อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ระบุ กรมป่าไม้ต้องดำเนินคดี “ปารีณา” ที่ครอบครองที่ดิน 682 ไร่ด้วย แม้ส.ป.ก. ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้วในปี 2554 แต่การยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าตั้งแต่ปี 2549-2553 ยังเป็นความผิดฐานบุกรุกที่ดินรัฐตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติและพ.ร.บ. ป่าไม้

อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ระบุ กรมป่าไม้ต้องดำเนินคดี “ปารีณา” ที่ครอบครองที่ดิน 682 ไร่ด้วย

แม้ส.ป.ก. ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้วในปี 2554 แต่การยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าตั้งแต่ปี 2549-2553 ยังเป็นความผิดฐานบุกรุกที่ดินรัฐตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติและพ.ร.บ. ป่าไม้

นายดำรงค์ พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้  เร่งจับกุมดำเนินคดีน.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ  ฐานบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำภาชีฝั่งซ้าย ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2553 ก่อนมีมีพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินบริเวณนั้นในปี 2554 จึงถือว่า เข้ายึดถือครองครองที่ดิน 682 ไร่เป็นพื้นที่ตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติและพ.ร.บ. ป่าไม้แน่นอนเพราะน.ส. ปารีณาแจ้งครอบครองพื้นที่ปี 2547 และแจ้งว่ามี ภ.บ.ท.5 ปี 2549 หากไม่ดำเนินคดีกรมป่าไม้ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากละเลยให้ น.ส. ปารีณาบุกรุกครอบครองป่าและเข้าไปปลูกสร้างเล้าไก่ระหว่างปี 2549-2553

นอกจากนี้ที่ดิน 682 ไร่ ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ระบุว่า “ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ” กรณีนี้กรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ ส.ป.ก. ในปี 2536 แต่จนถึงปัจจุบัน ส.ป.ก. ยังไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน ที่ผ่านกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติมีแนวปฏิบัติต่อประชาชนทุกคนเป็นมาตรฐานเดียวกัน หากพบการกระทำผิด เช่น การดำเนินคดีผู้บุกรุกที่ดินอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 14487/2558 ซึ่งแม้ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว แต่ส.ป.ก. ยังไม่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ศาลจึงเห็นพ้องตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลาน ดังนั้นกรณีของน.ส. ปารีณาต้องจับกุมดำเนินคดีตามาตรฐานเดียวกัน

“พรรคพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยมีเพียง 2 เสียง ไม่มีตำแหน่งและไม่มีอำนาจสั่งการใดๆทั้ งสิ้น สิ่งที่ทำได้ คือ ชี้แนะข้อกฎหมาย แต่กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นพรรคชาติไทยพัฒนาที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง” นายดำรงค์กล่าว

แหล่งข่าวจากส.ป.ก. ยังเปิดเผยถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2562 ซึ่งพิพากษาคดีบุกรุกที่ ส.ป.ก. ที่ ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งผู้ยื่นคำฟ้องคือ ตำรวจ ตั้งข้อกล่าวหา ส่งสำนวนให้อัยการสั่งฟ้องจำเลย 3 คน ฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) อัยการเขียนคำบรรยายฟ้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) 108 ทวิ และกฎหมายอาญามาตรา 83, 362 (บุกรุก) และ 365 (ลงรายละเอียดของการบุกรุก) แต่ไม่ได้เขียนถึงความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหาในประเด็นนี้

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) 108 ทวิซึ่งเป็นความผิดทางอาญาและผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 พิพากษาทั้งจำคุกและปรับ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) 108 ทวิ แต่ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362

โดยตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ระบุว่า ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า มีโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ (ฝ่าฝืนมาตรา 9 หลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96) นับตั้งแต่วันที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท ถ้าความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำแก่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดต่อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทำในเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จนกระทั่งถึงชั้นฎีกา จำเลยที่ 1 โต้แย้งประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าการกระทำตามฟ้อง “เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) 108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์ (จากเจ้าทุกข์โดยตรง คือ ส.ป.ก.) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 ดังนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้

ศาลเห็นว่า จำเลยเข้าไปบุกรุกยึดถือที่ดิน ส.ป.ก. อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรทำกิน แต่จำเลยก่อสร้าง แผ้วถาง ยึดถือครอบครองปลูกสร้างอาคารถาวร 3 หลัง ปลูกไม้ยืนต้นโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ส.ป.ก. ศาลฎีกาจึงเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลย ฟังไม่ขึ้น จึงให้คงลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นโทษทางอาญา ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

 

You May Have Missed!

1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ผนึกกำลัง KUST ประเทศจีน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนานาชาติ มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการความท้าทายด้านภัยพิบัติ/เหตุฉุกเฉิน