“มนัญญา น้อมคารวะ คก.วัตถุอันตราย แบน3สาร มีผลทันที1ธ.ค.นี้ ขอบคุณมอบสิ่งที่ดีที่สุดกับคนไทย ลั่นเดินหน้าดูแลเยียวยาเกษตรกรได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม”
เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 62 น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังรับทราบมติยกเลิกการใช้3สาร ให้มีผลวันที่1ธ.ค.62ว่า ขอน้อมคารวะ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีมติตามความเห็นของ 3 กระทรวงให้แบน3สาร ขอขอบคุณที่มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคนไทย ซึ่งเรื่องนี้ไม่อยากให้พูดว่าเป็นชัยชนะของใคร มองว่าทุกฝ่ายเป็นคนไทยด้วย ต้องทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดกับประเทศไทยและปลอดภัยทุกกลุ่ม ทั้งเกษตรกร และผู้บริโภค
หลังจากนี้กระทรวงเกษตรฯจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ว่าต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร จะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาดูว่า ปุ๋ยอินทรีย สารชีวะภัณฑ์ ที่ปัจจุบันยังมีปัญหาการขึ้นทะเบียนไม่ได้ จะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฏหมายได้ รวมถึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเกษตรกร เช่นควรมีการเก็บตัวอย่าง พืชสมุนไพรไทย ที่มีฤทธิ์จำกัดศัตรูพืช ในแต่ละช่วงของพืชสมุนไพร ดูว่าช่วงไหนให้ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำมากำหนดเงื่อนเวลา มาตรฐานการผลิต มาตรฐานการใช้ได้ ซึ่งจะเป็นการเปิดกว้างให้เกษตรกร ได้มีทางเลือกใช้ทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้แม้จะไม่มีสาร3ตัว แต่ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร ได้อนุญาตให้นำเข้าตามกฏหมาย อยู่แล้วหลายร้อยชนิด ซึ่งเกษตรกรใช้อยู่กันเป็นประจำ
“ใครต้องการเสนอสิ่งที่ดีในการทำเกษตร มาหาพี่ได้ ให้มาร่วมมือกันทุกอย่างเพื่อให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ประเทศ พร้อมดูแลเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าชนิดพืชใด จะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปดูแลเกษตรกร เพื่อให้ตรงกับความต้องการ ส่งไปตรวจสอบความเป็นอยู่เกษตรกร ให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่เกษตรกรต้องการให้ช่วยเหลือ นอกจากนี้จะเปิดกว้างให้ขึ้นทะเบียน ปุ๋ยอินทรีย์ สารทดแทน สารชีวภาพ ยังมีหลายตัวให้มาขึ้นทะเบียน จากที่ไม่เคยผ่านการอนุญาตให้จดทะเบียน โดยจะมาหารือกันทำอย่างไรให้สูตรต่างๆถึงเกษตรกร สามารถนำไปทำเองใช้ได้แพร่หลายด้วย” น.ส.มนัญญา กล่าว
รมช.เกษตรฯกล่าวว่าถ้าถามความรุ้สึกวันนี้ ไม่เป็นชัยชนะฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ซึ่งจะให้บอกความรู้สึกบอกไม่ถูก จริงๆแล้วพี่เป็นคนของพี่น้องประชาชน จะดีใจ หรือเสียใจ คงไม่ได้ ถ้าถามว่ามาตรการเดินหน้าต่อไปคือดูแลผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด
“วันนี้พี่ชาดา ห่วงสถานการณ์ไม่ค่อยปกติ ได้เรียกตัวให้กลับบ้านจ.อุทัยธานี ท่านอยากดูแล” น.ส.มนัญญา กล่าว
รมช.เกษตรฯกล่าวอีกว่า วันนี้ประชุมครม. ไม่ได้ไปนั่งเฝ้าหน้าห้องประชุมคก.วัถตุอันตราย ซึ่งการต่อสู้ครั้งนี้ คงไม่ใช่ตัวเราคนเดียว มาจากพี่น้องประชาชนทุกคนทุกฝ่าย ใครๆก็อยากทานอาหารปลอดสารปลอดภัย ไม่ใช่ชัยชนะของใคร ขอบคุณทุกฝ่ายอีกครั้ง ทุกหน่วยงานร่วมกันสนับสนุนการแบนสาร
แหล่งข่าวในกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาในการขึ้นทะเบียนให้เกษตรกรมาเข้ารับอบรมการใช้สารเคมี ตามมาตรการจำกัดการใช้ มีเพียง4-5แสนคนเท่านั้น หากเทียบเคียงกับเกษตรกร ผู้ปลูกสวนยาง 1.4 ล้านราย มีพื้นที่ปลูกยาง 17ล้านไร่ ผู้ปลูกอ้อย 8แสนราย พื้นที่ปลูก8ล้านไร่ และเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง 1.8 ล้านไร่ ปลูกข้าวโพด 4ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน7ล้านไร่ แต่การที่มีเกษตรกรมาขอขึ้นทะเบียนอบรมใช้สาร เพียงเท่านี้ หมายถึงว่าเกษตรกรส่วนใหญ่กว่า30ล้านราย ไม่จำเป็นต้องใช้สาร3ตัวนี้ นอกจากนั้นในการใช้พาราควอต จำกัดหญ้า จะใช้เริ่มปลูกต้นยางในช่วงอายุต้นยาง 1-4ปีเท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่ใช่ เมื่อเปิดกรีดได้ และผู้ปลูกยางรายใหม่ ถ้าพิจารณาจากโครงการส่งเสริมของรัฐปลูกยางใหม่ ทดแทนสวนยางเก่า มีพื้นที่ปีละ4แสนไร่ ทำให้เห็นว่าปริมาณนำเข้าสารเคมีที่ผ่านมามากเกินกว่าจำนวนพืชไร่ พืชสวน ที่จะใช้สาร ที่มีความจำเป็นต้องใช้