดสถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ น่าน ปิง เจ้าพระยา ไม่ให้สูบน้ำเพราะกระทบกับน้ำปลายทางมาไม่ถึง กระทบนิเวศทั้งหมด ไม่มีน้ำนอนคลอง ส่วนสถานีสูบน้ำประปาของนครหลวง และภูมิภาค อยู่ในแผนการใช้น้ำของกรมชลประทาน ดังนั้นต้องขอความร่วมมือเกษตรกร งดปลูกพืชใช้น้ำมาก หยุดทำนาปรัง
ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวฤดูแล้งแม้ไม่มีแผนส่งน้ำการเกษตร ปัจจุบันลุ่มเจ้าพระยา ปลูกแล้ว 1.3ล้านไร่ ส่วนทั่วประเทศ 2 ล้านไร่ เกษตรกรพร้อมจะเสี่ยงเอง ซึ่งจะไม่ส่งน้ำให้เพราะได้ประกาศเตือนล้วงหน้าไปแล้ว อีกทั้งปริมาณน้ำจัดสรรไว้กินใช้ รักษานิเวศ ดันน้ำเค็ม และสำรองไว้ก่อนถึงฤดูฝน 2.2พันล้านลบ.ม.เพราะกรมอุตุฯคาดการณ์ว่าปี63จะแล้งตั้งแต่เดือนม.ค.ถึง พ.ค. ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย5-10% และฤดูฝนมาล่าไป1หนึ่งสัปดาห์ ต่อจากนั้นมีฝนทิ้งช่วง ถึง เดือนก.ค. คาดว่าเข้าฝนปลายเดือนก.ค. อีกทั้งปริมาณฝนทั้งปีต่ำกว่สเฉลี่ย3-5% ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำที่จะเหลือในเขื่อน ณ สิ้นฤดูแล้ง ประกอบกับคาดการณ์ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้สถานการณ์แล้งรุนแรงมากกว่าขณะนี้และแล้งยาวต่อเนื่อง จึงจำเป็นเข้มงวดต่อการบริหารจัดการน้ำ ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้ชี้แจงเกษตรกร โดยเฉพาะที่อยู่แนวแม่น้ำ ไม่ให้ดึงน้ำไปใช้ จะกระทบปลายน้ำ และทั้งระบบ อย่างไรก็ตามในปี58 มีมาตรการเข้มงวดแบะประสบความสำเร็จเพราะมีทหารมาช่วยดูแลที่สถานีต่างๆ แต่ปีนี้ได้แต่ขอความร่วมมือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทำงานไม่ได้หลับนอน และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำ ให้นำเข้าระบบออนไลน์ ทำให้เห็นว่าจุดไหนใช้น้ำเกินแผน สำหรับแผนที่เป็นห่วง เขื่อนอุบลรัตน์ ได้นำน้ำก้นเขื่อนมาใช้แล้ว29ล้านลบ.ม.คาดว่าตลอดฤดูแล้งจะใช้300ล้านลบ.ม.
นายทองเปลว กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ได้ปลูกพืชฤดูแล้ง กรมได้จัดงบ3.1พันล้านบาท จ้างเป็นแรงงานในโครงกรมชลฯ ในปี63 แบ่งเป็นภาคเหนือ581ล้านบาท อีสาน995ล้านบาท ภาคกลาง 794ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งตำแหน่งและจำนวนงานทั้งหมด ให้สำนักงานชลประทาน แสดงไว้ในสำนักงานในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนแสดงความจำนงค์ ย้ำว่าต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และจ่ายโอนเข้าบัญชีเกษตรกร
“ศูนย์นี้รวบรวมทุกหน่วยงานต้องนำข้อมูลข้อเท็จจริง เรื่องสถานการณ์น้ำ ให้ถึงประชาชนทั่วประเทศ ไม่เกิดความตระหนก ให้ตระหนักถึงการใช้น้ำ กรมอุตุฯรายงานว่าในรอบ60ปีกับปีนี้มีฝนน้อยลำดับที่สองรองจากปี2522 ทั้งปีนี้ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย16% และในปี58เขื่อนที่มีน้ำใช้การน้อยกว่า30%มี17แห่ง ปี61มี5แห่ง ปี62 มี13 แห่ง ดังนั้น ผลจากคาดการณ์ต่อไป กรมอุตนิยม คาดอีก7เดือนฝนต่ำกว่าเฉลี่ย และ ผลการส่งน้ำ ใช้นำมากกว่าแผน แนวโน้อย่างนี้ความรุนแรงเกิดขึ้นกระจายทั่วทุกภาค นายกฯ รมว.เกษตรฯห่วงใย ให้ทุกกรมในกระทรวงเกษตรฯทำงานเชิงบูรณาการป้องกันปัญหาภัยแล้งโดยเร่งด่วน ไม่ให้ประชาชนเกิดการขาดแคลนน้ำ ตอนนี้ขอความร่วมมือช่วยกันอย่าให้น้ำหายไประหว่างทาง ทำหนังสือมหาดไทย ผู้ว่าฯ เป็นหน่วยงานหลัก ควบคุมไปตำบล หมู่บ้าน ไปตามลำดับ ซึ่งช่วงจ.กำแพงเพชร แม่น้ำน่าน พิษณุโลก ขอร้องสถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร อย่าสูบ หากไปใช้น้ำเกินแผน กระทุกระบบ ไปกระทบปีหน้าน่ากลัวมากเรื่องขาดแคลนน้ำ”นายทองเปลว กล่าว