พาณิชย์ จ.ปทุมธานี เตรียมโชว์นวัตกรรมอาหารต้นแบบ พร้อมยกระดับมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในงาน นวัตกรรมอาหารปทุมธานี “Pathum Thani Food Innopolis”

 

 

พาณิชย์ จ.ปทุมธานี เตรียมโชว์นวัตกรรมอาหารต้นแบบ พร้อมยกระดับมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ในงาน นวัตกรรมอาหารปทุมธานี Pathum Thani Food Innopolis”

 

 

จังหวัดปทุมธานี โดย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี เตรียมโชว์นวัตกรรมอาหารต้นแบบ พร้อมยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารของปทุมธานี สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผ่านการประกวดและคัดสรรผลิตภัณฑ์อาหารสร้างสรรค์นับ100 รายการ พร้อมโชว์ศักยภาพของผู้ประกอบการปทุมธานีในงาน “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” Pathum Thani Food Innopolis” ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2562  ณ สุขสยาม ชั้น G ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวในการแถลงข่าว “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรมทินิดี โฮเต็ล แอท บางกอก กอล์ฟคลับ อ.เมือง จ.ปทุมธานี ว่าจังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอันมากจากหัวเมืองเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่โดดเด่น สู่เมืองแห่งการค้า การลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาด และการตลาด ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาค พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการกระจายตัวของนิคมอุตสาหกรรมและโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่นำไปสู่การพัฒนาถนนหนทาง เกิดย่านอุตสาหกรรมใหม่ในเขตรังสิต มีศูนย์การค้า และสถาบันการศึกษาสำคัญเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย จังหวัดปทุมธานี ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบวิสัยทัศน์ของเมือง มุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านสังคมให้เป็นสังคมคุณภาพ

นโยบาย “Pathum Thani City of Innovation” และ “Pathum Thani Market ๔.๐” เป็นนโยบายที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี ที่จังหวัดปทุมธานีผลักดันและขับเคลื่อนการสร้างและพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม งานวิจัยและเทคโนโลยี ให้ตอบสนอง ความต้องของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่มีความต้องการอุปโภคและบริโภคสินค้าด้านนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้นตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน รวมถึงการตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุที่หันมาบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และหาซื้อได้สะดวกสบาย

จึงกล่าวได้ว่าการนำนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า จังหวัดปทุมธานี ให้ความสำคัญเพราะมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร และสถาบันต่างๆ ที่มีศักยภาพ ประกอบกับจังหวัดปทุมธานี เป็นศูนย์กลางเมืองตลาด เป็นตลาดที่มีคุณภาพ สินค้าหลากหลายในปริมาณมาก และมีจุดยุทธศาสตร์ที่มีพื้นที่ติดดอนเมือง และกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครก็เป็นศูนย์กลางของอาเซียน จังหวัดปทุมธานี จึงเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า (Hub) สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงศักยภาพในการเป็นเมืองนวัตกรรม และเมืองตลาด ๔.๐

จังหวัดปทุมธานี มีรายได้เป็นอันดับที่ ๖ ของประเทศ และสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ จังหวัดปทุมธานี ตั้งเป้าว่าจะมีรายได้ขึ้นเป็นอันดับที่ ๕ ของประเทศ ในขณะเดียวกันเราจะไม่ทิ้งคนไว้ข้างหลัง เราจะพัฒนาไปพร้อมกันในทุกๆ เรื่อง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อครอบครัว ขณะนี้เป็นอันดับที่ ๑๒ ของประเทศ แล้วนี่ก็คือเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานี

ด้าน นางชไมพร ขวัญทอง พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยถึงรายละเอียดของงาน “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” ว่าการจัดงาน “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ สุขสยาม ชั้น G ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพฯ นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพสินค้านวัตกรรมอาหารของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้นำผู้ประกอบการด้านอาหารชั้นแนวหน้าของจังหวัดกว่า ๖๐ คูหา มาร่วมโชว์ศักยภาพของนวัตกรรมอาหารผ่านการออกบูธจำหน่ายสินค้าต่างๆ

ทางจังหวัดยังได้ จัดทำโครงการประกวดผลงานนวัตกรรมอาหารปทุมธานี ๒๕๖๒ หรือ Pathum Thani Food Innopolis contest ๒๐๑๙ ซึ่งเป็นโครงการที่เชิญชวนให้เกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษาที่สนใจ ได้ร่วมส่งผลงานนวัตกรรมอาหารเข้าประกวด โดยกำหนดให้ผู้ส่งผลงานนำวัตถุดิบที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี มาพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดสู่กระบวนการผลิตเชิงธุรกิจได้ ซึ่งในการประกวดนั้น ผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้มีการนำเสนอผลงานทั้งประเภทอาหารแปรรูปคาว – หวาน และเครื่องดื่ม ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวัตถุดิบที่มีมากมายในจังหวัดปทุมธานี ที่ยังสามารถพัฒนาและต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้ด้วยนวัตกรรม ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในครั้งนี้ จะถูกนำมาจัดแสดงภายในงานนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ที่นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดปทุมธานีให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งในกลุ่มของผู้บริโภคชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวในไอคอนสยามแล้ว การจัดงานครั้งนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายการตลาดให้กับผู้ประกอบการของจังหวัดปทุมธานีด้วย และยังมีกิจกรรมการแสดงดนตรีจากศิลปินนักร้องชื่อดัง ที่มาร่วมสร้างสีสันในงานทุกวันด้วย อาทิ บี้ สุกฤษฎิ์, แพรว คณิตกุล, แกงส้ม เดอะสตาร์, เบลล์ เลลาณี และอาเมน เดอะสตาร์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการสาธิตประกอบอาหาร “นวัตกรรมอาหารว่าง” จาก เชฟจากัวร์ – ธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์, เชฟมังกร ดร.ภริ ที่จะมาสาธิตการนำวัตถุดิบที่ผลิตในจังหวัดปทุมธานีมาสร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารใหม่ๆ ที่น่าลิ้มลองอีกด้วย

ด้าน รองศาสตร์ตราจารย์ ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในคณะกรรมการการตัดสินการประกวดผลงานนวัตกรรมอาหารปทุมธานี เผยถึงแนวโน้มของนวัตกรรมอาหารไทย ในอนาคต ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการอาหารที่รับประทานได้สะดวก รวดเร็ว ขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับสุขภาพ (health conscious) และความปลอดภัย (food safety) ควบคู่กันไป
อาหารอนาคต อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ยังขาดองค์ความรู้ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องนี้แก่ผู้ประกอบการเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทราบถึงทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่รวมถึงผู้ผลิต และผู้ค้าปลีก มีแนวโน้มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสุขภาพ เพิ่มขึ้นในปี 2020 จะเน้นในเรื่องความเป็นธรรมชาติที่มากขึ้น, สุขภาพของผู้สู้อายุ, สิ่งที่ดีต่อลำไส้, ความสะดวกสบาย รวมถึงการใช้ระบบสืบย้อนกลับจะทำให้เสียหายน้อยลง

ในการประกวดผลงานนวัตกรรมอาหารปทุมธานี มีเกณฑ์การพิจารณาการตัดสิน การประกวดผลงานนวัตกรรมอาหารปทุมธานี หลักๆ ประกอบด้วย

  1. ความเป็นนวัตกรรม การแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ ซึ่งนำไปสู่การผลิตได้ ในทางการค้า ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจากเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาดและใช้หลักคิดทาง วิทยาศาสตร์ในการสร้างนวัตกรรม
  2. ความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มีการใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ (เช่น มีการวางแผนโครงการ มีการวางแผนการทดลอง มีแผนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แผนการประเมิน คุณภาพต่างๆ ประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ได้ตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบ)
  3. ความเป็นไปได้ทาง ธุรกิจและมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นไปได้ในเรื่องการผลิต การตลาด เทคโนโลยี ความปลอดภัยในการบริโภค อายุการเก็บรักษาเหมาะสมในเชิงพาณิชย์และกฎหมาย
  4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ ซึ่งนำไปสู่การผลิตได้ในทางการค้าได้จริง ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจากเดิมที่มีอยู่ในทองตลาดและใช้หลักคิดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสร้างนวัตกรรม
  5. การเลือกใช้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม มีความชัดเจน
  6. แนวคิดด้านความปลอดภัยของอาหาร คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีฉลากโภชนาการถูกต้อง มีการวางแผนหรืออยู่ระหว่างการคำนวณอายุการเก็บรักษาที่ถูกต้อง มีการออกแบบ ใช้เทคโนโลยีในการยืดอายุรักษาและ การเลือกระบบการ บรรจุและวัสดุบรรจุที่เหมาะสม (Package Design)
  7. โอกาสการต่อยอดธุรกิจ สามารถนำไปขยายผลในเชิงธุรกิจได้

เชิญชมผลงานที่ชนะการประกวด พร้อมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารหลากหลายของจังหวัดปทุมธานีได้ ในงาน “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” “Pathum Thani Food Innopolis” ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2562 ณ สุขสยาม ชั้น G ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน โทร. 02-567-0224

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ