ไทยออยล์มอบสวนสาธารณะภายใต้ชื่อ
“สวน 60 ปี ไทยออยล์-นครแหลมฉบัง”
ในโอกาสที่ไทยออยล์ดำเนินงานครบ 60 ปี และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชุมชนในพื้นที่รอบโรงกลั่น วันที่7/7/2565 นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าจังหวัดชลบุรีเดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบสวนสาธารณะ สวน60ปีไทยออยล์-นครแหลมฉบัง นายวิรัตน์ เอื้อนนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) กล่าวรายงานและให้การต้อนรับร่วมด้วยนางจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ไทยออยส์ร่วมมือกับเทศบาลนครแหลมฉบัง พัฒนาพื้นที่ด้านหน้าสนามกีฬแหลมฉบัง เนื้อที่ : ไร่ ให้เป็นสวนสาธารณะ ภายใต้ชื่อ “สวน 60 ปี ไทยออยล์- นครแหลมจบัง” เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับประชาชน ด้วยความมุ่งหวังว่า สวนฯแห่งนี้ จะเป็นพื้นที่สีเขียวให้ประชาชน ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับทุกคน
สวน 60 ปี ไทยออยล์-นครแหลมฉบัง เป็นอีกหนึ่งโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไทยออยล์ภาคภูมิใจที่แสดงถึงความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกให้กับประชาชนในพื้นที่ ตอกย้ำความผูกพันและการเติบโตเคียงคู่ชุมชนของไทยออยล์มาอย่างยาวนานและตลอดไป
วัตถุประสงค์การก่อสร้างสวน 60 ปี ไทยออยล์-นครแหลมฉบังเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แหล่งอากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและศรีราชาเพื่อเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของสวน 60 ปี ไทยออยล์-นครแหลมฉบัง สวน 60 ปี ไทยออยล์-นครแหลมฉบังได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ (Multftunction) ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัยเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความสุขให้กับทุกคนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น ลานสนามเด็กเล่น และลานออกกำลังกายที่จะเป็นจุดนัดพบแห่งใหม่ของครอบครัวและคนรักสุขภาพมาออกกำลังกาย ลานกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แหล่งพฤกษศาสตร์ศึกษา ที่ให้เด็ก
และเยาวชนเข้ามาศึกษาและเรียนรู้ โดยพรรณไม้ที่เลือกมาปลูก ณ สวนฯ แห่งนี้ล้วนเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนยาว เช่น ยาง
นา ประดู่ป่า สัก มะฮอกกานี อินทนิล ไทร นนทรี เป็นต้น เละเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีอากาศบริสุทธิ์เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับ
ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังได้รับการออกแบบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รดน้ำด้วยระบบสปริง
เกอร์อัตโนมัติเพื่อประหยัดน้ำ พร้อมนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ผลิตไฟฟ้า จึงนับว่าเป็นสวนสาธารณะ
ต้นแบบของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า