กรมวิชาการเกษตรพัฒนาและขยายผลกิจกรรมเพาะเห็ด สู่วิสาหกิจชุมชนจังหวัดสกลนคร

กรมวิชาการเกษตรพัฒนาและขยายผลกิจกรรมเพาะเห็ด สู่วิสาหกิจชุมชนจังหวัดสกลนคร

กรมวิชาการเกษตร ดำเนินงานโครงการสนองแนวพระราชดำริพัฒนาและขยายผลกิจกรรมเพาะเห็ด สู่วิสาหกิจชุมชนนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเห็ดด้านต่างๆ คัดเลือกสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมืองที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สาธิต ฝึกอบรม ขยายผลด้านการเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับสมาชิกและชุมชน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินโครงการสนองแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดที่เหมาะสมกับพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจให้สามารถนําไปประกอบอาชีพ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดการแปรรูปผลผลิตเห็ด เพื่อให้มีรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี

โดยเมื่อวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ.2527 ท่านได้มีพระราชดำริ ความตอนหนึ่งโครงการศูนย์ศึกษาและพัฒนาภูพานนั้น เป็นการดำเนินงานในลักษณะย่อส่วนภูมิประเทศให้เล็กลง โดยรวบรวมการดำเนินงานในทุกๆ ด้านไว้ในศูนย์ฯ นี้ ตั้งแต่เริ่มต้นเพาะกล้า การปลูก การใช้ปุ๋ย การใช้ดินให้เหมาะสม ตลอดจนแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีทั้งการศึกษา การทดลอง เผยแพร่การพัฒนาและเป็นตัวอย่างให้แก่ข้าราชการและประชาชน สามารถศึกษาดูงานและพัฒนาไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่อื่นๆ ในลักษณะคล้ายกัน เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา” ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 ได้พระราชทานกระแสพระราชดำริ ให้กรมวิชาการเกษตร จัดหาอุปกรณ์และดำเนินงานการสาธิตและฝึกอบรมการเพาะเชื้อเห็ดแก่ราษฎรด้วย

กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร ร่วมกับสํานักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้นําข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยมาดําเนินการศึกษาพัฒนาการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดําริจังหวัดสกลนคร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเห็ดด้านต่างๆการคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมืองที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดบด เห็ดขอนขาว เห็ดตีนแรด เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดสมุนไพร เช่น เห็ดหลินจือ เป็นต้น

นอกจากนี้ได้นําวิธีการเลือกวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวัสดุเพาะ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดที่เหมาะสมแก่เกษตรกรรายย่อย ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรกรต่างๆ โดยการจัดแสดงนิทรรศการ เอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตก้อนเชื้อเห็ดชนิดต่างๆ การสาธิตการเพาะเห็ด และการฝึกอบรมเกษตรกรและการขยายผลด้านการเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนําไปปรับใช้ในพื้นที่เพาะเห็ดของตนเองได้อย่างเหมาะสม

สำหรับผลสำเร็จของโครงการ การพัฒนาและขยายผลกิจกรรมเพาะเห็ด สู่วิสาหกิจชุมชนนี้ กลุ่มสามารถผลิตเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตก้อนเชื้อเห็ด เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 5,000 – 7,000 บาท ต่อคน สมาชิกมีรายได้จากการเปิดดอก เฉลี่ยเดือนละ 3,000 – 5,000 บาท ต่อคน ส่วนสมาชิกกลุ่มที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูป เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 1,500 – 2,000 บาท ต่อคน



กรมวิชาการเกษตร มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเพาะเห็ดให้เป็นอาชีพสำหรับสมาชิกและชุมชน ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก การผลิตก้อนเห็ด ให้มีความหลากหลายของชนิดเห็ด เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เช่น เห็ดขอนขาว เห็ดสกุลนางรม และเห็ดบดสายพันธุ์ภูพานซึ่งเป็นพันธุ์เห็ดพื้นเมืองที่ศูนย์ศึกษาฯได้คัดเลือกสายพันธุ์ไว้ใช้ประโยชน์รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการแปรรูปเห็ด และขยายผลแก่กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายและเกษตรกรรายย่อยอื่นๆทั้งภายในและต่างจังหวัด อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ