เกษตรฯ เดินหน้า ขับเคลื่อน จัดตั้ง สถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ หนุน พรบ. เกษตรกรรมยั่งยืน ต้านการนำสารเคมี มาแทน 3สารเคมีที่ถูกแบน

เกษตรฯ เดินหน้า ขับเคลื่อน จัดตั้ง สถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ หนุน พรบ. เกษตรกรรมยั่งยืน ต้านการนำสารเคมี มาแทน 3สารเคมีที่ถูกแบน

วิงวอนนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและทดลอง เสนอข้อมูลเพื่อพิจารณาขึ้นทางเลือกให้เกสรรกรไทย

 

วันที่ 11 พ ย 62 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว. เกษตรฯ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนับแนวนโยบายเกษตรอินทรีย์ และ เกษตรกรรมยั่งยืน นาย เฉลิมชับ ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ ได้สั่งการ ให้มีการดำเนินการ จัดตั้ง สถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ขึ้น โดยหน่วยงานดังกล่าว จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ทั้งระบบ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ ขณะเดียวกันยังมีการขับเคลื่อนในการเสนอร่างกฎหมาย พรบ. เกษตรกรรมยั่งยืน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของกฤษฎีกา โดยทิศทางเรื่องเกษตรกรยั่งยืน ในอนาคตถือเป็นทิศทางในการส่งเสริมการผลิตสินค้าด้านการเกษตรไทย ให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อการส่งออกรายใหญ่ ของโลก ต้องเน้นหนักเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อการส่งออกเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามขณะนี้ ประเทศไทย ส่งออก อาหารเป็นอันดับ 12 ของโลก แซง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาแล้ว การสร้างให้เราเป็นแหล่งอาหารของโลก และเป็นนแหล่งอาหารลปอดภัย ของโลกจึงเป็นนโยบายหลัก ซึ่งที่ผ่านมาจากที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติ แบนสารเคมี จึงเป็นโอกาสดีที่คงต้องใส่เกียร์ 5 หาทางเลือกสารมาทดแทน และไม่ควรเป็นสารเคมี เพราะเมื่อเรายกเลิกสารเคมี และจะเอาสารเคมีอีกมันก็ไม่ใช่วิสัย ของกระทรวงเกษตรฯที่ควรกระทำ เพียงแต่ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตร ยืนยันว่ามี แต่สารเคมี เท่านั้นที่จะเอามาแทนสารเคมีที่ถูกแบน และตนคิดว่า ไม่ใช่ทางเลือกที่ควรทำ เพราะกระทรวงเกษตรฯ อธิบายกับสังคมไม่ได้ จึงสั่งให้มีการทบทวน และต้องไปดูว่ามีสิ่งทดแทนอะไรบ้างเพื่อ เสนอเป็นทางเลือก ให้กับเกษรตกรที่จะต้องไม่เป็นสารเคมี

นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการแบน3 สารเคมี อย่างฉับพลัน ขณะนี้ยอมรับว่าค่อนข้างเป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากไม่เคยมีเรื่องการเตรียมพร้อมในสารใดทดแทนที่ชัดเจน โดยขณะนี้ มีการนำเสนอ เรื่องชีวภัณฑ์ ขึ้นมาเป็นอีกทางเลือกแต่ก็ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนและยังไม่ผ่านการทดสอบ และการรับรองอย่างเป็นทางการ จึงอยากให้ทางกลุ่มนักวิจัยที่มีทั้งหมด หากคิดค้นว่า มีสิ่งใดที่สามารถทดแทนสารเคมีที่ถูกแบน ไม่ว่าจะเป็น ชีวภัณฑ์ หรือสารทดแทนอื่น ขอให้ เสนอ มายังกระทรวงได้ทันที เพื่อพิจารณาส่งเสริมเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในอนาคต เมื่อกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าต้องการดูแลเรื่องสุขภาพเกษตรกร มาเป็นข้อเหตุผลก็ต้องทำจริง วันนี้การดำเนินการต้องชัดเจน ไม่ใช่เสนอทางเลือกโดยใช้สารเคมีตัวอื่นมาเป็นทางเลือกซึ่งก็ร้ายพอกัน กระทรวงเกษตรต้องรับผิดชอบเกษตรกร 30ล้านคนต้องมีเหตุผลที่ดีเช่นกันและ ต้องดูแลเกษตรกรให้ดีที่สุด ทั้งเรื่องต้นทุน และสารทางเลือกที่เป็นชีวภัณฑ์ ที่ไม่ใช่ เคมีให้ดีที่สุด

ส่วนที่ ยังติดขัดในอุปสรรคปัญหาที่ไม่สามารถ ขึ้นทะเบียนได้เป็นหน้าที่ของทางกรมวิชาการที่ต้องชี้แจง และเสนอมายังกระทรวงเกษตรเพื่อ แก้ปัญหาต่อไป ซึ่งกระทรวงพร้อมที่จะแก้ปัญหา ทุกกรณี โดยสารทดแทนทั้งหมดที่เป็นทางเลือกทุกชนิดที่จะนำมาทดแทนสารเคมี ที่ถูกแบนก่อนใช้จริงต้องผ่านการทดลอง ชัดเจนว่าปลอดภัย ก่อนขึ้นทะเบียน ให้เกษตรกรใช้จริง