“ธรรมนัส ” จัดที่ดินทำกิน เดินหน้าเร่งรัดโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ละเมาตอนบนและพื้นที่โดยรอบ หนุนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน แม่สอด จังหวัดตากอย่างยั่งยืน

“ธรรมนัส ” จัดที่ดินทำกิน เดินหน้าเร่งรัดโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ละเมาตอนบนและพื้นที่โดยรอบ

หนุนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน แม่สอด จังหวัดตากอย่างยั่งยืน

 

วันที่ 30 พ.ย. 62 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นในประธานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้กับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดตาก จำนวน 30 ราย พร้อมมอบแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน จำนวน 4 ราย และบัตรดินดี จำนวน 4 ราย ณ วัดไทยสามัคคี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดตาก (ส.ป.ก.ตาก) ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มีพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 410,527 ไร่ มีผลการจัดที่ดินให้เกษตรกร 27,355 ราย 34,490 แปลง เนื้อที่ 366,785 ไร่ ในพื้นที่ 9 อำเภอ 41 ตำบล คงเหลือเนื้อที่ดำเนินการจำนวน 11,667 ไร่ สำหรับอำเภอแม่สอดมีผลการจัดที่ดินให้เกษตรกรแล้ว 2,891 ราย 3,579 แปลง เนื้อที่ 50,730 ไร่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 ส.ป.ก.ตาก ได้ดำเนินการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 66 ราย 77 แปลง เนื้อที่ 1,064 ไร่ และดำเนินการมอบให้แก่เกษตรกรไปแล้วบางส่วน ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) แก่เกษตรกรในอำเภอแม่สอด จำนวน 30 ราย

ขณะเดียวกัน กรมพัฒนาที่ดินยังได้จัดทำโครงการบัตรดินดี (ID Din Dee) เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อให้เกษตรกรทราบถึงลักษณะดินของตนเองว่ามีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด และทราบปัญหาของดินในแปลงปลูกพืช พร้อมกับคำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน สำหรับสถานีพัฒนาที่ดินตาก ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลบัตรดินดีให้แก่เกษตรกร ในปีงบประมาณ 2562 เป้าหมายทั้งจังหวัด 2,250 ราย ประกอบด้วย อำเภอเมือง จำนวน 484 ราย อำเภอวังเจ้า จำนวน 102 ราย อำเภอบ้านตาก จำนวน 521 ราย อำเภอสามเงา จำนวน 488 ราย อำเภอพบพระ จำนวน 130 ราย อำเภออุ้มผาง จำนวน 29 ราย อำเภอท่าสองยาง จำนวน 3 ราย อำเภอแม่ระมาด จำนวน 44 ราย และอำเภอแม่สอด จำนวน 449 ราย ในพื้นที่ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด มีจำนวน 105 ราย และจะมอบบัตรดินดีให้เกษตรกร จำนวน 4 ราย

นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการทำการเกษตร ในพื้นที่ทำการเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งมักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยดำนเนินการขุดสระน้ำขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการบรรเทาสภาพปัญหาภัยแล้ง  การขาดแคลนน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 กรมพัฒนาที่ดิน โดยสถานีพัฒนาที่ดินตาก มีเป้าหมายดำเนินการจำนวน 133 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการจำนวน 6 อำเภอ ดังนี้ อำเภอเมือง จำนวน 66 บ่อ อำเภอวังเจ้า จำนวน 20 บ่อ อำเภอบ้านตาก จำนวน 3 บ่อ อำเภอสามเงา จำนวน 14 บ่อ อำเภอแม่ระมาด จำนวน 16 บ่อ และอำเภอแม่สอด จำนวน 14 บ่อ ในส่วนของตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จำนวน 8 บ่อ มีเกษตรกรรับมอบสระน้ำ จำนวน 4 ราย และในโอกาสนี้ รมช.ธรรมนัส ได้เดินทางต่อไปยังโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ละเมาตอนล่าง เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ละเมาตอนบน และพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ

“รัฐบาลมีความห่วงใยและต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งในเรื่องที่ดินทำกิน รวมไปถึงเรื่องการบริหารจัดการแหล่งน้ำ และการเตรียมการรับมือภัยแล้ง ซึ่งในฐานะที่ผมเป็นประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการร่วมกัน เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้นและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป” รมช.ธรรมนัส กล่าว

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ผนึกกำลัง KUST ประเทศจีน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนานาชาติ มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการความท้าทายด้านภัยพิบัติ/เหตุฉุกเฉิน