มก.จัดเสวนา “ สงครามกระทบไทย…อยู่อย่างไรให้รอด” 23 พ.ค.นี้ห้ามพลาด !
จากสถานการณ์ความขัดแย้งของประเทศยูเครนและสหพันธรัฐรัสเซียที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อ เศรษฐกิจของโลก ซึ่งรวมถึงห่วงโซ่การผลิตสินค้าป้อนตลาดโลก ขณะที่มาตรการคว่่าบาตรที่ชาติตะวันตกมีต่อ รัสเซีย กลายเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่ต้องเผชิญกับโรคโควิด-19 มายาวนานกว่าสองปี กอปรกับตลอดระยะเวลาเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา ส่านักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งวิเคราะห์ว่าวิกฤตด้าน พลังงานอันเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะกลายเป็นแรงกดดันและส่งผลกระทบต่อความ เชื่อมั่นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือ เศรษฐกิจชะลอตัวแรง ชัดเจนขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น 4% ในขณะที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง ในส่วนของผลกระทบรายอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ภาคขนส่ง โรงกลั่นน้ำมัน การขนส่งทางเรือ และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าโลหะและพลังงาน ในขณะเดียวกันก็มีกระแสสหพันธรัฐรัสเซียตั้งเป้าขายพลังงานให้ประเทศแถบเอเชียมากขึ้น
โดยให้ ส่วนลดที่สูง ถือเป็นความพยายามหลังได้รับแรงกดดันจากชาติตะวันตกให้ยุติสงครามในยูเครน และสหภาพยุโรป (อียู) จะหยุดน่าเข้าน้ำมันจากสหพันธรัฐรัสเซีย ในส่วนนี้เองรัฐบาลไทยต้องทบทวนรอบด้านว่าจะตัดสินใจซื้อพลังงานจากสหพันธรัฐรัสเซียหรือไม่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเปิดพื้นที่สาธารณะ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง สงครามกระทบไทย…อยู่อย่างไรให้รอด วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom , รับชมและถ่ายทอดทาง Facebook : สถานีวิทยุ ม.ก. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ รวมถึงเผยแพร่ความรู้งานวิจัย ผลงานนวัตกรรมที่สามารถช่วยแก้ปัญหา ป้องกัน และเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับประเทศไทยจากการได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจในสงครามครั้งนี้ โดยวิทยากรที่มาร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็น ได้แก่
1. ดร.ปรีห์ปราง ถนอมศักดิ์ชัย ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในประเด็น ปัญหาความขัดแย้งของยูเครนและรัสเซียจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
2. ผศ.ดร.ธนสิน ถนอมพงษ์พันธ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในประเด็น ทางออกของปัญหาเงินเฟ้อ
3. ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ในประเด็นนโยบายป้องกันและดูแลความเสียหายด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย
4. นางมณัฐษสลิล ประเสริฐสุด ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในประเด็นนโยบายการดูแลค่าครองชีพให้ประชาชน
โดยมี ผศ. ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ทั้งนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม และลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ https://sites.google.com/ku.th/serviceconference
ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์