การประชุมร่วมนาซา – ม.เกษตรศาสตร์ ผ่านฉลุยส่งเพย์โหลดผลึกเหลวติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ

การประชุมร่วมนาซา – ม.เกษตรศาสตร์ ผ่านฉลุยส่งเพย์โหลดผลึกเหลวติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00 น. นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และคณะ ได้เข้าร่วมหารือกับ Executive Director ขององค์การ NASA ประกอบด้วย Dr.Robyn Gatens, International Space Station Program Director, Ms. Diane Malarik, Biological and Physical Science Division Director (Acting), Mr. Gilbert Kirkham, Office of International and Interagency Relations Director ที่ NASA Headquarters ณ  กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องการส่งเพย์โหลดของโครงการ Thailand Liquid Crystals in Space (TLC) ขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ  โดยมี รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการ เป็นผู้รายงานความก้าวหน้าของโครงการ

การหารือครั้งนี้ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในเรื่องงบประมาณและกำหนดการของการส่งเพย์โหลดของโครงการ Thailand Liquid Crystals in Space (TLC) ขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ สำหรับโครงการ Thailand Liquid Crystals in Space เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนหลักจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)  ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือขององค์การ NASA มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และสถาบันการศึกษาอีกหลายสถาบัน โดยเป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และองค์การ NASA ในการร่วมกันศึกษาผลึกเหลว หรือ Liquid Crystals บนสถานีอวกาศนานาชาติ

รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม หัวหน้าโครงการ กล่าวถึงความคืบหน้าในการสร้างเพย์โหลดนี้ว่า ลุล่วงไปกว่า 30 % แล้ว และสามารถทดสอบมมุติฐานของการทดลองจุดบกพร่องในผลึกเหลวภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้แล้ว  โดยการทดสอบนี้จะช่วยในกระบวนการผลิตหน้าจอแอลซีดีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีอวกาศและบนพื้นโลก

สำหรับบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NASA) ในการศึกษาผลึกเหลว หรือ Liquid Crystal ในอวกาศ เป็น MOU แรกที่ NASA ลงนามร่วมกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยทำหน้าที่เป็นผู้สร้างและทดสอบ set อุปกรณ์การทดลองที่จะถูกส่งขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS) และ NASA เป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่ง set อุปกรณ์นี้ขึ้นไปบน ISS เพื่อให้นักบินอวกาศของ NASA เป็นผู้ทำการทดลองภายใต้การควบคุมการทดลองโดยทีมนักวิจัยจากประเทศไทย โดยมี รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าทีม ผู้ร่วมวิจัยในทีมประกอบด้วย ผศ.ดร.อภิชาติ พัฒนโภครัตนา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล จาก GISTDA โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเป็นผู้รับผิดชอบ scientific part ของการทดลองนี้ และ GISTDA จะเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างและทดสอบ set อุปกรณ์ โดยจะมีทีม engineer จาก NASA เป็นผู้กำกับดูแลร่วมกับทีมวิศวกรไทยในการสร้างอุปกรณ์ทั้งหมด ซึ่งการทดลองนี้จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะได้สร้างอุปกรณ์ขนาดใหญ่เพื่อให้นักบินอวกาศเป็นผู้ทดสอบและทดลองในอวกาศ

 

ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / หัวหน้างานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

You May Have Missed!

1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ผนึกกำลัง KUST ประเทศจีน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนานาชาติ มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการความท้าทายด้านภัยพิบัติ/เหตุฉุกเฉิน