เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่สะเอียบศึกษาหาทางออกแบบมีส่วนร่วม

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่สะเอียบศึกษาหาทางออกแบบมีส่วนร่วม

 

ที่ศาลาเอนกประสงค์วัดดอนชัย หมู่ที่ 1 บ้านดอนชัย ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่  เวลา14.00น.ของวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562 ดร.สมเกียรติ ประจำวงค์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางเข้าพื้นที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อรับฟังปัญหาหาทางออกแบบมีส่วนร่วมตามโครงการศึกษาหาทางออกแบบมีส่วนร่วม :กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลุ่มน้ำยมตอนบน วันนี้มี ดร.กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยนายกิติพัฒน์ กะวัง นายอำเภอสอง และหน่วยงานทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนชาวตำบลสะเอียบจำนวนกว่า400คน ได้ให้การต้อนรับ

วันนี้นายอำเภอสองได้กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานสภาพปัญหาภูมิประเทศของตำบลสะเอียบและปัญหาเรื่องน้ำ โดยเป็นปัญหาหลักของตำบลสะเอียบ และกล่าวรายงานสภาพปัญหาที่เกิดโครงการนี้ขึ้นมา โดยนายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านการสร้างเขื่อน จากภายใต้โครงการดังกล่าว ทางคณะได้รับฟังการบรรยายสรุปโดย รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ได้บรรยายความเป็นไปของโครงการ ตลอดถึงผลกระทบที่ทั้งภาครัฐและประชาชนต่างมีความหวาดระแวงต่อกัน ซึ่งความเป็นมาในอดีตที่ผ่านเกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยมายาวนานกว่า25ปี จนทำให้ประชาชนในพื้นที่หวาดระแวงต่อภาครัฐ นักวิชาการตลอดถึงหน่วยงานที่จะเข้ามาศึกษาวิจัยด้านต่างๆในพื้นที่ จนมีการต่อต้านอย่างมีความเหนียวแน่น ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยปัญหาที่ซ้ำซากของลุ่มน้ำยม

จนในที่สุดประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยกับมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เสนอให้ศึกษาหาทางร่วมกันถ้าหากจะมีการวิจัยและพัฒนาวิธีการในรูปแบบใหม่โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นชึ่งประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นด้วย  โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินการ ดังนี้

1.เพื่อพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรในลำน้ำสาขาย่อยอันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดียี่งขึ้นโดยประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
2.เพื่อลดผลกระทบจากการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครง การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
3.เพื่อให้ชุมชนสามารถร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาในพื้นที่กับภาครัฐให้ตรงตามความต้องการที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนและวัฒธรรม

 

14 แนวทาง การแก้ไขน้ำท่วมแทนการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
1.ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ รักษาป่าที่เหลืออยู่ ป้องกันการบุกรุกป่า
2.รักษาและพัฒนาป่าชุมชน
3.ปลูกต้นไม้เพิ่มในพื้นที่ป่า
4.ฟื้นฟูระบบเหมืองฝาย พัฒนาดักตะกอน สร้างฝายชะลอน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ
5.เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง
6.ทำแหล่งรับน้ำหลากไว้ทุกชุมชน
7.พัฒนาโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งแหล่งน้ำหนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งน้ำ
8.สนับสนุนการจัดการน้ำระดับครัวเรือนและระดับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน
9.พัฒนาระบบภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม
10.กระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น
11.ทบทวนนโยบายการส่งเสริม
12.ส่งเสริมระบบการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิสังคม
13.บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
14.ส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญออกกฎหมายลูก

 

โดยสรุปผลการศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของชุมชนตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จำนวน31จุด และคัดเลือกตามความต้องการเรียงระดับความสำคัญ ได้แก่ โครงการก่อสร้างอ่างแม่สะกึ๋น2(ขยาย)ความจุน้ำ12.5 ล้านลบม. พื้นที่รับประโยชน์5,000ไร่  พื้นที่บ้านดอนแก้ว หมู่ที่6ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยเป้า(ชป) ความจุน้ำ 2,200 ล้าน ลบม. พื้นที่รับผลประโยชน์ 1,000ไร่  ในเขตพื้นที่บ้านนาหลวง  หมู่ที่4ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่

จากการสำรวจศึกษาโครงการกักเก็บน้ำในลุ่มน้ำยมตอนบนก็มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของชุมชนตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่จำนวน 6จุด โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของชุมชนจังหวัดพะเยา จำนวน26จุด และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของชุมชนอำเภองาว จังหวัดลำปาง 8จุด  จากการใช้หลักการเข้าใจเข้าถึง ที่ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าถึงชุมชนแบบมีส่วนร่วม จึงส่งผลทำให้เกิดแนวความความคิดร่วมกัน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ชุมชนและลดผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คือประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวัฒธรรมประเพณีตามแนวทาง “ดิน”น้ำ”ป่า”คน และใช้กลไกประชารัฐ ทำให้ประชาชนเข้าใจในการกำหนดแนวทางกับทุกกลุ่ม เมื่อมีฉันทามติเห็นชอบให้จัดทำข้อตกลงร่วมกัน(MOU)แล้ว จึงเริ่มดำเนินการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการประชาชนเข้าใจอันเป็นการสร้างความเข้าใจให้บรรลุเป้าหมายเป็นอันดับแรก  จึงทำให้ลดการขัดแย้งระหว่าง ประชาชนกับภาครัฐอย่างเห็นได้ชัดเจน  การดำเนินการศึกษาวิจัยในชุมชนสำเร็จลุล่วงไปได้ ตามภายใต้  โครงการสะเอียบโมเดล

หลังจากที่เลขาธิการสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาตได้รับฟังการบรรยายและได้กล่าวชื่นชม ชุมชนชาวตำบลสะเอียบว่า  โครงการสะเอียบโมเดลนี้ จะต้องสำเร็จอย่างแน่นอนและที่ผ่านมาทางภาครัฐเอง ก็ยอมรับว่าจะต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อป้องกันน้ำหลากหรือภัยแล้ง แต่ปัจจุบันนี้เห็นว่าชาวตำบลสะเอียบที่ต่อสู้คัดค้านมาอย่างยาวนานนั้น คุ้มค่ากับการที่ต่อสู้มากว่า25ปี และรับปากว่าจะผลักดันโครงการทั้ง2โครงการนี้ ให้สำเร็จโดยเร็วอย่างแน่นอน

 

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา ผู้สื่อข่าวว้อยช์ เสียงประชาชน  ประจำจังหวัดแพร่  รายงาน

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ