เฉลิมชัย “ฟันธง” สรุปแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด 22 พ.ย. นี้

เฉลิมชัย “ฟันธง” สรุปแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด 22 พ.ย. นี้

 

เฉลิมชัย “ฟันธง” สรุปแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด 22 พ.ย. นี้ มีทั้งมาตรการเร่งด่วนลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ในระยะยาวจะใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาผสมผสาน พร้อมกับหาสารชีวภัณฑ์มาใช้ทดแทน ด้านนักวิชาการเกษตรผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืชระบุ สารชีวภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ แต่ไม่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดวัชพืช ห่วงเกษตรกรที่ถูกหลอกให้ซื้อสารชีวภัณฑ์ที่ผสมพาราควอตและไกลโฟเซต ซึ่งลักลอบขายกันจำนวนมากจนเป็นเหตุให้ดีเอสไอจับได้หลายราย

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กำชับให้คณะทำงานพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดซึ่งมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานสรุปผลมาตรการต่างๆ ในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้  รองรับการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ขณะนี้คณะทำงานฯ รวบรวมและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนเพื่อวางมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะในระยะเร่งด่วนที่อาจจะต้องชดเชยเพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากสารอื่นแทนพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ระยะต่อไปจะส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการเกษตร  ส่วนระยะยาวคือ การหาสารชีวภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ทดแทนสารเคมี โดยกรมวิชาการเกษตรรายงานว่า ปัจจุบันสารชีวภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรมี 73 รายการ เป็นสารป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชเท่านั้น ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดวัชพืช

คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเร่งหาสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดวัชพืชซึ่งต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้ ยอมรับว่าการรับรองหรือขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดวัชพืชยังมีความล่าช้า  เนื่องจากมีขั้นตอนในการทดสอบประสิทธิภาพและความเป็นพิษตามหลักเกณฑ์ ซึ่งการจะเปิดให้ขึ้นทะเบียนได้ต้องแน่ใจว่า ไม่มีผลกระทบต่อพืชประธานหรือพืชหลักที่ปลูกในแปลง

 

นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า ได้กำชับกรมวิชาการเกษตรให้ป้องปรามและควบคุมไม่ให้มีการจำหน่ายสารชีวภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตลอดจนเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรไม่ให้หลงเชื่อเนื่องจากที่อ้างว่า ป้องกันกำจัดวัชพืชได้นั้น มีการผสมสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชลงไป มอบนโยบายให้กรมวิชาการเกษตรเปิดกว้างการขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ แต่ต้องทดสอบทางวิชาการแล้วว่า มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ด้านศาสตราจารย์รังสิต สุวรรณมรรคา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืชและวิทยาศาสตร์เกษตร ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวถึง กรณีที่ดีเอสไอจับกุมผู้ลักลอบขายสารป้องกันกำจัดวัชพืชโดยอ้างว่า เป็นสารชีวภัณฑ์ว่า เป็นห่วงเกษตรกรที่ถูกหลอกลวงเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีสารชีวภัณฑ์ใดที่มีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดวัชพืช แต่เมื่อมีกระแสต่อต้านการใช้สารเคมีจึงเป็นช่องว่างให้เกิดการหลอกลวง โดยนำพาราควอตหรือไกลโฟเซตผสมในสารที่แอบอ้าง

ศาตราจารย์รังสิตยืนยันว่า พาราควอตและไกลโฟเซตยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรในการใช้ป้องกันกำจัดวัชพืช ซึ่งคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ควรทบทวนมติ โดยกลับไปใช้มติเดิมที่ให้มีมาตรการจำกัดการใช้ อบรมให้เกษตรกรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัย แต่หากนายสุริยะยังดึงดันที่จะลงนามในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด เกษตรกรจำนวนมากเดือดร้อนจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นแน่นอนเพราะขณะนี้ยังไม่เห็นว่า ภาครัฐมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนอย่างไร อีกทั้งหากใช้สารเคมีชนิดอื่น แต่เกษตรกรใช้ไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ แก่ผู้บริโภคตามที่มีข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน