สกสว. ประสานพลังภาคีด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมขับเคลื่อนสังคมไทย สู่สังคม Net Zero Emission

สกสว.จัดประชุม Focus group ววน.กับการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่สังคม Net Zero Emission และ สังคม Resilience ที่มั่นคง แข็งแรง

พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุม Focus Group เรื่อง “ววน.พุ่งสู่ Net Zero และสังคม Resilience”  โดยมีทรงคุณวุฒิ นักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สถานการณ์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และการปรับตัวเข้าสู่สังคม Resilience ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน และระดมความคิด กำหนดทิศทางและช่องว่างของงานวิจัยที่ควรดำเนินการต่อ เพื่อให้ประเทศไทยพุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ปี ค.ศ. 2065

โอกาสนี้ ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สกสว. โดยหน่วยบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม (SAT สิ่งแวดล้อม) จัดให้มีการประชุมหารือการดำเนินงาน ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่ออัพเดทการลงทุนด้านการวิจัย ในประเด็นสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวน และ กำหนดการดำเนินงาน ภายใต้แผนด้าน ววน.ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 ว่าด้วย การพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โปรแกรม 16 ว่าด้วย การพัฒนานโยบายและต้นแบบ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และ เจตนารมณ์ ที่รัฐบาลไทยได้แสดงเจตนารมย์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) โดยประกาศ เป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และตั้งเป้าหมายการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยที่ประเทศไทยจะมุ่งลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากภาคพลังงาน ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดของประเทศ และมีการทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan 2022: NEP 2022) โดยกำหนดสัดส่วนของการใช้ พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโรงไฟฟ้าใหม่ และรถยนต์ที่จดทะเบียนใหม่ในตลาดร้อยละ 69 ต้องเป็นรถไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) รวมถึง Battery Electric Vehicles (BEVs) และ Plug-in Hybrid Electric Vehicles (PHEVs) ภายในปี ค.ศ. 2035

สำหรับการจัดประชุมเสวนาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ  ช่วงเช้า เป็นการเสวนา “ววน. พุ่งสู่ Net Zero” ในประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ

  • พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย ดร.นุวงศ์ ชลคุ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • รถยนต์ EV สู่เป้าหมาย Net Zero โดยผู้แทนสถาบันยานยนต์
  • วัสดุทดแทนซีเมนต์/กระบวนการผลิตลด CO2 โดยคุณมนสิช สาริกภูติ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด
  • เทคโนโลยี CCUS ในประเทศไทย โดยดร.สัญชัย คูบูรณ์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
  • ภาคเอกชนกับเทคโนโลยี CCS สู่เป้าหมาย Net  Zero โดยคุณญาณเดช ศรีพาณิชย์ Business Lead, CCS บริษัท ปตท.
  • ทรัพยากรทางทะเลกับการดูดซับคาร์บอน โดย รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ป่าไม้กับการดูดกลับคาร์บอน โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต่อด้วยช่วงบ่าย เป็นการเสวนา “ววน. พุ่งสู่ Climate Adaptation และ สังคม Resilience” ในประเด็น

  • นวัตกรรมภาคเกษตรกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ บริษัทซีพี เอฟ
  • digital agriculture กับการคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ชิษณุชา บุดดาบุญ กรมการข้าว
  • นวัตกรรมชุมชนในการจัดการน้ำกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วินัย เชาว์วิวัฒน์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
  • การออกแบบเมืองเพื่อพุ่งสู่ Urban Resilience โดย รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน Urban Climate Resilience โดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคการท่องเที่ยว โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  • ระบบนิเวศ กับ Slow-onset effects of climate change โดย ดร.อัศมน ลิ่มสกุล กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ดี สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดข้อมูล และข้อแลกเปลี่ยนในวันนี้ จะช่วยให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย ก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่ Net Zero Emission และ สังคม Resilience ที่มั่นคง แข็งแรง ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต 

You May Have Missed!

1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ผนึกกำลัง KUST ประเทศจีน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนานาชาติ มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการความท้าทายด้านภัยพิบัติ/เหตุฉุกเฉิน