ม.เกริก จัดเวทีเสวนานักวิชาการรุ่นเยาว์ด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565
วันที่ 30 กันยายน 2565 ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานในการจัดเวทีเสวนานักวิชาการรุ่นเยาว์ด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “อนาคตของการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในอาเซียน” โดยมี ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง รศ.สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมคณะผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก ศูนย์วิจัยการศึกษานานาชาติจีน-อาเซียน มหาวิทยาลัยเกริก โดยเวทีเสนาครั้งนี้จัดในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก
ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมแสดงความยินดี พร้อมทั้งกล่าวว่า สึกยินดีความยินดีในความสำเร็จของ ศูนย์วิจัยการศึกษานานาชาติจีน-อาเซียนมหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ เพราะที่จริงแล้วการศึกษาภาษาจีนนานาชาติเป็นที่สนใจของภาครัฐและภาคสังคม ทั้งของประเทศไทยและในประเทศกลุ่มอาเซียนอยู่แล้ว รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาภาษาจีนและการผลิตผู้มีความสามารถด้านภาษาจีนในประเทศไทย จึงได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสที่เป็นความท้าทายใหม่ ๆ ให้ได้เผชิญ โดยเฉพาะในด้านครูผู้สอน ตรงนี้จะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยเกริก มีความพร้อมและมีข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรด้านการศึกษาภาษาจีนเป็นอย่างมาก เพราะมีต้นทุนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อการถ่ายทอด ฝึกอบรม จนสามารถผลิตบุคลากรให้มีความสามารถได้เป็นอย่างดี รวมถึงการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านภาษาจีนในประเทศไทยให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก ในการการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับเยาวชน และสามารถต่อยอด หรือ อัพเดตความรู้ให้เยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อว่าการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยจะเดินหน้าพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปได้อีกอย่างแน่นอน
ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า เวทีเสวนานักวิชาการรุ่นเยาว์ฯ ครั้งนี้ ภายใต้หัวข้อ “อนาคตของการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในอาเซียน” นอกจากวิทยาลัยนานาชาติภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยเกริก (มหาวิทยาลัยเกริกและมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่งร่วมกันก่อตั้ง)ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแล้วยังได้รับความความร่วมมือจากหลายองค์กร หลายสถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน มหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เสิ่นหยาง สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม และสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเกริกได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาภาษาจีน ไม่ว่าจะด้านการพัฒนาหลักสูตร การอบรมผู้มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างไทย-จีน มั่นใจอย่างมากว่าเวทีเสวนานี้จะสามารถส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย รวมไปถึงความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกำลังในการพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างแน่นอน
ด้าน ดร.หลัว หย่ง คณบดีวิทยาลัยนานาชาติภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอขอบคุณนักวิชาการตลอดจนแขกผู้เกียรติที่มาร่วมงาน ทำให้เวทีเสวนาในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยเวทีเสวนาครั้งนี้แม้จัดเป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับความร่วมมือจากการนักวิชาในการนำเสนอบทความจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก รวม 38แห่ง และ นักวิชาการจำนวนถึง 85 ท่าน อาทิ จากประเทศจีน สิงคโปร์ เวียดนาม แอลจีเรีย ฯลฯ ตลอดจนผู้เข้าร่วมงานเวทีเสวนาในรูปแบบออนไลน์ 400 กว่าคน โดยบทความนำเสนอที่ดีเยี่ยมจะได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความ นับเป็นเวทีเริ่มต้นเพื่อให้นักวิชาการรุ่นเยาว์ด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน และต่อจากนี้จะมีการจัดขึ้นในทุกๆปี ปีละครั้ง ว่าจะมีความร่วมมือกันในการสนับสนุนการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในประเทศไทย