ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต10 เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโรงพยาบาลศรีสะเกษ คนแก่พุ่ง-เด็กเกิดลด หนุนพ่อแม่มือใหม่เร่งมีบุตร หวั่นกระทบความมั่นคง

ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต10 เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโรงพยาบาลศรีสะเกษ

คนแก่พุ่ง-เด็กเกิดลด หนุนพ่อแม่มือใหม่เร่งมีบุตร หวั่นกระทบความมั่นคง

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องห้องตรวจสูติ-นรีเวช อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 2 โรงพยาบาลศรีสะเกษ น.พ. สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต10 เป็นประธานเปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยนายแพทย์ทนง วีระแสงพงษ์ สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผอ.โรงพยาบาลศรีสะเกษ คณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ร่วมให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมเปิดโครงการเป็นจำนวนมาก


น.พ.ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เนื่องจากประชากรวัยทำงานและเด็กกำลังมีสัดส่วนลดลงเพราะเด็กเกิดน้อยลงมาโดยตลอด ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา สาเหตุหลักมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และค่านิยมการมีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โรงพยาบาลมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตร โรงพยาบาลศรีสะเกษได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตร (Fertility clinic) ขึ้นโดยมีการให้บริการดังนี้ การให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตร การวางแผนครอบครัว ประเมินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การประเมินสาเหตุ สืบค้นเพื่อหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากเบื้องต้น การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ การกระตุ้นไข่และเหนี่ยวนำการตกไข่ และการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI : Intrauterine insemination)


นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เนื่องจากประชากรวัยทำงานและเด็กกำลังมีสัดส่วนลดลงเพราะเด็กเกิดน้อยลงมาโดยตลอด ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา สาเหตุหลักมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจและค่านิยมการมีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โรงพยาบาลมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตร โรงพยาบาลศรีสะเกษ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จัดตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตร (Fertility clinic) ขึ้นโดยมีการให้บริการ ดังนี้ การให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตร การวางแผนครอบครัว ประเมินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การประเมินสาเหตุ สืบค้นเพื่อหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากเบื้องต้น การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ การกระตุ้นไข่และเหนี่ยวนำการตกไข่ การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก (IUI : Intrauterine insemination) ทั้งนี้ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการแก้ไขปัญหา คาดว่า ในอีก 60 ปี ข้างหน้า ประชากรจาก 66 ล้านคน จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง คือ 33 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ โดยปัจจุบันทางคณะรัฐมนตรี ได้นำประเด็นนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมสร้างแรงจูงใจให้กับวัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุตั้งแต่ 20-35 ปี ในกลุ่มที่แต่งงานแล้วแต่มีบุตรยาก และต้องไปใช้บริการใน รพ.เอกชน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงได้เร่งดำเนินการนำเข้าระบบการรักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในต้นปีหน้า ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิ์รักษาหรือรับบริการได้ตามสิทธิ์ เบื้องต้นเราได้จัดสรรงบประมาณไว้ สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว และการฉีดอสุจิเข้าไปในมดลูก ปีแรกทั้งประเทศตั้งเป้าไว้ที่ 5,000 ราย ทั่วประเทศ ระยะยาวในอนาคตเราอยากเห็นอัตราการเกิด หรือที่เรียกว่า TFR จากปัจจุบัน อยู่ที่ 1.08 ให้ขยับขึ้นไปเป็น 1.50 ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ ในอีก 20-30 ปี ข้างหน้าอัตราการเกิดก็จะดีขึ้น

ข่าว/ภาพ …. บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ