กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวโครงการ GAP Monkey Free Plus การประชุม International Coconut Community (ICC) สร้างความเชื่อมั่นในเวทีผู้ผลิ ตมะพร้าวโลก
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สร้างความเชื่อมั่นในเวทีประชุ มมะพร้าวระดับโลก “Consultative Virtual Meeting on Thailand Proposal for GAP Monkey Free Plus” เปิดตัวโครงการ GAP Monkey Free Plus พร้อมทั้งเชิญชวนสมาชิก ICC สนับสนุนและประชาสัมพันธ์ โครงการ GAP Monkey Free Plus
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย นายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุม Consultative Virtual Meeting on Thailand Proposal for GAP Monkey Free Plus ในวันที่ 16 กันยายน 2565 โดยมีเลขาธิการ ICC กรรมการ/คณะทำงานของ ICC และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสมาชิ กเข้าร่วม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยว่า กรมวิชาการเกษตรมีแนวคิ ดในการทำมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus เพื่อยืนยันว่าไม่มีการใช้ แรงงานสัตว์ (ลิง) ในกระบวนการผลิ ตและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตสิ นค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่ ามะพร้าวที่ส่งออกเป็ นไปตามมาตรฐาน ทั้งนี้สมาชิกผู้ร่วมประชุมได้ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อข้ อเสนอของไทยต่อการนำมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus มาใช้และกล่าวชื่นชม พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ มาตรฐานนี้
มาตรฐาน GAP Monkey Free Plus เป็นความร่วมมือของกรมวิ ชาการเกษตรกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสมาคม ต่างๆ อาทิ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมั นมะพร้าวแห่งประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตและส่งออกผลิตภั ณฑ์มะพร้าวของไทย ในการกำหนดมาตรฐานให้เป็นที่ ยอมรับ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้ าวสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประชาพิ จารณ์ข้อกำหนดมาตรฐาน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจ สมัครเข้ามารับการตรวจประเมิน โดยกรมจะร่วมกั บภาคเอกชนและสมาคมผู้ผลิ ตอาหารสำเร็จรูป ดำเนินการตรวจรับรองแปลง GAP มะพร้าว ผนวกกับการประเมินว่าแปลงปลู กมะพร้าวนั้นปราศจากการใช้ลิ งในการเก็บเกี่ยว อีกทั้งเตรียมความพร้อมในการใช้ ตราสัญลักษณ์ Monkey Free Plus เพื่อใช้เป็นฉลากสำหรับผลิตภั ณฑ์มะพร้าวส่งออก เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้บริ โภคว่า ผลิตภัณฑ์มะพร้าวนี้ผลิ ตจากแปลงมะพร้าวปลอดภัยและไม่มี การใช้ลิงเก็บเกี่ยวมะพร้าว
ความกังวลในการใช้แรงงานลิ งในการเก็บมะพร้าวจากผู้บริ โภคและผู้ซื้อในต่างประเทศนั้ นเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะการเลี้ยงลิงเป็นวิถีชีวิ ตชาวบ้านของสังคมที่อยู่ด้วยกั นมานาน ไม่ได้เข้าไปในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งในการผลิตสินค้าในอุ ตสาหกรรมมะพร้าวมีการผลิตมะพร้ าวกว่า 100 ล้านลูก/เดือน หรือ 0.876 ล้านตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ ดังนั้นการนำลิงมาใช้ในการเก็ บมะพร้าวในการผลิตสินค้าในอุ ตสาหกรรมนี้เป็นไปไม่ได้ แต่เป็นการใช้แรงงานคนและเครื่ องจักร ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวเชิ ญชวน สมาชิก ICC และ Third Party ร่วมลงพื้นที่นำร่องโครงการ GAP Monkey Free Plus ณ ประเทศไทย เพื่อการันตีว่าประเทศไทยมี การผลิตมะพร้าวตามมาตรฐานการผลิ ตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ปราศจากการใช้แรงงานลิงในการเก็ บเกี่ยว ทั้งนี้ปลายปี 2566 ประเทศไทยพร้อมจัดประชุ มคณะกรรมการบริหารระดับรัฐมนตรี (ICC Session and Ministerial Meeting) ในโอกาสการประชุมที่จะมาถึ งกรมวิชาการเกษตรจะเชิญชวนรั ฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมสนับสนุ นโครงการ GAP Monkey Free ด้วย
อธิบดีกรมวิขาการเกษตรกล่ าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตร มีงานวิจัยพันธุ์มะพร้าวต้นเตี้ ยให้ผลผลิตสูงกว่ามะพร้าวพื้ นเมือง มีการสนับสนุนให้ปลูกมะพร้าวต้ นเตี้ยแทนต้นสูงโดยปลูกต้นเตี้ ยแซมเพิ่มไปกับมะพร้าวต้นสู งและมีแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่ อง พัฒนาเครื่องมือเก็บเกี่ยวมะพร้ าวโดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาการเก็ บเกี่ยวของภาคอุตสาหกรรม ให้มีความรวดเร็วและปลอดภัย ลดต้นทุนการผลิตสำหรับการเก็ บมะพร้าวในเชิงอุตสาหกรรม