“เฉลิมชัย” จ่อยกเลิกสัญญาขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำแม่กวง แม่งัด จ.เชียงใหม่ หลังตรวจพบช้ากว่าแผนถึง 58% สั่งกรมชลฯตั้งคก.ติดตามเร่งรัดงานทุกระยะ เตือนอย่าให้เสียหายกับประชาชนและเงินหลวง พร้อมแก้วิกฤติแล้งลุ่มเจ้าพระยา วางเป้าผันน้ำภาคตะวันตกมาช่วย2พันล้านลบ.ม.

“เฉลิมชัย” จ่อยกเลิกสัญญาขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำแม่กวง แม่งัด จ.เชียงใหม่ หลังตรวจพบช้ากว่าแผนถึง 58%

สั่งกรมชลฯตั้งคก.ติดตามเร่งรัดงานทุกระยะ เตือนอย่าให้เสียหายกับประชาชนและเงินหลวง พร้อมแก้วิกฤติแล้งลุ่มเจ้าพระยา วางเป้าผันน้ำภาคตะวันตกมาช่วย2พันล้านลบ.ม.

 

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.62 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่ติดตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ ได้เดินตรวจในจุดก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำและประตูระบายน้ำแม่ตะมาน กั้นลำน้ำแม่แตง พร้อมกับประชุมซักถาม กรมชลประทาน บริษัทผู้รับเหมาอย่างละเอียดถึงปัญหาความล่าช้าและสั่งมาตรการแนวทางแก้ไขทั้งระบบ ว่าสั่งการให้กรมชลประทาน และเอกชน เร่งรัดการก่อสร้างทั้งระบบทุกสัญญา 4สัญญา วงเงิน1.5หมื่นล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในอายุสัญญาปี2564 โดยทางฝ่ายนโยบายได้ช่วยประสานงานในเรื่องอนุญาตให้ใช้พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติศรีล้านนา เพราะหากโครงการนี้สำเร็จ จะช่วยปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยในจ.เชียงใหม่ และลำพูน โดยโครงการนี้จะรับน้ำจากลำน้ำแม่แตง ไปเติมเขื่อนแม่กวงฯได้ปีละประมาณ160ล้านลบ.ม. ทั้งนี้ได้กำชับให้เร่งรัดโครงการทุกระยะเพื่อให้ได้ตามแผนงาน

 

โดยปัจจุบันให้ตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดทุกโครงการของกรมชลฯให้เสร็จตามสัญญา จะได้หารือกับผู้รับเหมาเพื่อให้เร่งทำงาน ซึ่งกรรมการมีหน้าที่คอยกระตุ้นตลอด ไม่เช่นนั้นก็จะเสียหายต่อประชาชนและเงินหลวง แต่ด้วยระบบบวิธีงบประมาณ ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะเวลาสัญญา จะไปยกเลิกบริษัทยังไม่ได้ จะทำให้โดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย แต่ถ้าบริษัทใดทำไม่เสร็จตามสัญญา พร้อมยกเลิกทุกบริษัท อย่างที่หาดใหญ่ ตนเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการเกษตรฯเห็นผิดสัญญา ไปสั่งยกเลิกเลย และสั่งให้กรมชลฯเข้าไปดำเนินต่อให้แล้วเสร็จ จากนี้จะมีอีกหลายโครงการที่ต้องยกเลิก

“กังวลในส่วนอุโมงค์ส่งน้ำสองฝั่งที่ยังไม่เชื่อมกันจากความล่าช้า ซึ่งกรมชลฯชี้แจงว่าเหตุล่าช้าของการเจาะอุโมงค์สองช่วง จากธรณีวิทยา และสภาพดิน บางช่วงจุดเจาะไปเจอถ้ำทำให้เครื่องหัวเจาะทำงานไม่ได้ ต้องมีการปรับหัวเจาะ บางวันแผนการเจาะได้5เมตร ก็จะเหลือ2-3เมตรต่อวัน ดังนั้นเหลือ2ปี จากนี้จะต้องเร่งรัด และรายงานมาถึงตนให้ทราบทุกระยะ หากติดปัญหาอะไร ผมจะสั่งเร่งแก้ไขทันทีเพิ่มกำลังคน เครื่องมือ เพราะงานนี้ต้องให้เสร็จทันสิ้นสุด สัญญาปี64 ถ้าบริษัทใดผิดสัญญาผมไม่เอาไว้ ยกเลิกแน่นอน ไม่ได้ขู่จะทำจริงเพราะยิ่งล่าช้า ประชาชนจะเสียโอกาสในการแก้ไขความเดือดร้อน และการใช้งบประมาณแผ่นดินต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทุกพื้นที่”นายเฉลิมชัย กล่าว

 

ทั้งนี้ในส่วนการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน ท่ออุโมงค์ส่งน้ำลงเขื่อนแม่งัด คืบหน้าแล้ว 50% ช่วยชะลอน้ำลงแม่น้ำปิง ท่อส่งน้ำลงเขื่อนแม่งัด ส่งไปเขื่อนแม่กวง อีกทอด ระยะแรก13กม.คืบหน้าไปมาก ปลายปี64น่าจะเห็นผลสำเร็จ กรณีปีน้ำหลาก อุกทภัยจะช่วยชะลอ ลดท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ได้ ในส่วนท่ออุโมงค์ผ่านพื้นที่อุทยาน จะดำเนินการเร็วที่สุดทุกหน่วยงานรับบัญชาจากนายกรัฐมนตรี จะทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามโครงการนี้ในภาพรวมปัจจุบันก้าวหน้า42% โดยอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด เริ่มอายุสัญญา23มิ.ย.59-27พ.ค.64 และอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด แม่กวง เริ่มสัญญา 24มี.ค.58-18ส.ค.64 แบ่งการก่อสร้างเป็น2ช่วง4สัญญา รวมขุดเจาะอุโมงค์ยาว49กม.คือ สัญญาที่1 ยาว13.6กม.วงเงิน 2.8พันล้านบาท อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด ผู้รับจ้างโดยบริษัทไร้ททันเน็ลลิ่ง จำกัด ก่อสร้างแล้ว 51% เร็วกว่าแผน2.05% สัญญาที่2 อุโมงค์ยาว 12.2กม.วงเงิน2.1พันล้านบาท ผู้รับจ้างคือบริษัทสยามพันธุ์วัฒนา จำกัด(มหาชน)ดำเนินการแล้ว18% ล่าช้ากว่าแผน64% ในส่วนอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง สัญญาที่1 อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง ผู้รับจ้างคือบริษัทอิตาเลียนไทยดิเวล๊อปเมนต์ ยาว12.5กม.วงเงิน 2.3พันล้านบาท ก้าวหน้า23%ล่าช้า48% สัญญาที่2 บมจ.ยูนิคเอนจิเนียริ่ง อุโมงค์ยาว 10.4กม.วงเงิน1.8พันล้านบาท ก้าวหน้า79%ล่าช้ากว่าแผน29% เริ่มสัญญา28เม.ย.58-22ก.ย.62โดยโครงการทำอุโมงค์ผันน้ำจากลำน้ำแม่แตง 26ลบ.ม.ต่อวินาที นี้เป็นการรองรับการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในอนาคต 173ล้านลบ.ม.ต่อปี ใน20ปีข้างหน้า จะมีการขยายตัวเขตเมือง เศรษฐกิจ ท่องเที่ยว 2จังหวัด

 

นอกจากนี้รมว.เกษตรฯกล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ด้วยว่าได้บูรณาการทุกหน่วยงาน ช่วยเหลือประชาชนได้ทุกพื้นที่ ซึ่งสั่งกรมชลฯผันน้ำจากภาคตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ ลุ่มน้ำแม่กลอง มีน้ำมาก จะผันน้ำไปช่วย ลุ่มเจ้าพระยา จากแผนวางไว้800ล้านลบ.ม.เพิ่มเป็น2พันล้านลบ.ม.

“ยืนยันว่าการบริหารจัดการที่ดี แม้น้ำต้นทุนน้อยจะผ่านไปได้ โดยจะต้องมีน้ำเพียงพอในการอุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศ และปรับเปลี่ยนทำเกษตร บางพื้นที่มาปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย บูรณาการทั้งหมด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงไปทำบ่อบาดาล ติดตั้งแผงโซลาเซล และสั่งกรมชลฯเดินหน้าโครงการผันน้ำลำน้ำยวม มาเติมน้ำเขื่อนภูมิพล ผันน้ำจากภาคตะวันตก มามากขึ้น ซึ่ง กรมชลฯนำเสนอแผนมาแล้ว ส่วนทำนาปรัง ได้ประกาศห้ามมาแต่ต้นฤดูแล้ง และที่ปลูกไปแล้วน้ำไม่พอ รับความเสี่ยงเสียหายได้”นายเฉลิมชัย กล่าว

 

 

 

 

 

You May Have Missed!

0 Minutes
กิจกรรมเพื่อสังคม
 ภารกิจส่งมอบผ้าห่มเพื่อผู้ประสบอุทกภัย 
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
ครบรอบวันสถาปนากรมประมง ปีที่ 98 มุ่งส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรภาคการประมง ตอบโจทย์นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านความมั่นคงด้านอาหารและการผลักดันการเป็นครัวโลก
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์ ชลประทาน ชาวบ้าน
กรมชลประทานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การศึกษาปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง ป่าสักใต้ และคลองเพรียว-เสาไห้
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์การสวนสัตว์ฯ เปิดบ้านต้อนรับพันธมิตรทำกิจกรรมร่วมกับ “หมูเด้ง” ชวนช่วยผู้ประสบอุทกภัยและดูแลสวัสดิภาพเพื่อนสัตว์