อพท.น่าน ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดน่าน สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน และภาคีเครือข่าย จัดประชุมสัมมนาวิชาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเรือยาวไทย สู่สากล

อพท.น่าน ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดน่าน สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน และภาคีเครือข่าย

จัดประชุมสัมมนาวิชาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเรือยาวไทย สู่สากล

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาวิชาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเรือยาวไทย สู่สากล “The Riverside Culture Heritage ; Thailand, Laos and Cambodia Traditional Boat Racing Conference” โดยมี นายกฤชเพชร เพรชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวให้การต้อนรับ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดร.ชุมพล มุ สิกานนท์ รองผู้อำนวยการ อพท. วัฒนธรรม 7 จังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เครือข่ายสภาวัฒนธรรม ผู้แทนจากหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้แทนจากราชอาณาจักรกัมพูชา หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน

นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรักษาการแทนผู้ว่าราชการ จังหวัดน่าน กล่าวว่า เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่านไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทย คือ เป็นเรือที่ ขุดจากไม้ทั้งต้น หัวโอ้ (หัวโขนเรือ) จะเป็นรูปพญานาค และหางวัลย์ (ส่วนหางเรือ) จะเป็นหาง หงส์ เชื่อกันว่าพญานาคมีความศักดิ์สิทธิ์ ที่จะบันดาลให้ฝนฟ้า อุดมสมบูรณ์สามารถทำไร่นาได้ ตามฤดูกาล และมีครูภูมิปัญญา หรือที่เรียกกันว่า “สล่า” อยู่เป็นจำนวนมากที่ยังคงมีการ แกะสลักหัวเรือเพื่อนำมารับใช้งานประเพณีต่างๆ ตลอดจนส่งต่อวิถีวัฒนธรรมให้แก่รุ่นต่อไป

ด้าน นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ประธานในพิธี กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ ถือว่าเป็น โอกาสสำคัญ ที่จังหวัดน่าน ภาคีเครือข่ายวัฒนธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ จะได้มา ร่วมกันสร้างความร่วมมือให้เข็มแข็ง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุนทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา ด้านเรือแข่งระหว่างกัน ตลอดจนเป็นการยกระดับงานเทศกาลประเพณีของจังหวัดน่านสู่สากล ซึ่ง จะเป็นรากฐานในการพัฒนาให้เมืองน่านก้าวสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกต่อไป

การจัดงานประชุมในวันนี้ มีเครือข่ายวัฒนธรรมในประเทศไทย จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดชุมพร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดหนองคาย จังหวัด สกลนคร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดน่าน และเครือข่ายในระดับอาเซียน จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ ผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ผู้แทนจากราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการหรือองค์ความรู้ ภูมิปัญญาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิต ริมน้ำและประเพณีการแข่งเรือประจำถิ่น เพื่อให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ภูมิปัญญาระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป

 

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น