อบจ.พิษณุโลก ร่วมพิธีบวงสรวงถวายเครื่องราชสักการะและพิธีทักษิณานุปทาน เนื่องใน “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ประจำปี 2565

อบจ.พิษณุโลก ร่วมพิธีบวงสรวงถวายเครื่องราชสักการะและพิธีทักษิณานุปทาน เนื่องใน “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ประจำปี 2565

วันที่ 28 ธันวาคม 2565 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้ นายพงศ์มนู ทองหนัก รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมพิธีบวงสรวงถวายเครื่องราชสักการะและพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี หรือ “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดปากพิงตะวันตก หมู่ที่ 2 ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานมูลนิธิสี่แยกอินโดจีน และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน กลุ่มพลังมวลชน หัวหน้าส่วนราชการและพสกนิกรชาวจังหวัดพิษณุโลก ร่วมพิธีถวายราชสักการะและพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพร้อมเพรียง

สำหรับบ้านหมู่ปากพิงแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นสนามรบครั้งสำคัญในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนได้รับการกล่าวขานว่า บ้านปากพิงดินแดนแห่งยุทธศาสตร์ โดยประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ณ วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 พระเจ้าตากสิน ได้นำทัพหลวงขึ้นมาทางลำน้ำแควใหญ่ เพื่อตั้งสกัดกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพอาวุโสแห่งพม่าที่ยกทัพมาบุกเมืองพิษณุโลก ที่บ้านปากพิง แขวงเมืองพิษณุโลก และทำการรบพุ่งกันเป็นสามารถ การสงครามครั้งนั้นทหารไทยสามารถขับไล่ทัพพม่าจนพ้นจากอาณาเขตประเทศไทยได้สำเร็จ และจับทหารพม่าเป็นเชลยศึกได้อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยกลศึกต่างๆ พสกนิกรชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นมาเพื่อสักการบูชา น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และยังสร้างพิพิธภัณฑ์รวบรวมสิ่งของและภาพวาดจิตกรรมฝาผนัง ที่เล่าเรื่องราวยุทธศาสตร์บ้านปากพิงไว้ให้ลูกหลานได้รับรู้ตราบนานเท่านาน ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับการขยายพระราชอาณาเขตของประเทศออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่างๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมและการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย พสกนิกรชาวไทยจึงจัดพิธีบวงสรวงรำลึกในวันปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ.2130 ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งนี้ โดยรัฐบาลก็ได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ภายในงานมีกิจกรรมการประกวดไก่ชนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.

ธันย์ชนก ทองเพิ่ม ผู้สื่อข่าวพิษณุโลก

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์ ชลประทาน ชาวบ้าน
กรมชลประทานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การศึกษาปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง ป่าสักใต้ และคลองเพรียว-เสาไห้
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์การสวนสัตว์ฯ เปิดบ้านต้อนรับพันธมิตรทำกิจกรรมร่วมกับ “หมูเด้ง” ชวนช่วยผู้ประสบอุทกภัยและดูแลสวัสดิภาพเพื่อนสัตว์
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
บพข. เปิดผลงานวิจัย 5 ปี พลิกโฉมการท่องเที่ยว – เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับสู่ความยั่งยืน
1 Minute
เศรษฐกิจ
“อลงกรณ์ พอใจ” เอฟเคไอไอบิสซิเนส ฟอรั่ม  ประสบความสำเร็จเชื่อมโยงธุรกิจไทย-เกาหลี บรรลุข้อตกลงจับคู่ธุรกิจการลงทุนกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อมพร้อมขยายความร่วมมือกับโกลบอลESG