สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน อย่างต่อเนื่อง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน อย่างต่อเนื่อง

ภายใต้การอำนวยการของ นายชิดชนก สุขมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ผอ สคฟ./อช.ขุนสถาน/สฟป.ศรีน่าน/บูรณาการร่วมกับอบต.ปิงหลวง/กำนัน/(ครอบคลุมทั้งตำบล)เจ้าหน้าที่สถานีฯ ในพื้นที่จังหวัดน่าน ออกประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน โดยประสานผู้นำชุมชน ขอความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้าใจ ขอให้ราษฎรงดเว้นการเผาทุกกรณีเพื่อลดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเป็นตำบล-หมู่บ้านเสี่ยงสูง โดยมีผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้าน ลงพื้นที่ปฏิบัติการออกประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่หารือทั้งตำบลบ้านน้ำลีใต้ ต.ปิงหลวง อ.นาหมื่น ท้องที่ บ้านหนอง หมู่ที่ 10 และบ้านหัวเมือง หมู่ที่ 1 ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน ตามข้อสั่งการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายอรรถพล เจริญชันษา) เพื่อสร้างความเข้าใจ ราษฎรหยุดการเผาป่า ลดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เป้าหมาย

ทั้งนี้ นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สั่งทุกอุทยานฯ ยกระดับ ปฏิบัติการเชิงรุก คุมเข้มไฟป่า กระจายกำลังเคาะประตูบ้านทำความเข้าใจ “ห้ามเผาป่า” หากพบการกระทำความผิดจับกุมดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

“สั่งการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการเชิงรุก หยุดการเผาป่า และยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต ตามข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ที่เสนอต่อนายกรัฐมนตรี   โดยให้ปิดป่าในส่วนที่มีสถานการณ์ไฟป่าอยู่ในระดับวิกฤต หรือเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในขั้นรุนแรง ระดมสรรพกำลัง เครือข่ายอาสาสมัคร อุปกรณ์ เครื่องมือ อากาศยาน ในการลาดตระเวนเฝ้าระวัง และปฏิบัติการค้นไฟอย่างเข้มข้น เนื่องจากขณะนี้ปัญหาไฟป่าเป็นวิกฤตระดับชาติ   ขอทุกหน่วยงาน ร่วมกับฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ชุมชนที่มีปัญหาไฟป่า เคาะประตูบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์และป้องปรามการลักลอบเผาป่า หากพบการกระทำความผิดจับกุมดำเนินคดีให้ถึงที่สุด  และเน้นย้ำความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ สามารถบัญชาการสถานการณ์ได้ ต้องมีการแสดงสถานะตำแหน่งระหว่างปฏิบัติงานตลอด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ให้มีการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า (WAR ROOM) อย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังอย่าให้ไฟป่าลุกลาม และขอให้จัดทำแผนการ มาตรการลดและจัดการจุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์รายพื้นที่ด้วย”

ในขณะเดียวได้เกิดเหตุไฟ ในเขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ป่าดอยจำปูดวงแก้ว ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ดับไฟโดย นายเจตน์ อิ่มใจ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าศรีน่าน พร้อมด้วยชุดปฏิบัติการดับไฟป่า สถานีควบคุมไฟป่าศรีน่าน จำนวน 8 นาย พื้นที่เสียหาย 4 ไร่

สำนักป้องกับรักษาป่าและควบคุมไฟป่ากรมป่าไม้ นำโดย ส.ต.อ.ปรัชนา มีทองขาว หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ (เหยี่ยวไฟ) ได้สบธิกำลังร่วมกับชุดปฏิบัติการเศษ (เหยี่ยวไฟ) บก.(ส่วนหน้า) ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันรักษาป่าและควบลุมไฟป่า  กรมป่าไม้ นำโตย นายอิศเรศ ระรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่า (ส่วนหน้า) ได้ร่วมกันลาดตรนวนตรวจจุด Hatspot ไฟยังไม่ดับจึงร่วมกัน เข้าควบคุมไฟได้สำเร็จ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านาชาวฝั่งช้าย ถบนสายแพร่-น่าน เหตุเกิดที่ตำบลบ่อสวก อำเกอมืองบ่าน จังหวัดบ่าน เป็นป่าเบญจพรรณพื้นที่ไฟใหม้ปรมาณ 50 ไร่ สาเหตุล่าสัตว์ และร่วมกันเข้าควบคุมไฟได้สำเร็จ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนสายแพร่-น่าน ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นป่าเบญจพรรณ พื้นที่ไฟไหม้ ประมาณ 60 ไร่ สาเหตุล่าสัตว์ศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าน่าน ได้รับการประสานขอความช่วยเหลือ เหตุไฟป่าลุกลามเข้าใกล้เขตหมู่บ้านสาระสุขสันต์ หมู่ – ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวดเป็นป่าเบญจพรรณ พื้นที่ไฟไหม้ประมาณ 60 ไร่ สาเหตุล่าสัตว์

นายศุภวัฒน์ มะทะ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำหมาวหมอก,หน่วยจัดการต้นน้ำหลักลาย และราษฎรอาสามัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติในพื้นที่ พบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและขอความร่วมมือราษฎรแบบเคาะประตูบ้านในการถือปฏิบัติตามประกาศจังหวัดน่านห้ามเผาโดยเด็ดขาด 75 วัน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 และข้อสั่งการจากผู้บริหารกำหนดนโยบายให้หน่วยงานภาคสนามในพื้นที่แจ้งเตือนมาตรการยกระดับการปฏิบัติการขึ้น โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการด้วยการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผาป่าอย่างจริงจังเข้มงวด ในท้องที่บ้านยอดดอยพัฒนา บ้านน้ำหมาว ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน , บ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคาร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำในพื้นที่และราษฎรเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ(อส.อส.)บ้านดอนไชย หมู่ 6 ต.ศิลาพชร อ.ปัว จ.น่าน ร่วมกันควบคุมไฟในพื้นป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคาติดต่อเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ท้องที่บ้านดอนไชย-บ้านดอนแก้ว ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน สามารถควบคุมไฟป่าได้ โดยมีพื้นที่ควบคุมไฟ จำนวน 3 ไร่ สาเหตุมาจากการหาของป่า

สรุปข้อมูลจุดความร้อน วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 จาก NASA ในพื้นที่จังหวัดน่าน จากข้อมูล พบว่า จุดความร้อน ทั้งหมด 282 จุด บริเวณที่พบประกอบด้วยเป็นลักษณะการใช้ที่ดินประเภท พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 175 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 85 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ จำนวน 14 จุด พื้นที่เกษตร จำนวน 4 จุดพื้นที่เขต สปก. จำนวน 4 จุดเเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจุดความร้อน 17 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดน่าน มีจำนวนจุดความร้อนมากเป็นอันดับ 1 จากจุดความร้อนทั้งหมด 1,431 จุด จากข้อมูลจุดความร้อนสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 3 เมษายน จากทาง NASA พื้นที่จังหวัดน่านมีจุดความร้อนสะสมจำนวน 8,044 จุด อำเภอเวียงสา จุดความร้อนสะสม จำนวน 1,826 จุด อำเภอนาน้อย จุดความร้อนสะสม จำนวน 1,033 จุด อำเภอแม่จริม จุดความร้อนสะสม จำนวน 987 จุดสูงสุดในพื้นที่รับผิดชอบของพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 4,246 จุด และ ตั้งแต่มีมาตรการประกาศห้ามเผา 15 กุมภาพันธ์ – 3 เมษายน ในพื้นที่จังหวัดน่านมีจุดความร้อนสะสม 6,145 จุด

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น