โครงการชลทานศรีสะเกษ กรอกกระสอบทรายเสริมสันอ่างเก็บน้ำห้วยห้วยขนุน เพิ่มระดับน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2566

โครงการชลทานศรีสะเกษ กรอกกระสอบทรายเสริมสันอ่างเก็บน้ำห้วยห้วยขนุน เพิ่มระดับน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2566


เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ที่บริเวณทางระบายน้ำล้น (Spillway) ของอ่างเก็บน้ำห้วยห้วยขนุน ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดโครงการเสริมคันสันอ่างเก็บน้ำห้วยห้วยขนุน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2566 โดยมีนายกัณธวัตร สงวนซื่อ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 นำเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการชลประทานศรีสะเกษ ในพื้นที่ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ ร่วมกันกรอกกระสอบทรายและเสริมคันสันอ่างเก็บน้ำให้สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำให้มากยิ่งขึ้น ให้เพียงพอสำหรับไว้ใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2566 นี้

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยขนุน ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ มีความจุ 10.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันสามารถเก็บกักน้ำได้ 10.18 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 101.56 % และจากการเสริมกระสอบทรายความสูง 50 เซนติเมตร จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้อีกประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของเขื่อน(Dam safety) ตามปกติ มีพื้นที่การเกษตรเพิ่มมากขึ้นกว่า 1,800 ไร่ และราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้งปี 2566 ได้มากยิ่งขึ้นต่อไป

ข่าว/ภาพ…… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

You May Have Missed!

1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ผนึกกำลัง KUST ประเทศจีน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนานาชาติ มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการความท้าทายด้านภัยพิบัติ/เหตุฉุกเฉิน