รมว. เกษตรฯ สั่งคณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดประชุมด่วน เร่งกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรต่อเนื่อง

รมว. เกษตรฯ สั่งคณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิด

ประชุมด่วน เร่งกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรต่อเนื่อง

 

 

รมว. เกษตรฯ สั่งคณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดประชุมด่วน เร่งกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรต่อเนื่อง สั่งกรมวิชาการเกษตรสำรวจสต็อกสารเคมี ใช้เวลาที่เหลืออยู่ ก่อนแบน 3 สาร ผลักดันส่งออกเพื่อลดงบประมาณรัฐในการใช้ทำลายซึ่งตกลิตรละ 100,000 บาท

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะทำงานพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดได้ประชุมครั้งแรกในวันนี้ ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประธานคณะทำงาน มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาผลกระทบทุกด้านอย่างรอบคอบ ทั้งที่มีต่อเกษตรกร อุตสาหกรรมผลิตสินค้าเกษตรต่อเนื่อง และมาตรการสนับสนุนเกษตรกรที่ต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ตลอดจนการเตรียมเก็บสารเคมีทั้ง 3 ชนิดเพื่อทำลายตามหลักวิชาการให้มีความปลอดภัย

ทั้งนี้นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรมว. เกษตรฯ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯ รายงานว่า ที่ประชุมได้ให้เร่งศึกษาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิดได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพด และไม้ผล เมื่อไม่สามารถใช้พาราควอต-ไกลโฟเซตในการป้องกันกำจัดวัชพืช และคลอร์ไพริฟอสในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรกรรม ในเบื้องต้นเกษตรกรรายย่อยอาจต้องใช้แรงงานในการกำจัดวัชพืช ส่วนเกษตรกรที่รวมตัวเป็นแปลงใหญ่และสหกรณ์การเกษตรสามารถสนับสนุนให้ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้ จากนั้นเมื่อเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่ต้องเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรรายย่อยในการจัดรูปแปลงให้สามารถรองรับเครื่องจักรกลการเกษตรได้ สำหรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องของบประมาณมาช่วยเหลือ

นอกจากนี้ยังให้กรมวิชาการเกษตรสำรวจสต็อกสารเคมีทั้ง 3 ชนิดว่า ยังมีอยู่ในประเทศเท่าไร ในห้วงเวลาก่อนที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมในการยกเลิกจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม สามารถอนุญาตให้ส่งออกไปยังประเทศที่ยังใช้สารเหล่านี้อยู่ได้หรือไม่ เพื่อลดผลกระทบต่อผู้นำเข้าและผู้ค้า รวมถึงงบประมาณในการทำลายที่สูงถึงลิตรละ 100,000 บาท พร้อมกันนี้ให้เร่งศึกษาวิจัยสารชีวภัณฑ์ต่างๆ หากทดสอบประสิทธิภาพแล้ว ใช้ได้ผลจริง ให้เปิดกว้างในการขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร

นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า คณะทำงานฯ ยังจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมหาวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลสารตกค้างในสินค้าเกษตรที่นำเข้า เนื่องจากวัตถุดิบหลายอย่างไทยนำเข้าจากประเทศที่ยังใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดอยู่นั้น กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมมาตรการรองรับกรณีที่ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้อย่างไรบ้างโดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ด้วย ส่วนกระทรวงพาณิชย์นั้นจะช่วยดูแลไม่ให้ผู้ค้าฉวยโอกาสขึ้นราคาสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชชนิดอื่นที่เกษตรกรต้องใช้แทน รวมถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการป้องกันการโฆษณาหลอกลวงขายสารชีวภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือปลอมปนสารเคมี

“คณะทำงานฯ ของกระทรวงเกษตรฯ จะพิจารณาทุกมาตรการอย่างรอบคอบเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในสัปดาห์หน้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องนำข้อมูลมารายงานต่อที่ประชุม และกำหนดให้มาตรการต่างๆ ต้องเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 1 ธันวาคมซึ่งการยกเลิกสารเคมี 3 ชนิดจะมีผลบังคับใช้” นายเฉลิมชัยกล่าว

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน