เตือนภัย 2 พืชตระกูลถั่วเฝ้าระวั งหนอนและโรคโคนเน่ าขาว ทำลายผลผลิต ช่วงติดฝักและเจริญเติบโต
นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพั ฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ถั่วเหลืองอยู่ ในระหว่างการเจริญเติบโตของลำต้ น ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวั งการทำลายของหนอนกระทู้ผัก ซึ่งจะเข้าทำลายตั้งแต่ถั่วเหลื องเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ จนถึงระยะออกดอกและติดฝัก หนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะผิวใบด้านล่าง ทำให้เหลือแต่เส้นใบ เมื่อผิวใบแห้งจะมองเห็นเป็นสี ขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่ มออกไปกัดกินใบทั่วทั้งแปลง โดยหนอนจะกัดกินจากขอบใบเข้าไป เมื่อพบการระบาดแนะนำให้พ่นเชื้ อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง หรือ พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นเมื่อใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ในระยะก่อนออกดอก
นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังหนอนม้วนใบเข้ าทำลายผลผลิตด้วย โดยหนอนม้วนใบที่ฟักออกจากไข่ ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ชักใยบาง ๆ คลุมตัวไว้ แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจึงกระจายกั นออกไปทั่วทั้งแปลง สร้างใยยึดใบพื ชจากขอบใบของใบเดียวเข้าหากั นหรือยึดใบมากกว่า 2 ใบเข้าหากันแล้วอาศัยกัดกินอยู่ ในห่อใบนั้นจนหมดแล้วเคลื่อนย้ ายไปทำลายใบอื่นต่อไป หากพบการระบาดให้พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ก่อนออกดอก
นายศรุต กล่าวว่า สำหรับถั่วลิสงซึ่งอยู่ในช่ วงระยะออกดอกและติดฝัก ให้เฝ้าระวัง โรคลำต้นเน่าหรือโคนเน่าขาว โดยถั่วลิสงจะแสดงอาการเหี่ ยวและยุบตัวเป็นหย่อม ๆ ในแปลงปลูก บริเวณโคนต้นเหนือดินพบแผลสีน้ำ ตาลและมีเส้นใยของเชื้อราสาเหตุ โรคสีขาวลักษณะหยาบ ต่อมาเส้นใยของเชื้อราจะรวมตั วเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ มจนเกือบดำคล้ายเมล็ดผักกาด ต่อมาต้นจะแห้งและตาย โรคนี้พบได้ทุกระยะการเจริญเติ บโตของถั่วลิสง แต่มักพบระบาดในระยะถั่วลิสงติ ดฝักถึงเก็บเกี่ยว
การป้องกันกำจัดโรค ให้เกษตรกรเตรียมแปลงปลู กโดยไถพลิกดินตากแดดเพื่อฆ่าเชื้ อสาเหตุโรคที่อยู่ในดิน เนื่องจากเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ ในดินได้นาน ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ก่อนปลู กเพื่อปรับสภาพดิน ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ ดี และจัดระยะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้โคนต้นโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้มีความชื้นสูงซึ่ งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้ อสาเหตุโรค หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นเป็นโรคให้ถอนต้นและขุ ดดินบริเวณที่ พบนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วรดดินในหลุมและบริเวณใกล้ เคียงเพื่อป้องกันเชื้อสาเหตุ โรคแพร่ไปยังต้นข้างเคียงด้ วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์บอกซิน 75% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลโคลฟอส-เมทิล 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล 24% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิ ตควรทำลายซากถั่วลิ สงโดยการไถกลบให้ลึกเพื่อตั ดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค รวมทั้งควรทำความสะอาดเครื่ องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น จอบ เสียม ทุกครั้งหลังใช้กับต้นที่เป็ นโรค ส่วนในแปลงที่ พบการระบาดของโรครุนแรงควรปลู กพืชหมุนเวียนชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด เป็นต้น