คอบร้าโกลด์ 2025 ฝึกร่วม/ผสมยิ่งใหญ่ ทหาร30ประเทศร่วมฝึก 8,000นาย กระชับความสัมพันธ์ทางทหาร
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 พลเอก อุกฤษฏ์ บุญตานนท์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมกับ นาย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นประธานในการแถลงข่าวการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ 2025 พร้อมด้วย COL Kurtis A.Leffler JUSMAGTHAI พันเอก เคอร์ติส เอ เลฟเฟอร์ (Kurtis A. Leffler) ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (JUSMAGTHAI) , พลเรือตรี ชเนศร์ สิงหชาญ รองเจ้ากรมยุทธการทหาร (ทร.) และผู้แทนกองทัพสหรัฐอเมริกา และผู้แทนกองทัพมิตร ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ ณ ห้องรับรอง 11 กองบัญชาการกองทัพไทย ถนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
สำหรับการฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารขนาดใหญ่และมีประวัติยาวนานที่สุดของการฝึกหนึ่งใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประไทยเป็นประจำทุกปี โดยการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ 2025 ในปีนี้ เป็นครั้งที่ 44 โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สาธารณรัฐภาหลี และมาเลเซีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน และอินเดีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในการฝึกการควบคุมและบังคับบัญชา คือ ออสเตรเสีย สำหรับกลุ่มประเทศที่หมุนเวียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ประเทศในโครงการเสนาธิการผสม ส่วนเพิ่มนานานาชาติ หรือ MPAT (Multinational Planning Augmentation Team) จำนวน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ฟิจิ สหราชอาฌาจักร และบรูไน และประเทศที่เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team : COLT) จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว บราซิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน อิตาลี คูเวต ละติมอร์-เลสเต รวมทั้งสิ้น 30 ประเทศ จำนวนยอดผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวนกว่า 8,000นายๆ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดี ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ร่วมและผสม โดยการประยุกต์ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อฝึกการใช้ระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังผสมนานาชาติ โดย กำหนดการฝึกหลักระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 7มีนาคม พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย การฝึกที่สำคัญดังนี้
1. การฝึกการควบคุมและบังคับบัญชา สำหรับปีนี้เป็นวงรอบการฝึกฝ่ายเสนาธิการ (STAFFEX)ตามกระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารแบบนานาชาติ (MDMP-M) มุ่งเน้นการปฏิบัติการในทุกมิติ โดยการผนวกการด้านอวกาศ และไซเบอร์ เข้าร่วมกับการฝึกในมิติอื่น ๆ
2. โครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance: HCA) ได้แก่ โครงการ ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สำหรับโรงเรียนในพื้นที่การฝึก จำนวน ๕ พื้นที่ ,การฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ประกอบด้วย การฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ (HADR-TTX) ในหัวข้อบทบาททางทหารในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภายใต้กลไกลการตอบสนองในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ การฝึกสาธิต (HADR-Demo) ซึ่งเป็นการฝึกสาธิตแนวทางในการปฏิบัติเป็นสถานี ได้แก่ การค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย การแพทย์ฉุกเฉิน การส่งกลับสายแพทย์ สารเคมีรัวไหล และการดับเพลิง ของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการฝึกฯ
3.ฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise: FTX) ได้แก่ การฝึกแลกเปลี่ยนของกองทัพบก และกองทัพอากาศ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกยิงจรวดหลายลำกล้อง การฝึกโจมตีเป้าหมายทางทะเล การฝึกยิงอาวุธป้องกันภัยทางอากาศและอากาศยานไร้คนขับ การฝึกอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ขัดแย้ง และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง
การฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ 2025 นอกจากจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกในส่วนของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการความชำนาญ และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับกำลังพลของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ ในการปฏิบัติการร่วมและผสมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงานด้านการบรรเทาสาธาธารณภัยในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทหารไทย และทหารมิตรประเทศกับประชาชนในพื้นที่การฝึกฯ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตามิตรประเทศ และประชาคมโลกต่อไป