เกษตรนครพนม เปิดเวทีชุมชน ถ่ายทอดความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นำฟางข้าวผลิตก้อนเชื้อเห็ดฟางสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่เรณูนคร
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเวทีชุมชน ถ่ายทอดความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำฟางข้าวผลิตก้อนเชื้อเห็ดฟางสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านทุ่งสว่าง หมู่ที่ 9 ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยมีเกษตรกรเป้าหมายจำนวน 40 ราย เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และศักยภาพชุมชนตามแนวทางการจัดการเพิ่มมูลค่าฟางข้าวแปรรูปเป็นก้อนเชื้อ เห็ดฟาง และวางแผนการดำเนินการรวมถึงสนับสนุนปัจจัยการผลิต ซึ่งมีหน่วยงานปศุสัตว์อำเภอเรณูนครร่วมบูรณาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการเศษฟางข้าวเป็นเพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ในพื้นที่อำเภอเรณูนคร
นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทำนาที่พบปัญหามากในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ คือการเผาตอซังฟางข้าวเพื่อความสะดวกในการไถเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูกในรอบถัดไป ในพื้นที่ปลูกอ้อย ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการเผาใบอ้อยก่อนการตัดอ้อย เพื่อความสะดวกของแรงงานในการตัดอ้อย หรือในกรณีหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย เกษตรกรก็จะทำการเผาใบอ้อยเพื่อความสะดวกในการไถเตรียมดินปลูกอ้อยในรอบใหม่ และหากเป็นกรณีอ้อยตอ เกษตรกรจะเผาใบอ้อยเพื่อป้องกันไฟไม่ให้ไหม้ต้นอ้อยที่งอกขึ้นมาใหม่ และในพื้นที่ปลูกข้าวโพดทางภาคเหนือ มีการเผาเศษวัสดุการเกษตรในพื้นที่การเกษตรก่อนและหลังการเพาะปลูก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรส่งผลให้เกิดปัญหาวิกฤติหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ นอกจากจะทำให้เกิดมลพิษและหมอกควันทำลายชั้นบรรยากาศของโลกแล้ว ยังเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และโครงสร้างดิน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตลดลง และมีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การเผาในพื้นที่การเกษตร หากทำการเผาจนเกิดอันตราย มีความผิดตามกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับรวมทั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
ในส่วนของจังหวัดนครพนม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาการเกิดวิกฤติหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก การทำลายอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และโครงสร้างดิน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตลดลง และมีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยการบริหารจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในสภาพปัญหาที่เกิดจากการเผา เสนอทางเลือกในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร และเสนอแนวทางการบริหารจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและจิตสำนึกของเกษตรกรให้ตระหนักถึงผลเสียจากการเผา และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผามาบริหารจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
สำหรับจัดเวทีชุมชน ครั้งที่ 1 จะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลดีของการเพิ่มมูลค่าผลผลิตหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สามารถลดต้นทุน ลดปัญหาหมอกควัน และสร้างสมดุลระบบนิเวศ ในชุมชนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในการเสริมสร้างการเรียนรู้และจิตสำนึก มีการวิเคราะห์สถานการณ์ของพื้นที่โดยนำข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ ข้อมูลจากแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร มาใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อประเมิณสภาพปัจจุบัน คันหาศักยภาพ ปัญหาต่างๆ โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมเวทีเป็นผู้ร่วมกันวิเคราะห์และทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ กลุ่มเครือข่าย พัฒนาแนวทางแบบองค์รวม ชุมชนร่วมกันกำหนดเป้าหมายของตัวเอง โดยชุมชนเป็นคนคิดและคนทำ เพื่อให้เกษตรกรได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรของชุมชนตนเอง วิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่ม เครือข่าย เพื่อให้ทราบสถานการณ์กลุ่ม เครือข่าย และวางแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการ และแนวทาใงการบรสิหารจัดการ การกระจายผลประโยชน์ในการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยในพื้นที่อำเภอเรณูนครได้มีการร่วมกลุ่มของเกษตรกรในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตก้อนเชื้อเห็ดฟาง จำหน่ายทั้งก้อนเชื้อเห็ดและดอกเห็ด เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรและชุมชนในพื้นที่เป็นการต่อยอดและสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน