ศุภมาสฯ เน้นย้ำบทบาทวิทยาศาสตร์ และวิจัยและนวัตกรรม ช่วยไทยก้าวข้ามวิกฤติ สร้างอนาคตที่มั่นคง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

ศุภมาสฯ เน้นย้ำบทบาทวิทยาศาสตร์ และวิจัยและนวัตกรรม ช่วยไทยก้าวข้ามวิกฤติ สร้างอนาคตที่มั่นคง ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567


วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo)“ ครั้งที่ 19 ภายใต้แนวคิด “สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” พร้อมมอบโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ โดยมี รมว.อว. ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามความท้าทายในยุคปัจจุบัน การลงทุนในด้านนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากำลังคน สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน  การพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา  ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า วช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั่วประเทศ จัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) ครั้งที่ 19 ขึ้น ภายใต้แนวคิด “สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 983 ผลงาน ผ่านนิทรรศการและการประชุมสัมมนาหลากหลายหัวข้อ โดยมีไฮไลท์คือเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการมอบรางวัลให้แก่หน่วยงานและนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น พิธีเปิดงานจะจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานนี้เป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิจัยของไทย และเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการวิจัยในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน

มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 ถือเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมผลงานวิจัยและนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคม ภายในงาน มีผลงานมาจัดแสดงกว่า 983 ผลงาน อาทิ หุ่นยนตยางพาราระบบเคเบิ้ล ทุ่นลองติดตามมวลน้ำด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุและแอพพลิเคชัน ทำนายการเคลื่อนตัวของขยะ อัตลักษณ์สิ่งทอเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์ สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย, ผลิตภัณฑ์ยาอดยาบ้าชนิดเม็ด, พลิกฟื้นทุนวัฒนธรรมของเชียงราย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UNESCO, น้ำปลาแท้ลดโซเดียมและโพแทสเซียม 40%, ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปปไทด์จากหอยเชอรี่ สถาบันปัญญาภิวัฒน์, หัวเชื้อน้ำมันดีเซล ลดฝุ่น PM2.5, สะตอสะเด็ดน้ำ เป็นต้น

การจัดงานในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://researchexporegistration.com/ ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
“ทีเส็บ วีซ่า” ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์ไมซ์เหนือระดับ  พร้อมสิทธิประโยชน์-ประสบการณ์สุดพิเศษในไทย ผ่านบัตร “Thailand MICE Visa Prepaid Card” เพียงใบเดียว
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
กิ่งกาชาดอำเภอแม่สายตั้งโรงครัว เตรียมอาหารและน้ำดื่ม ให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม และเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือประชาชน
0 Minutes
สังคม
พบปะสังสรรค์ และพูดคุยหารือเรื่องข้อกฎหมาย 
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องคมนตรี มอบรางวัล THAILAND MORAL AWARDS 2023 เชิดชูเกียรติ สื่อ บุคคล ชุมชนและองค์กร ที่สร้างแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนของสังคม ย้ำเป็นก้าวสำคัญให้คนไทยตระหนักถึงการทำความดีว่าเป็นสิ่งที่ทำได้จริง และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้เป็นรูปธรรม