ไทยเทศตอบโจทย์ งานออกซิเจนริมชายหาดนราฯ ส่งเสริมท่องเที่ยวกระจายรายได้สู่ชุมชนระดับรากหญ้า
สำหรับการจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดราชการที่ติดต่อกัน 4 วัน แถมยังคาบเกี่ยวกับในช่วงวันเทศกาลฮารีรายอของชาวไทยมุสลิม หลังจากผ่านพ้นการละศีลอดเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม และเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชน คือ นายอัศวัน เมฆารัฐ ได้ถือโอกาส เข้ามาจัดงาน ออกซิเจนนราธิวาส ที่ริมชายหาดอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว( เขาตันหยง ) ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันลือชื่อแห่งหนึ่งของ จ.นราธิวาส โดยชาวบ้านมักเรียนชื่อติดปากว่า หาดอ่าวมะนาว ซึ่งตั้งอยู่ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ในช่วงระหว่างวันที่ 13 ถึง 17 เมษายน 2567 ที่ได้ลงทุนนำพ่อค้าแม่ขายจากพื้นที่ 4 ภาค มาเปิดบูธจำหน่ายอาหารทุกประเภททั้งคาว หวาน รวมทั้งเครื่องใช้สอยซึ่งเป็นสินค้าโอทอปที่มีชื่อเสียงมาจำหน่ายในราคาย่อมเยาถึง จำนวนกว่า 200 บูธ ที่ตั้งตระหง่านเรียงรายอยู่ริมชายหาดของอ่าวมะนาว
นอกจากนี้ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์ของงาน ที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในทุกปีจะมีอากาศร้อนอบอ้าว แถมยังถือว่าเป็นสีสันในการดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ด้วยการนำว่าวแฟนซีรูปทรงสัตว์ต่างๆ รวมไปถึงตัวการ์ตูนที่มีสีลวดลายฉูดฉาดชักขึ้นเต็มบริเวณริมชายหาด จนส่งผลทำให้ริมชายหาดอ่าวมะนาวกลายสภาพเป็นสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี หรือ สวรรค์ชั้นที่ 6 ที่ชาวนราธิวาสและนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย นับ10,000 คน ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ที่เป็นการตอบโจทย์ของภาคเอกชน ภายใต้การจัดงานออกซิเจนนราธิวาส ที่ได้ชื้อหาอาหารทุกประเภทมานั่งรับประทานริมชายหาด ได้ทั้งรสชาติอาหารที่กลมกล่อม อาหารตาจากว่าวแฟนซี และอากาศที่ร่มรื่นได้สูดออกซิเจนอันแสนบริสุทธิ์ควบคู่กันไปด้วย
ที่เห็นอย่างชัดเจนการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างชัดเจน และชาวบ้านได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนอ้าวของทุกๆปี ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้ คือ การเล่นว่าวตามพื้นถิ่นในทุกภาค ที่มีชาวบ้านยืนมุงและเลือกซื้อหาว่าวไทย ที่เต็นท์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมชายหาดของอ่าวมะนาว เมื่อเข้าไปในเต็นท์ได้พบกับ นายสัญญา เกตุรักษ์ ชาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และสมาชิกในครอบครัว กำลังช่วยกันจำหน่ายว่าวชนิดต่างๆให้กับลูกค้า และช่วยกันทำว่าว อาทิ ว่าวควาย ว่าวนก ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬาและอื่นๆ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ตัวละ 300 ถึง 6,000 บาท ใน 3 ขนาด คือ ว่าวขนาดเล็ก กลางและว่าวขนาดใหญ่
เมื่อสอบถามนายสัญญา จึงทราบว่าเขาได้ยึดอาชีพทำว่าวชนิดต่างๆจำหน่ายไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการจัดงานโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมของในทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจแบบครัวเรือนที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ที่ลงทุนแรกและฝีมือส่วนวัสดุไม้ไผ่ที่ใช้เป็นไม้ไผ่สีสุกที่มีเนื้อหยุ่นเหนียวไม่หักง่ายที่ปลูกในสวน ต้องมีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยไม้ไผ่ขนาดความยาว 10 เมตร สามารถทำว่าวได้มากถึง 5 ตัว
ซึ่งเราจะเห็นนายสัญญา และสมาชิกในครอบครัวช่วยกันผ่าไม้ไผ่สีสุก และใช้มีดเหลาไม้ไผ่เป็นส่วนต่างๆของว่าว คือ โครง ปีก หางและหัว เมื่อได้ตามต้องการใช้กระทรายทรายถูหรือขัดตกแต่งให้เรียบ และเมื่อพบว่าไม้ไผ่ส่วนไหนต้องการให้ตรงหรือโค้งเว้า ก็ใช้ไฟเป่าให้เกิดความร้อนแล้วใช้มือดัด เมื่อได้ตามความต้องการแล้วก็เริ่มประกอบแต่ละส่วนด้วยด้ายยีนส์ที่มีความเหนียว สามารถผูกชิ้นส่วนต่างๆได้ตามความต้องการ ซึ่งแต่ละจุดเมื่อประกอบแล้วต้องใช้กาวร้อนหยอดซ้ำ เพื่อให้แน่นตามความต้องการ หลังจากนั้นนำกระดาษฟาง หรือกระดาษสา หรือกระดาษแก้ว มาตัดประกอบขึ้นรูปแปะด้วยกาวตามว่าวที่เราประดิษฐ์ให้เสร็จทุกส่วน ซึ่งขั้นสุดท้ายคือการลงลวดลายสีสีนให้สวยงาม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของว่าวให้มีราคาที่สูงขึ้นตามความเหมาะสม ด้วยการนำลวดลายดอกไม้หรือลายกนกมาใช้กาวแปะลงตามส่วนต่างๆที่ต้องการ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำว่าว
โดยนายสัญญา ได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ ว่า ตนมีอาชีพทำว่าวภายในครัวเรือนมีตั้งแต่ราคา 500 ถึง 5,500 บาท ที่เป็นว่าวสวยงามราคาแพงหน่อยมีเพจชื่อสุดสาครว่าวไทย ซึ่งมีเบอร์โทรศัพท์อยู่ในเพจ ที่มีรายได้เข้าครอบครัว ที่ทำอยู่ประจำมี ว่าวความ ว่าวนกและว่าววงเดือน ส่วนว่าวอื่นๆไม่ค่อยรับทำเพราะทางภาคใต้เขาไม่นิยมเล่นกัน
ด้านนายอัศวัน เปิดเผยว่า การจัดงานในครั้งนี้คาดว่า มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมงานต่อวัน 1 หมื่นคน มีเงินสะพัดหลายล้านต่อวัน เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวในพื้นที่และต่างพื้นที่รวมทั้งชาวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยว ให้เป็นหนึ่งในปฏิทินการท่องเที่ยวของ จ.นราธิวาส
นราธิวาสข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ