กรมชลฯงดส่งน้ำทำนาปรัง ลุ่มเจ้าพระยา ด้านสสน.เตือนเขื่อนน้ำน้อยวิกฤต อุบลรัตน์ -0.41% จุฬาภรณ์ 10.28%

กรมชลฯงดส่งน้ำทำนาปรัง ลุ่มเจ้าพระยา ด้านสสน.เตือนเขื่อนน้ำน้อยวิกฤต อุบลรัตน์ -0.41% จุฬาภรณ์ 10.28%

 

เมื่อวันที่ 10 พ.ย.62 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง โดย จัดทำแผนการจัดสรรน้ำ จัดหาแหล่งน้ำสำรอง และวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำต้นทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนให้มากที่สุดนั้น ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย กรมชลประทาน ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปการแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ร่วมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำโดยทั่วกัน

โดยในพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ได้รายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอบางไทร ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือนพฤศจิกายน ให้รับทราบ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่หันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เช่นเดียวกันกับที่จ.อ่างทอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ โดยมีผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ได้รายงานถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบันในพื้นที่ การใช้น้ำเพื่อการเกษตร และการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกรมชลประทาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือไม่ทำนาต่อเนื่อง และนาปรังในฤดูแล้ง ปี 62/63 แต่ให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเน้นส่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ เป็นสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย จึงต้องขอความร่วมมือเกษตรกรปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง(ต่อเนื่อง) เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน และมีน้ำสำรองไว้ใช้จนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าอย่างเพียงพอ

ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ระบุสภาพน้ําในอางเก็บน้ําขนาดใหญและขนาดกลาง ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 50,267 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 66 (ปริมาตรน้ําใช้การได้ 26,346 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (61,158 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 80) น้อยกว่าปี2561 จํานวน 10,891 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯ 74.32 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ํา ระบาย จํานวน 91.18 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ําได้อีก 25,800 ล้าน ลบ.ม.
สภาพน้ําในอางเก็บน้ําขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 47,119 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66 (ปริมาตรน้ํา ใช้การได้23,583 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ เทียบกับปี2561 (57,550 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 81) น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 10,431 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯจํานวน 59.06 ลบ.ม ปริมาณน้ําระบาย จํานวน 75.05 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ําได้อีก 23,808 ล้าน ลบ.ม.

ส่วน4เขื่อนใหญ่ ลุ่มเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ5.8พันล้านลบ.ม.เป็นน้ำใช้การได้ 2พันล้านลบ.ม. หรือ22% เขื่อนสิริกิติ์ 5.2พันล้านลบ.ม.ใช้การได้2.4พันล้านลบ.ม.หรือ36% เขื่อนแควน้อย 490ล้านลบ.ม.ใช้การได้470ล้านลบ.ม.หรือ50% เขื่อนป่าสักฯ331ล้านลบ.ม.ใช้การได้328 ล้านลบ.ม.หรือ34% ระบายวันละ25ล้านลบ.ม. รวมทั้งหมด1.1หมื่นล้านลบ.ม. รวมน้ำใช้การได้5.2พันล้านลบ.ม.หรือ29%

ส่วนเขื่อนอุบรัตน์ เหลือน้ำก้นอ่าง 574ล้านลบ.ม.ปล่อยระบายวันละ6.5แสนลบ.ม.เพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เหลือน้ำ50ล้านลบ.ม.งดระบาย

ด้านสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ องค์กรมหาชน (สสน.)ระบุสถานการณ์น้ำที่มีเขื่อนน้ำน้อยวิกฤต มีปริมาณน้ำใช้การต่ำกว่าร้อยละ30 เช่น เขื่อนอุบลรัตน์-0.41% เขื่อนจุฬาภรณ์10.28 %

ส่วนเขื่อนน้ำมากวิกฤต เขื่อนสิรินธร(93.55%),เขื่อนศรีนครินทร์(87.61%),เขื่อนวชิราลงกรณ(86.44%)